Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

โป้ย : การเสี่ยงทายด้วยไม้คู่ประกบ

 

       

        ปัวะโป้ย เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเสี่ยงทายสอบถาม เหตุการณ์ ชีวิต และสารพัดเรื่องของผู้นั้น ที่จะถามองค์เทพเจ้า โดยใช้เครื่องมือนี้ ว่าจะดีไม่ดีอย่างไรบ้าง

        คำว่า ปัวะโป้ย หรือ เจี๋ยวเป้ย 筊杯 หมายถึง แท่งไม้คู่ประกบกัน โดยใช้เสี่ยงทายตามลัทธิทางศาสนาทั้งเต๋าและพุทธศาสนามหายาน จึงมีให้เห็นทั่วไปตามศาลเจ้าแทบทุกแห่ง ตลอดจนวัดจีน ซึ่งวางอยู่หน้าแท่นบูชา บางแห่งจะวางคู่กับกล่องเซียมซีด้วย จำนวนที่วางให้บริการมีหลายคู่ทั้งเล็กและใหญ่ แล้วแต่ว่าสถานที่นั้นมีผู้คนมาไหว้มากน้อยเพียงใด

        โป้ยที่ใช้อยู่ทั่วไปมี ๓ ลักษณะ คือ แบบแรกเป็นแบบรูปดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยว แบบที่สองเป็นรูปดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยวเช่นกันแต่ตัดปลายอีกข้าง ทำให้สามารถวางตั้งตรงได้ แบบที่สามเป็นข้อไม้ไผ่ผ่าซีกตัดหัวท้ายตรงข้อ ทั้งสามแบบ มีลักษณะเหมือนกัน คือ ด้านหนึ่งแบนราบ อีกด้านหนึ่งโค้งนูน

        วัสดุที่ใช้ทำโป้ย นั้น เดิมทำด้วยรากโคนกอไผ่ อาจเป็นไม้ไผ่ตง ซึ่งใช้ทั้งรากไผ่ หรือโคนไผ่ ถ้าใช้รากไผ่ไม้โป้ยจะเบา แต่ถ้าใช้โคนไผ่ติดราก จะมีความแข็งและค่อนข้างหนัก เมื่อนายช่างเลือกวัสดุที่ทำมาแล้ว จัดการเกราให้เป็นรูปร่างจนได้ขนาดที่ต้องการ แล้วเอาไปชั่งน้ำหนักทั้งสองอัน แต่ละอันน้ำหนักจะต้องเท่ากัน แล้วทาสี เขียนรูปภาพ หรือเขียนชื่อ หรือแกะสลักตัวอักษรแบบเจาะรอยลึก บางแห่งอาจไม่ทาสี ถ้าทาสีส่วนใหญ่เป็นสีแดง ส่วนไม้ไผ่ผ่าซีก เอาข้อไม้ไว้ตรงกลางตัดหัวท้าย ไม้ยาวประมาณสามนิ้ว อย่างไรก็ตาม หลายแห่งใช้ไม้เบาแต่ทนทานมาทำโป้ย

        วิธีการเสี่ยงทาย นั้น มี ๒ ลักษณะ คือ ใช้เฉพาะโป้ยในการเสี่ยงทายอย่างเดียว ลักษณะที่สองคือ ใช้คู่ขนานกับเซียมซี

        การใช้เฉพาะโป้ยอย่างเดียวในการเสี่ยงทาย โดยทั่วไปใช้เสี่ยงทายเรื่องชีวิต อนาคต ความเป็นอยู่ ทุกอย่างที่อยากทราบเรื่องในอนาคตว่าจะดีร้ายประการใด วิธีการเสี่ยงทายแบบนี้ ผู้เสี่ยงทายไหว้เทพเจ้าเสร็จแล้ว เอาโป้ยไปรมควันกระถางธูปวนขวาสามรอบ แล้วกลับมานั่งคุกเข่าหน้าโต๊ะบูชา ถือโป้ยแบบไหว้ ตั้งสมาธิจิตให้สงบ แล้วบอกชื่อแซ่ วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด ต่อด้วยคำถามที่จะถามต่อพระพักตร์องค์เทพเจ้า เสร็จแล้วโยนโป้ยลงพื้นข้างหน้าตน

        ผลของโป้ยที่โยนลงพื้นมี ๓ ลักษณะ สำหรับโป้ยรูปดวงจันทร์แบบแรก และมี ๔ ลักษณะสำหรับโป้ยที่ตัดปลายอีกข้าง คือ

        ประการแรก ถ้าโป้ย คว่ำหนึ่งอัน หงายหนึ่งอัน ทายผลว่า ดี ใช้ได้ ถูกต้อง ไปได้ ทำได้ ฯลฯ สรุปว่า สิ่งที่ตนตั้งคำถามนั้น เทพเจ้าตรัสว่า ดี   

        ประการที่สอง ถ้าโป้ยคว่ำทั้งสองอัน ทายผลว่า เทพเจ้าไม่ทรงเห็นด้วย ไม่ดี ไม่ควรทำต่อ อย่าไป ฯลฯ สรุปว่าองค์เทพเจ้าไม่ทรงเห็นด้วยในเรื่องที่เราถาม อาจทรงกริ้วด้วยซ้ำ 

 

        ประการที่สาม ถ้าโป้ยหงายทั้งสองอัน ทายผลว่า เทพเจ้าทรงหัวเราะ เพราะพระองค์ทรงรู้ว่า ผู้ตั้งคำถามทราบคำตอบในใจอยู่แล้ว    

        ประการที่สี่ สำหรับโป้ยท้ายตัด ถ้าตกลงมาแล้ว ปรากฏว่า ยืนหนึ่งอันหรือยืนทั้งสองอัน ทายผลว่า พระองค์ไม่ทรงเข้าใจว่า ผู้ถามตั้งคำถาม จะถามเรื่องอะไรกันแน่ ดังนั้นผู้ถามจึงต้องปัวะโป้ยหรือโยนโป้ยใหม่อีกครั้ง 

        ข้อคำถามที่ผู้ถามได้รับคำตอบ ไม่ว่าข้อใด ผู้ถามจะต้อง ปัวะโป้ยหรือโยนโป้ยสามครั้ง จึงจะถือว่า เป็นคำตอบสุดท้าย เช่น ถามแล้วได้คำตอบข้อหนึ่งติดต่อกันสามครั้ง

        ในช่วงเทศกาลกินผักของภูเก็ต ศาลเจ้าที่มีพิธีกินผัก จะปัวะโป้ยเพื่อหากรรมการเถ้าแก่หล่อจู้ วิธีการคือ ช่วงกลางคืนในแต่ละคืน กรรมการจะเอารายชื่อผู้แสดงตนว่ามากินผัก โดยอ่านเป็นรายคน ต่อหน้าพระพักตร์เทพเจ้าผู้เป็นองค์ประธานการกินผัก แล้วปัวะโป้ย ถ้าชื่อคนนั้น อ่านแล้วปัวะทุกครั้งคว่ำอันหงายอันทุกครั้งต่อเนื่อง อย่างปีพ.ศ. ๒๕๕๖ ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง คนอันดับหนึ่งได้ ๑๐ โป้ย คนที่สอง ๙ โป้ย จำนวนลดหลั่นกันลงมาจนถึง ๔ โป้ย รวม ๑๐๘ คน ส่วนศาลเจ้าโจวสู่กงยกเค่เก้ง สามกอง คนอันดับหนึ่งได้ ๒๐ โป้ย เป็นต้น เคยเห็นบางปีบางศาลเจ้าเกือบร้อยโป้ยก็มี

        อย่างไรก็ตาม การใช้โป้ยเสี่ยงทาย ตามพงศาวดารจีนมีปรากฏในเรื่องเม่งเฉียว เล่ม ๑ กล่าวถึง จูง่วนเหลงขณะที่ไปอาศัยอยู่ในวัดฮองก๊กยี่ เห็นไม้เสี่ยงทายวางอยู่หน้ารูปพระเซียหนำ

 

        ตนจึงอธิษฐานว่า “...เบื้องหน้าเพื่อนศิษย์วัดจะไม่ได้ล่วงเกิน กระทำข่มเหงข้าพเจ้าต่อไปแล้ว ขอให้ไม้เสี่ยงทายคว่ำ ถ้าข้าพเจ้าจะมีทรัพย์สินเงินทอง ก็ขอให้ไม้เสี่ยงทายหงาย ถ้าจะทำราชการได้เป็นขุนนาง ก็ขอให้ไม้เสี่ยงทาย หงายอันหนึ่งคว่ำอันหนึ่ง ครั้นอธิษฐานแล้ว หยิบไม้เสี่ยงทายโยนขึ้นไปตกลงมาตั้งอยู่ทั้งคู่ จึงว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานถึงสามอย่าง ท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่ให้เห็นปรากฏแต่สักอย่างหนึ่ง หรือบุญข้าพเจ้าจะถึงเป็นใหญ่แก่คนทั้งหลาย ก็ขอให้ไม้เสี่ยงทายตั้งอยู่ดังเก่า อธิษฐานแล้วหยิบไม้เสี่ยงทายโยนขึ้นไปตกลงมาตั้งอยู่ถึงสามหน จึงคิดว่า การอันนี้เป็นการใหญ่ โดยจะคิดไปก็ไม่ตลอดด้วยความจน ขอเป็นแต่ผัวหนึ่งเมียเดียว พอหาเลี้ยงชีวิตไปได้ตลอดก็เอาเถิด คิดแล้วทิ้งไม้เสี่ยงทายตกลงมาตั้งอยู่อีกถึงสามครั้ง เหมือนคำอธิษฐานก็มีความยินดี...”   

        จูง่วนเหลงท่านนี้ก็คือ ฮ่องเต้องค์แรกแห่งราขวงศ์หมิง คือ ฮ่องเต้หมิงไท่จู่หรือฮ่องเต้หงอู่ตี้ ทรงครองราชย์ระหว่างพ.ศ. ๑๙๑๑-๑๙๔๑ ที่เมืองนานกิง

        การนำโป้ยไปใช้ในการเสี่ยงทายมีหลายแบบตามแต่ผู้ตั้งใจจะตั้งคำถามและหาคำตอบ เช่น

         โป้ยหงายหมด ทายว่า จะร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทอง

         โป้ยคว่ำอันหงายอัน  ทายว่า จะได้ตำแหน่งหน้าที่การงาน

         โป้ยคว่ำหมด ทายว่า ไม่มีศัตรู ไม่มีใครมาล่วงเกินทำร้าย คือ ปลอดภัย

        ในแต่ละข้อ จะต้องโยน ๓ ครั้ง ผลเหมือนกันทั้งสามครั้งจึงจะถือว่า แม่นยำ แต่ปัจจุบันมักปัวะโป้ยเพียงครั้งเดียว

        นอกจากการนำโป้ยเสี่ยงทายแล้ว ในช่วงเทศกาลสารทจีน ตรุษจีน เช็งเหม็ง หรือการไหว้ในเทศกาลต่างๆ ผู้ไหว้หรือเจ้าของบ้านใช้ปัวะโป้ยเพื่อถามเทพเจ้าหรือเหล่าบรรพบุรุษว่ามารับเครื่องสังเวยหรือยัง เป็นต้น

        โป้ยจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้คนได้คลายทุกข์ มีความสุข เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีในสังคม

 

สมบูรณ์ แก่นตะเคียน   ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๕

                            ****** 

 

        

 

*****

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง