Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

สุสานจีนในเมือง ปีนัง และ ตระกูล ณ ระนอง

 

 

 

ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าคนจีนเริ่มเข้ามาก่อร่างสร้างตัวและลงหลักปักฐานที่ เมืองปีนัง ตั้งแต่เมื่อไร แต่หลังจาก Francis Light หรือ พระยาราชกะปิตัน นักเดินเรือชาวอังกฤษ ได้เริ่มเข้ามาก่อตั้งเมืองปีนังขึ้นในปี  ค ศ 1786 ( พ ศ 2329) ภายใต้การบริหารงาน ของ  บริษัท อินเดียตะวันออก (British East India Company ) โดยได้มาเช่าเกาะปีนังจาก สุลต่าน ไทรบุรี (รัฐ Kedah ประเทศมาเลเซีย ในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวเมืองประเทศราช ของ สยามอยู่ ได้เริ่มมีคนจีนอพยพเข้ามาทำงานและค้าขายในเมืองปีนังมากขึ้น ที่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคนจีนกลุ่มแรกที่ได้เข้ามาช่วยในการก่อตั้งเมืองปีนังคือ Koh Lay Huan

Koh Lay Huan ได้พาพลพรรคจาก Kuala Muda ในรัฐ Kedah  เข้ามาช่วยในการสร้างเมืองปีนัง ซึ่งกล่าวว่าแรกเริ่มนั้น มีเพียงหมู่บ้านชาวประมง ที่เป็นชาวมาเลย์พื้นเมืองอยู่ราว 100 คนเท่านั้น จนได้รับความไว้วางใจจากอังกฤษ ตั้งให้เป็น หัวหน้าคนจีนคนแรก (First Capitan China) เพื่อควบคุมดูแลคนจีนในอาณัติทั้งหมด และมีคนจีนหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในปีนังมากขึ้น จนกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด ทำให้ปีนังเติบโตเป็นเมืองอย่างรวดเร็วและมีประชากรถึง 10,000 คน ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี

เมื่อมีประชากรมาก เรื่องของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ก็ย่อมตามมาเป็นธรรมดา  ธรรมเนียมประเพณีของชาวจีน เมื่อตายก็ต้องฝัง ในช่วงแรกได้มีการนำศพชาวจีนที่เสียชีวิตไปฝัง บริเวณถนน Dato Kramat ในเขต Jelutong  เมื่อมีคนตายมากขึ้น พื้นที่ดังกล่าวก็ไม่เพียงพอที่จะรองรับได้ จึงได้มีแนวคิดที่จะหาพื้นที่ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับให้เพียงพอ

ในปี ค ศ 1805 จึงได้มีการจัดหาพื้นที่ เป็นสุสานสำหรับคนจีนบริเวณ Batu Lanchang ขึ้นเป็นแห่งแรก ภายใต้การบริหารจัดการโดย United Hokkian Cemetery

 ต่อมาเมื่อมีปริมาณผู้เสียชีวิตมากขึ้น จึงได้มีการหาพื้นที่จัดตั้ง เป็นสุสานชาวจีนแห่งที่ 2 ขึ้น ที่ Mouth Eskine บริวณ Pulau Tikus ในปี ค ศ 1842 (หลักฐานบางแหล่งบอกว่า ปี ค ศ 1856) โดยมีผู้ร่วมบริจาคในการจัดตั้งทั้งสิ้น 571 คน เป็นเงิน 4,646.46 เหรียญ ในจำนวนนี้ ผู้บริจาครายใหญ่รายหนึ่งคือ Cheah Cheow Pan คหบดีใหญ่ของเมืองปีนัง ท่านผู้นี้มีศักดิ์เป็นพ่อตาของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี คอซิมก้อง เจ้าเมืองระนองคนที่ 2 ที่แต่งงานกับ Cheah Lean Kee และ พระยาจรูญราชโภคากร คอซิมเต็ก เจ้าเมืองหลังสวนคนแรก ที่แต่งงานกับ Cheah Lean Lui ลูกสาวของท่าน ตามลำดับ (คอซิมก้อง และ คอซิมเต็ก เป็นบุตรชายของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี คอซู้เจียง ต้นตระกูล ณ ระนอง และเป็นพี่ชายของ พระยารัษฏานุประดิษฐมหิศรภักดี คอซิมบี้ เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต )

ในปี 1886 ได้มีการจัดตั้งสุสานจีนแห่งที่ 3 ขึ้นอีก เพื่อรองรับความต้องการที่มีเพิ่มขึ้น คราวนี้ได้จัดตั้งขึ้นที่ Batu Gantong (บริเวณด้านหลัง สนามม้า Penang Turf Club ในปัจจุบัน) ในเนื้อที่ 34 เอเคอร์ มูลค่า 20,000 เหรียญ ขณะเดียวกัน ได้รับการบริจาคพื้นที่ข้างเคียงเพิ่มเติมอีก 102 เอเคอร์ ในเวลาต่อมา โดยผู้ที่มอบที่ดินให้จำนวน 7 ท่านนั้น มี พระยาดำรงฯ Khaw Sim Kong (ในเอกสารอ้างอิงระบุว่า เป็นบุตรของ คอซู้เจียง) และ Cheah Teik Soon (บุตรชายของ Cheah Cheow Pan และเป็นน้องภรรยาของ คอซิมก้อง) สุสานทั้งสามแห่งนี้ บริหารโดย United Hokkian Cemetery ทั้งหมด แต่ต่อมาก็ได้มีการก่อตั้งสุสานจีนเพิ่มขึ้นอีก ทั้งที่อยู่ในและนอกเกาะปีนัง รวมทั้งสุสานของชาวจีนกลุ่มอื่นๆด้วย

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมสุสานที่ Batu Lanchang และ Batu Gantong เพื่อเยี่ยมฮวงซุ้ยของสมาชิกตระกูล ณ ระนอง บางท่านที่ฝังอยู่ที่ปีนัง โดยความอนุเคราะห์ ของ คอเตี๊ยกกิม เป็นคนนำไปเยี่ยมในครั้งนั้น ทั้งนี้ ทั้ง คอเตี๊ยกกิม และ คอเชงจุ้ย ญาติทางเมืองปีนัง ได้ใช้ความพยายามและสละเวลาในการค้นหา ฮวงซุ้ยของสมาชิก ตระกูล ณ ระนอง มาโดยตลอด แต่ก็ยังมี ของบางท่านที่ยังหาไม่พบ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

ที่สุสาน Batu Lanchang มีฮวงซุ้ย ของ พระยาอัษฏงคตทิศรักษา คอซิมขิม เจ้าเมือง กระบุรี (บุตรชายคนที่ 4 ของ พระยาดำรงฯ คอซู้เจียง อยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา และ คอยู่โฉ ลูกชายของ คอซิมขิม อยู่ด้านล่าง ริมถนนสายหลักในสุสาน ฝังอยู่ที่นั่น อนึ่ง ฮวงซุ้ยของ Koh Lay Huan ,อดีตผู้นำชาวจีนคนแรกของปีนัง ที่เสียชีวิตในปี ค ศ 1826 ก็ฝังอยู่ที่สุสานแห่งนี้เช่นกัน

ที่สุสาน Batu Gantong ด้านหลังของที่ทำการ United Hokkian Cemetery  ที่ปัจจุบันนี้ มีสถานที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล และ เตาเผาศพ จำนวนหลายเตา ไม่ไกล มีฮวงซุ้ยของ พระสถลสถานพิทักษ์ คอยู่เกียด เจ้าเมืองตรัง  เป็นบุตรชายคนหนึ่งของ ท่านคอซิมก้อง ท่านถูกยิง พร้อมกันกับ พระยารัษฏาฯ คอซิมบี้ ที่หัวสะพาน ท่าเรือเมืองกันตัง สภาพทรุดโทรม เนื่องจากลูกหลานของท่านอยู่เมืองไทยทั้งหมด จึงขาดการดูแลและบำรุงรักษา  ถ้าเดินลึกเข้าไปทางขวาของบริเวณสุสาน จนสุดทางถึงบริเวณเชิงเขาที่มีเนินสูงชัน บริเวณเชิงเขาหน้าวัดอินเดีย คือฮวงซุ้ยของ คุณหญิง เจี่ยเหลี่ยนกี้ ภรรยา ของ พระยาดำรงฯ คอซิมก้อง ด้านหน้าข้ามถนนไปอีกฝั่ง จะมี ฮวงซุ้ยของ คอเบียนจี่ ซึ่งเป็นบุตรชายของ คอยู่โฉ และเป็นปู่ของ คอเตี๊ยกกิม  สูงขึ้นไปด้านบนซึ่งเป็นเนินค่อนข้างชันมาก จะมี ฮวงซุ้ยของ Lim Kim Teen ภรรยาของ พระยารัษฏานุประดิษฐฯ คอซิมบี้ และใกล้ๆกัน มีฮวงซุ้ย ของ พระยารัษฏาธิราชภักดี คอยู่จ๋าย บุตรชายคนเดียวของ คอซิมบี้ อยู่ข้างๆ

นอกจากนั้น คอเตี๊ยกกิม ยังได้พาไปยัง ฮวงซุ้ยของ Yeoh Siew Chee ภรรยาของ หลวงศรีสมบัติ คอซิมจั่ว ซึ่งเป็นฮวงซุ้ยขนาดใหญ่ สวยงาม ฝังอยู่โดดเดี่ยวแห่งเดียว ปัจจุบันมีบ้านเรือนอยู่รอบ แต่จำไม่ได้แล้วว่าเป็นส่วนไหนของตัวเมือง

อย่างไรก็ตาม ฮวงซุ้ยของ หลวงศรีสมบัติ คอซิมจั่ว (บุตรชายคนที่ 3 ของ คอซู้เจียง) และ ของ เจี่ยเหลี่ยนหลุ้ย ภรรยาของ คอซิมเต็ก ก็ยังหาไม่พบ ขอส่งกำลังใจให้ญาติทางปีนังได้ที่ได้สละแรงกายอย่างมาก ได้ประสพความสำเร็จในการสืบค้นต่อไป

เป็นที่น่าเสียดายว่ารูปถ่ายที่ได้ถ่ายไว้ในครั้งนั้น ไฟล์รูปได้หายไปในคราวที่เปลี่ยน คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เมื่อหลายปีก่อน

 

สัญชัย ตัณฑวณิช

เรียบเรียง

อ้างอิงจาก หนังสือ The Story of Hokkian Kongsi,Penang รวบรวมโดย Tan Kim Hong

และ จากการบอกเล่าและนำชม โดย คอเตี๊ยกกิม ณ ระนอง

***

๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕

 

ภาพประกอบ

 

ฮวงซุ้ยคุณหญิงเจี่ยเหลี่ยนกี้ ที่สุสาน

Batu Gantong

เมืองปีนัง

 

หนังสืออ้างอิง

 

 

***

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง