Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

 

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  (เทศ  บุนนาค)  เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  (ดิศ  บุนนาค)  หรือเรียกกันทั่วไปว่า  สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่  มารดา  ชื่อ  หม่อมหรุ่น  นายเทศเกิดเมื่อปีฉลู  พ.ศ.  ๒๓๘๔  ในสมัยรัชกาลที่    มีพี่ร่วมมารดาเดียวกัน  คือ   คุณเอี่ยม  บุนนาค  ส่วนพี่น้องต่างมารดามีทั้งหมด  ๔๔  คน  ที่มีชื่อเสียง  เช่น  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง  -  บุนนาค)   พระยามนตรีสุริยวงศ์  (ชุ่ม  บุนนาค)  เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  (ขำ  บุนนาค)  เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี  (ท้วม  บุนนาค)  ท้าวราชกิจวรภัตร  (แพ  บุนนาค) ที่กล่าวนี้เป็นพี่ต่างมารดา  ส่วนน้องต่างมารดาที่เป็นบุคคลสำคัญ  เช่น  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์  (พร  บุนนาค)  เป็นต้น

ในเยาว์วัย  นายเทศ  คงได้รับการศึกษาอย่างดีเช่นเดียวกับบุตรขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลายในสมัยนั้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๐๐ ขณะนั้น  นายเทศอายุได้  ๑๖  ปี  ได้ติดตามคณะราชทูตไทยไปยังประเทศอังกฤษ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยามนตรีสุริยวงศ์  (ชุ่ม  บุนนาค) เป็นราชทูต  มีเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี  (เพ็ง  เพ็ญกุล)  เป็นอุปทูต  บุคคลนี้ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง  ตรีทูตคือ  จมื่นมนเทียรพิทักษ์  พนักงานกำกับเครื่องราชบรรณาการคือ  จมื่นราชามาตย์  (ท้วม  บุนนาค)   และนายพิจารณสรรพกิจ  หม่อมราโชทัยเป็นล่าม  รวมบุคคลที่ไปด้วยทั้งหมด  ๒๗  คน  การที่นายเทศร่วมเดินทางไปกับราชทูตผู้พี่ชายครั้งนี้  เพื่อจะไปศึกษายังประเทศอังกฤษพร้อมกับนายทด บุตรราชทูตโดยกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษจัดหาโรงเรียนให้คือ โรงเรียนราชวิทยาลัย ในกรุงลอนดอน แต่ปรากฏว่า เมื่อราชทูตเดินทางกลับ คนทั้งสองก็กลับด้วย

เมื่อกลับจากต่างประเทศแล้ว นายเทศ  จึงเข้ารับราชการเป็นนายรองชัยขรรค์    แล้วเลื่อนเป็น  นายสรรพวิไชย  มหาดเล็กหุ้มแพร  แล้วย้ายมาเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์  ตำแหน่งปลัดเมืองเพชรบุรี

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทรฤาไชยตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๑๘  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี  เข้าใจว่าเป็นครั้งแรกที่เสด็จมาเมืองเพชรหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๑๑  แต่ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์  เข้าใจว่าเคยเสด็จมาเมืองเพชร  ดังหนังสือคอตกล่าวว่า  โปรดฯพระราชทานเงินแก่มหาดเล็กเด็กชาที่มาเฝ้าคนละตำลึงบ้าง  ครึ่งตำลึงบ้าง  ที่ได้คนละตำลึงนั้นเพราะเป็นคนเก่า  ได้ทรงเห็นหน้าตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการเสด็จครั้งนี้พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทศ  บุนนาค)  เป็นผู้รับเสด็จ

พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทศ  บุนนาค)  เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเพชรตั้งแต่ปีใดนั้นยังหาหลักฐานไม่ได้  แต่เดิมเข้าใจกันว่าตั้งแต่  พ.ศ.  ๒๔๐๑-๒๔๓๗  แต่  พ.ศ.  ๒๔๐๑  นั้น  นายเทศอายุเพียง  ๑๗  ปี  อาจเป็น  พ.ศ.  ๒๔๑๑  ซึ่งเป็นไปได้  คือขณะนั้นอายุ  ๒๗  ปี  เมื่อเทียบกับอายุพี่ๆ  เช่น จมื่นราชามาตย์  (ท้วม  บุนนาค)  ตอนที่ไปกับคณะราชทูตยังอังกฤษ  พ.ศ.  ๒๔๐๐  นั้นอายุ  ๒๗ ปี  กลับมาเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ปลัดเมืองเพชรบุรี  และนายงานก่อสร้างพระนครคีรีเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๐๒

พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทศ  บุนนาค)  ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรีมาจนถึง  พ.ศ.  ๒๔๓๗  จึงได้ย้ายไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี  เหตุที่ได้เลือกเอาพระยาสุรินทรฤาไชยไปนั้น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเห็นว่าผู้ว่าราชการเมืองทั้ง    ที่จะเอามารวมเป็นมณฑลนั้น  เมื่อพิจารณาแต่ละบุคคลแล้ว  ยังไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนี้  จะเอาข้าราชการกรุงเทพฯ  มาเป็นขณะนั้นก็ไม่มีตัวทรงเห็นว่าพระยาสุรินทรฤาไชยเหมาะสม  เพราะได้เคยบังคับบัญชาหัวเมืองเหล่านี้มาก่อนยกเว้นเมืองสมุทรสงคราม  เป็นบุคคลที่มีฉันทะวิริยะแรงกล้าและมีบรรดาศักดิ์สูงกว่าเจ้าเมืองคนอื่น ๆ  จึงพอจะเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนี้ได้

ใน  พ.ศ.  ๒๔๔๐  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  เป็นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า  พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทศ)  ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีได้รับราชการเป็นมหาดเล็กหุ้มแพรมา ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความขยันหมั่นเพียร  ได้ทรงคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความขยันหมั่นเพียร  ได้ทรงคุ้นเคยกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ได้รับราชการหัวเมือง  ทั้งเป็นผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี  และงานจรในเมืองราชบุรี  ได้จัดทำโทรเลขเมืองทวาย  ตัดถนนหนทาง  ได้รับความลำบากตรากตรำมาเป็นอันมาก  ได้รับราชการมาช้านาน  มีอายุพอสมควรที่จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงขึ้นตามหน้าที่ราชการ ซึ่งได้บังคับบัญชาต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อให้ปรากฏเป็นเกียรติยศสืบไป  จึงได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา  มีสมญานามจารึกในหิรัญบัตรว่า  “เจ้าพระยาสุรพันพิสุทธิชนุตมราชภักดี  สกลเทพมนตรีมิตรจิต  สุจริตวราธยาศรัย  เสนานุวัตรสมัยสมันตโกศล  ยุติธรรมวิมลสัตยารักษ์  สุนทรศักดิวัฒนวัย  อภัยพิริยพาหุ  อัชนาม  ดำรงศักดินา  ๑๐๐๐๐”

        จากพระราชปรารภนี้จะเห็นได้ว่า  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงคุ้นเคยกับเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติ  พ.ศ.  ๒๔๑๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี  และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี  อีกประการหนึ่ง  ตระกูลบุนนาค  เป็นตระกูลที่ทรงอิทธิพลมาก  โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง  บุนนาค)  ในช่วง  พ.ศ.  ๒๔๑๑ -๒๔๑๖  ในระหว่างที่ท่านทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแม้แต่พระบรมวงศานุวงศ์ก็ยังทรงเกรงกลัวบารมี  ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

        “...ฝ่ายญาติข้างพ่อ  คือเจ้านายทั้งปวง  ก็ตกอยู่ในอำนาจสมเด็จเจ้าพระยาและต้องรักษาตัว  รักษาชีวิตรอดอยู่ด้วยกันทั่วทุกองค์  ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อการอันใดก็มีโดยมากฝ่ายข้าราชการ  ถึงว่ามีผู้ที่ได้รักใคร่สนิทสนมอยู่บ้าง  ก็เป็นแต่ผู้น้อยโดยมาก  ที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่มีกำลังสามารถ  อาจจะอุดหนุนอันใด  ฝ่ายพี่น้องซึ่งร่วมบิดา  ฤาที่ร่วมทั้งมารดาก็เป็นเด็กมีแต่อายุต่ำกว่าพ่อลงไป  ไม่สามารถจะทำอะไรได้ทั้งสิ้น  ส่วนตัวพ่อเองยังเป็นเด็กอายุเพียงเท่านั้น  ไม่มีความสามารถรอบรู้ในราชการอันใด...”

        สำหรับเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  ท่านได้ถวายธิดาเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง    คน  โดยเฉพาะเป็นธิดาจากท่านผู้หญิงอู่    คน  กับภรรยาอื่น    คน  พระสนมหรือเจ้าจอมในรัชกาลที่    ที่มาจากสกุลบุนนาค  มีจำนวนมากกว่าตระกูลอื่นใดหมด  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธิดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

        ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่  ๑๗  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๔๔๗  ขณะที่ประทับอยู่ที่เมืองราชบุรีนั้น  ทรงใคร่ที่จะทอดพระเนตรเมืองเพชรในเวลาปกติ  คือมิได้จัดตระเตรียมรับเสด็จ  พระองค์จึงทรงกำชับมิให้ผู้ใดส่งข่าวมาเมืองเพชรว่าจะเสด็จ  แต่เจ้าพระยาสุรพันธ์ก็รู้จนได้  จึงรีบขึ้นรถไฟตรงไปยังเมืองราชบุรีและพบกับขบวนเสด็จที่สถานีปากท่อคณะขบวนเสด็จต่างก็แปลกใจไปตาม ๆ กัน  อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ทราบว่าจะเสด็จเมืองเพชรแน่นอนก็ตกใจ  เพราะมิได้เตรียมไว้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงเมืองเพชร  ทรงพระดำเนินไปตามถนนเป็นเวลานาน  พวกข้าราชการจึงทราบ  ต่างวิ่งกระหืดกระหอบมาทีละคนสองคน  สวมเสื้อมากลางทางบ้าง  สวมถุงเท้าบ้างดูโกลาหน  เมื่อเสวยเสร็จก็เสด็จกลับไปประทับแรม ณ  เมืองราชบุรี  และในวันที่  ๒๔  เดือนเดียวกันพระองค์ก็เสด็จโดยทางเรือ  เมื่อเรือศรีอยุธยาจวนจะถึงเมืองเพชรบุรีทรงรับสั่งให้พวกที่ตามเสด็จซ่อนตัวอยู่ในลำเรือ  มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์  ประทับอยู่หน้าเรือพระองค์เดียว  เมื่อเรือแล่นผ่านหน้าพลับพลาซึ่งเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์คอยรับเสด็จอยู่  กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์จึงทรงร้องรับสั่งไปแก่เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ว่า  “เห็นจะเสด็จถึงค่ำละเจ้าคุณ  ให้เตรียมคบไฟไว้เถิด  ฉันจะขึ้นไปหาเสบียงที่ตลาด  สักประเดี๋ยวจะกลับมา”  แล้วเรือศรีอยุธยาแล่นลอดสะพานช้างขึ้นไปจอดหน้าบ้านเจ้าพระยาสุรพันธ์  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จขึ้นไปประทับบนบ้านเจ้าพระยาสุรพันธ์แล้วรับสั่งให้  กรมหมื่นมหิศรไปตามเจ้าพระยาสุรพันธ์มาเฝ้าฝ่ายเจ้าพระยาสุรพันธ์รีบวิ่งมาถวายคำนับ  พระองค์ทรงรับสั่งว่า  มาตอบแทนที่เจ้าพระยาสุรพันธ์ล่วงหน้าไปรับถึงปากท่อเมื่อคราวก่อน  เจ้าพระยาสุรพันธ์ก็ไม่เพ็ดทูลว่าอย่างไร  พวกที่ตามเสด็จต่างก็อดหัวเราะขำที่  “ถูกหลอก”  พอลับหลังพระที่นั่ง  เจ้าพระยาสุรพันธ์ก็ตัดพ้อต่อว่าผู้ตามเสด็จเกือบทุกคน  โดยเฉพาะกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์

        ในด้านครอบครัว  เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  ใช้ชีวิตตั้งแต่เริ่มรับราชการเป็นปลัดเมืองเพชรบุรีจนถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองเพชรบุรีมาตลอด  ท่านมีภรรยาที่มีบุตรธิดาด้วยกัน  ๒๙  คนมีบุตรธิดารวม  ๖๒  คน  เป็นบุตร  ๓๒  คนธิดา ๓๐  คน  เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ท่าน  บุตรชายได้เป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี    ท่านคือ

                พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  (เทียน  บุนนาค)

                พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทียม  บุนนาค)

                พระสัจจาภิรมย์  (แถบ  บุนนาค)

                พระยาสุรพันธ์เสนี  (อิ้น  บุนนาค)

        ธิดาที่ได้เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ท่าน  คือ

        ๑.  เจ้าจอมมารดาอ่อน  มีพระธิดา    องค์  คือ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงอรประพันธ์รำไพ  กับ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าหญิงอดิศัยสุริยาภา

        ๒.  เจ้าจอมเอี่ยม

        ๓.  เจ้าจอมเอิบ

        ๔.  เจ้าจอมอาบ

        ๕.  เจ้าจอมเอื้อน

        ๖.  เจ้าจอมแก้ว

        ๗.  เจ้าจอมแส

        ๘.  บุตรธิดาที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่มี  ๑๔  คน  คือ

                ๑.  พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  (เทียน)

                ๒.  ธิดาชื่อ  เอม

                ๓.  พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทียม)

                ๔.  เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ 

                ๕.  พระสัจจาภิรมย์  (แถบ)

                ๖.  ธิดาชื่ออ่วน

                ๗.  เจ้าจอมเอี่ยม  ในรัชกาลที่ 

                ๘.  คุณหญิงอิ่ม  ภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย  (เจิม)

                ๙.  นายเถลิง

                ๑๐. คุณหญิงอบ  ภรรยาพระยาธรรมสารเนติ  (ถึก)

                ๑๑. เจ้าจอมเอิบ  ในรัชกาลที่ 

                ๑๒. เจ้าจอมอาบ  ในรัชกาลที่ 

                ๑๓. คุณหญิงอาย  ภรรยาพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์  (เหม)

                ๑๔. เจ้าจอมเอื้อน  ในรัชกาลที่ 

                ๑๕. พระยามหานุภาพ  (ไทย)  มารดาชื่อ  ภู

                ๑๖. ธิดาชื่อ  เทียบ  มารดาชื่อใย

                ๑๗. นายพุ่ม  มหาดเล็ก  มารดาชื่อพวง

                ๑๘. พระราชวิตรวิสุทธิรักษ์  (เชย)  มารดาชื่อแจ้ง

                ๑๙.หลวงภักดีบริรักษ์  (ชวน)  ผู้ช่วยราชการเมืองเพชรบุรี  มารดาชื่อ  สุด

                ๒๐.  หลวงมหาดไทย  (เล็ก)  เมืองเพชรบุรี  มารดาชื่อ  สุด

                ๒๑. หลวงราชภักดีศรีสงคราม  (โพล้ง)  มารดาชื่อบาง

                ๒๒. นายอั้งมหาดเล็ก  มารดาชื่อ  อ้น

                ๒๓. ธิดาชื่อสั้น  มารดาชื่อ  นวม

                ๒๔. นายพ่วงมหาดเล็ก  มารดาชื่อ  พวง

                ๒๕. จมื่นมณเฑียรพิทักษ์  (เจิม)  มารดาชื่อ  จร

                ๒๖. ธิดาชื่อ  เหลี่ยม  มารดาชื่อ  บางเล็ก

                ๒๗. เจ้าจอมแก้ว  ในรัชกาลที่    มารดาชื่อพวง

                ๒๘. นายอุ้น  มหาดเล็ก  มารดาชื่ออ้น

                ๒๙. ธิดาชื่อหริ่ง  มารดาชื่อ  หรั่ง

                ๓๐. หลวงนาสาลี  (เนียม)  เมืองเพชรบุรี  มารดาชื่อ  น่วม

                ๓๑. ธิดาชื่อ  จวง  มารดาชื่อจันทร์

                ๓๒. ธิดาชื่อ  หริ่ม  มารดาชื่อ  หรั่ง

                ๓๓. นายหาด  มหาดเล็ก  มารดาชื่อเป๋า

                ๓๔. นายอ่อง  มหาดเล็ก  มารดาชื่อ บางเล็ก

                ๓๕. นายหอม  มหาดเล็ก  มารดาชื่อเหม

                ๓๖. พระยาสุรพันธ์เสนี  (อิ้น)  มารดาชื่ออ้น

                ๓๗. หลวงจตุรงค์วิไชย  (ฮก)  มารดาชื่อเม้า

                ๓๘. หลวงไอสูรย์สุทธิวิไสย  (อิศร์)  มารดาชื่ออ้น

                ๓๙.  หม่อมหวน  ในพระองค์เจ้าอัศคารนุทิศ  มารดาชื่อเหม

                ๔๐. ธิดาชื่อหรุ่ม  มารดาชื่อ  หรั่ง

                ๔๑. หลวงวิจิตรสุรพันธ์  (อุ่น)  มารดาชื่อบางเล็ก

                ๔๒. ขุนสมานนันทพรรค  (คลุ้ย)  มารดาชื่อคล้อย

                ๔๓.  คุณหญิงไล  ภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย  (เจิม)  มารดาชื่อตลับ

                ๔๔. ขุนวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว)  มารดาชื่อ  มอญ

                ๔๕. นายอัด  มหาดเล็ก  มารดาชื่ออ้น

                ๔๖. หลวงสุรพันธาทิตย์  (ฮัก)  มารดาชื่อเม้า

                ๔๗. ธิดาชื่อจวน  มารดาชื่อจันทร์

                ๔๘. คุณหญิงกุ่ม  ภรรยาพระยาไชยสิรินทร์  มารดาชื่อกิม

                ๔๙. หลวงวิสูตรอัศดร  (คลาย)  มารดาชื่อคล้อย

                ๕๐. ธิดาชื่อเหล็ง  มารดาชื่อเม้า

                ๕๑. เจ้าจอมแส  ในรัชกาลที่    มารดาชื่อ  ทรัพย์

                ๕๒. นายเหลี่ยม  มหาดเล็ก  มารดาชื่อ  หรั่ง

                ๕๓. ธิดาชื่อ  กลม  มารดาชื่อกล่อม

                ๕๔. ธิดาชื่อเคลื่อน  มารดาชื่อคล้อย

                ๕๕. นายชิน  มหาดเล็ก  มารดาชื่อชัง

                ๕๖. นายมิ่ง  มหาดเล็ก  เมือง

                ๕๗. นายหยัด  มหาดเล็ก  มารดาชื่อ  ย้อย

                ๕๘. นายทุ้ย  มหาดเล็ก  มารดาชื่อทิพย์

                ๕๙. คุณหญิงขลิบภรรยาพระยาวันพฤกษพิจารณ์มารดา  ชื่อ  คล้อย

                ๖๐. ธิดาชื่อ  อ้อน  มารดาชื่อปริก

                ๖๑. ธิดาชื่อเมี้ยน   มารดาชื่อ  เลี่ยม 

                ๖๒. ธิดาชื่อ  ผุด  มารดาชื่อ  ผาด

        เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  (เทศ  บุนนาค)  ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา  เมื่อวันที่  ๑๐  กันยายน พ.ศ.๒๔๔๙    ที่บ้านเพชรบุรี  รวมอายุได้  ๖๕  ปี  ขณะที่ป่วยอยู่นั้น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้แพทย์ฝรั่งแพทย์ไทยมารักษา  แต่อาการมีแต่ทรงกับทรุดและถึงแก่อสัญกรรมในที่สุด  วันที่  ๑๒  กันยายน  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพนักงานเชิญน้ำหลวงและโกษมายังเพชรบุรี เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี  (ท้วม  บุนนาค)  เป็นผู้รดน้ำหลวงที่พระราชทานมา  เจ้าพนักงานแต่งศพเสร็จแล้วเชิญลงลองในแล้วเชิญขึ้นตั้งบนชั้นแวนฟ้า    ชั้น  ประกอบโกษไม้  ๑๒  แวดล้อมด้วยเครื่องสูง    ชั้น  ขณะเวลารดน้ำและแต่งศพ  เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะ    คู่  จ่าปี่    แล้วพระเจ้าลูกเธอ  พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ  และพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา  ทรงทอดผ้าไตรของหลวง    ไตร  ผ้าขาวพับ  ๑๐  พับ  พระสงฆ์บังสุกุล  และโปรดเกล้าฯ  พระราชทานพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม  มีเครื่องประโคมศพและเลี้ยงพระเช้าเพลมีกำหนด    เดือน  ซึ่งจะพระราชทานเพลิงศพในวันที่    กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๔๕๐  (ร.ศ.  ๑๒๕)    เมรุวัดเทพศิรินทราวาส  พร้อมกับศพเจ้าคุณคลี่  แต่เมื่อจวนจะถึงวันชักศพเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์  คือวันที่    กุมภาพันธ์  ท่านผู้หญิงอู่ก็มาป่วย  และถึงแก่อสัญกรรมลง  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้งดการพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ไว้ก่อน

        ท่านผู้หญิงอู่  ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่    กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๔๕๐  (ร.ศ.  ๑๒๕)  ขณะที่ป่วยอยู่นั้นได้เดินทางจากเพชรบุรี  ไปรักษาที่กรุงเทพฯ    บ้านในคลองบางกอกใหญ่  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแพทย์หลวงไปรักษาแต่ไม่หาย  โปรดฯให้พระยาสุรินทรฤาไชย  (เทียน  บุนนาค)  อาบน้ำศพของหลวงพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพและพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา  ได้เสด็จไปทรงสรงน้ำศพด้วยเจ้าพนักงานประโคมกลองชนะ  ๑๐  จ่าปี่    แต่งศพเสร็จแล้วเชิญลงลองใน  ตั้งบนชั้นแว่นฟ้าประกอบโกษแปดเหลี่ยมแวดล้อมด้วยฉัตรเบญจา    คัน  เป็นเกียรติยศ  ถึงวันที่    เชิญศพลงเรือม่านทองแย่งไปขึ้นรถไฟมายังเพชรบุรี  เชิญศพมาไว้    บ้านเพชรบุรี  ท่านผู้หญิงอู่อายุได้  ๖๑  ปี  โปรดเกล้าฯ  ให้พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมขุนศิริลังกาศ  พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนสมมตอมรพันธุ์  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงดำรงราชานุภาพ  (พระยศในขณะนั้น)  เป็นผู้จัดการมรดกท่านผู้หญิงอู่

                จากทำเนียบข้าราชการหัวเมือง  ร.ศ.  ๑๒๕  (พ.ศ.  ๒๔๕๐ )  กล่าวถึงเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ว่าเป็นจางวางกำกับราชการเมืองเพชรบุรี  เป็นองคมนตรี  และรัฐมนตรี  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับคือ

                        ป.จ.  -  ปฐมจุลจอมเกล้า

                        ม. ส. ม.     -  มงกุฎสยามชั้นที่    มหาสุราภรณ์  (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)

                        น. ช. -  ช้างเผือกชั้นที่    นิภาภรณ์  (ตริยาภรณ์ช้างเผือก)

                        ร. ด. ม.      -  เหรียญดุษฎีมาลา

                        ร. จ. พ.      -  เหรียญจักรพรรดิมาลา

                เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ได้ใช้ชีวิตตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงชราอยู่กับเมืองเพชรบุรี  ได้สร้างถนนและนำความเจริญมาสู่เมืองเพชรและมณฑลราชบุรีเป็นอันมาก  ในเรื่องส่วนตัวที่ท่านมีภรรยาหลายคนมีบุตรธิดาจำนวนมากนั้น  เป็นค่านิยมของสังคมไทยสมัยก่อน  ซึ่งถือเอาความมีหน้ามีตา  การที่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่เป็นต้น  นอกจากนี้อาจมีเหตุผลทางการเมืองการแสดงความจงรักภักดีต่อผู้บังคับบัญชา  ในหน้าที่ราชการ  เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์สามารถไต่เต้าไปถึงขุนนางชั้นเจ้าพระยา  เป็นผู้ที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ท่านก็มิได้มุ่งหวังที่จะแสวงหาตำแหน่งสูง ๆ และขอย้ายเข้าไปอยู่กรุงเทพฯ  จึงนับได้ว่าในหน้าที่การงานท่านเป็นตัวอย่างที่ดีได้ท่านหนึ่ง

บรรณานุกรม

 

“การเมรุวัดเทพศิรินทราวาส” ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๒๓  ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๕๐ )  ๑๒๑๔

 

“ข่าวอสัญกรรม” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๕  ๑๖ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๕๐ )  ๖๓๒

 

“ข่าวอสัญกรรม” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๓   ๑๐ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๕๐ )  ๑๑๙๗

 

งานปิยมหาราชรำลึก  ๒๓ ตุลาคม ๒๕๒๑   สงขลา  :  ชุมนุมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑

 

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ  พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๑

 

“แจ้งความเรื่องมรดกท่านผู้หญิงอู่” ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๒๓  ๑๗ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๕๐ )

 

ทำเนียบข้าราชการหัวเมือง รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕  โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ม.ป.ป.

 

รวมเรื่องเมืองเพชรบุรี  โรงพิมพ์สามมิตร, ๒๕๑๕  ( พิมพ์ในงานศพ ร.อ. เดชา ปริญญาจารย์ )

 

เรื่องตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับมีรูป โรงพิมพ์ลหุโทษ, ๒๔๗๔ ( พิมพ์ในงานศพท่านน้อย เปาโรหิตย์ )

 

ลำดับราชิกุลบางช้าง ฉบับเรียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ ๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๒ ( พิมพ์ในงานศพพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ เต็น บุนนาค )

 

สมบูรณ์ แก่นตะเคียน  ประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี  วิทยาลัยครูเพชรบุรี, ( ๒๕๒๐ )

 

หนังสือ  COURT ข่าวราชการ โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๖๖  ( พิมพ์ในงานฉลองพระชันษาครบ ๖๔ ปี ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช )

 

  :  สมบูรณ์ แก่นตะเคียน

 

 

                                ********

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง