บ้านห้องแถวสองชั้น
.jpg)
บ้านห้องแถวสองชั้นหรือบ้านตึกแถว นอกจากบ้านอั่งหม่อหลาวแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมบ้านห้องแถวสองชั้น ซึ่งคิดว่ามีหลงเหลืออยู่ที่ตัวเมืองภูเก็ตมากกว่าที่เมืองอื่น ทั้งนี้เพราะเหตุด้วยรูปแบบการก่อสร้างที่เกาะเกี่ยวกันตลอดทั้งแถวอย่างต่อเนื่องกัน ดังนั้นถ้าหากว่า อาคารหลังใดเกิดล้มพังลง อาจทำให้มีผลกระทบต่อหลังที่ติดกันพาให้พังตามกันไปทั้งแถบได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีหลายตึกได้มีการแปงซ่อมใหม่ เพื่อไม่ให้เกาะเกี่ยวกับตึกทั้งสองข้าง แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของอาคารเดิมอยู่ ซึ่งมีน้อยมากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นอาคารสมัยใหม่ แต่บางหลังอาจเพิ่มเป็นสามชั้น
อาคารที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันนี้ที่สำคัญประการหนึ่งคือ มีทางเดินทะลุกันตลอดทั้งแถวบริเวณระเบียงบ้าน ที่เรียกว่า หง่อก่ากี่ คำว่า หง่อเป็นสำเนียงฮกเกี้ยนหมายถึง ๕ ส่วนคำว่าก่ากี่หรือกากี(kaki)เป็นภาษามาเลย์ หมายถึงเท้า หรือฟุตในภาษาอังกฤษ คือกว้างห้ากากีหรือห้าฟุตหรือ ๖๐ นิ้ว ช่างภูเก็ตใช้คำว่ากากีไม่ได้ใช้คำว่า ฟุต ตรงผนังระหว่างตึกดังกล่าวนี้เป็นรูปโค้งเท่ากันหมด แต่ไม่มีรูปหินสลัก หรือ คีย์สโตน ยกเว้นอาคารสี่แยกถนนดีบุก ส่วนหลังคาใช้กระเบื้องดินเผากาบกล้วย รูปทรงหลังคาที่หลงเหลือที่เป็นรูปแบบจีนก็มี เท่าที่สังเกตมีสามแห่งที่ถนนถลาง เสาด้านหน้าเป็นแบบโดริกทรงสี่เหลี่ยม มีบัวหัวเสาและคิ้วบัวทรงเหลี่ยม การออกแบบลวดลายแล้วแต่เจ้าของบ้าน หลายบ้านตกแต่งหรูหราร่วมสมัยบาโรก เช่นที่สี่แยกถนนดีบุก แต่ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบร่วมสมัยเรเนสซองส์ เหนือเสาเป็นไม้หรือปูนรองรับคาน พื้นชั้นสองปูด้วยไม้มีบันไดขึ้น บ้านแต่ละหลังแบ่งเป็นพื้นที่ส่วนหน้าบ้านหรือระเบียงบ้าน บริเวณนี้เรียกว่า อาร์เขด(arcade) รวมทั้งหง่อก่ากี่ด้วย ตรงบริเวณหง่อก่ากี่ มีผนังด้านหน้าบ้าน ประตูอยู่ตรงกลาง อาจเป็นประตูสองชั้น ทั้งสองข้างประตูมีหน้าต่างและลูกกรงเหล็ก เหนือหน้าต่างมีช่องลมทั้งสองข้าง บางบ้านอาจมีช่องลมเหนือประตูด้วย ห้องที่สองเป็นห้องโถงที่รับแขก มีตั่งหรือหิ้งหน้าพระแท่นบูชาเทพเจ้า ซินจู้ป้ายวิญญาณ และรูปภาพเกี่ยวกับครอบครัว ห้องที่สามมีบันไดขึ้นชั้นสองและทางเข้าห้องครัวหลังบ้าน
ส่วนของห้องครัวมีบริเวณที่โล่งแจ้งเรียกว่า จิ่มแจ้ มีบ่อน้ำและที่ซักล้าง มีโพหรือเตาหุงข้าวทาสีแดง สามารถตั้งโต๊ะกินข้าว ตู้กับข้าว ฯลฯ ส่วนผนังด้านหลังเป็นพื้นที่ตัน บริเวณนี้มีห้องส้วมด้วย เป็นแบบส้วมถังเท คือใช้ถังไม้รองรับเพื่อเทศบาลจะมาเก็บในช่วงกลางคืน ต่อมาเปลี่ยนเป็นส้วมซึมหมด
อย่างไรก็ตาม บางบ้านมีขนาดยาวตลอดไปจนจดถนนอีกด้านหนึ่งเหมือนกับมีหน้าบ้านอีกถนนหนึ่ง
บริเวณระเบียงบ้าน เหนือเสาหน้าบ้านชั้นสองเป็นอาร์เขด สร้างเป็นส่วนโค้งแบบโรมันสามช่อง ส่วนใหญ่มีลิ่มหินสลักหรือ คีย์สโตน(keystone)บริเวณอาร์เขดทั้งสามช่องเป็นหน้าต่างสามบาน เหนือหน้าต่างมีช่องลมหรือทึบ ใต้หน้าต่างมีลูกกรง รูปแบบหน้าต่างแตกต่างกันไป เช่น เป็นไม้ทั้งหมด ครึ่งแรกเป็นปูนส่วนบนเป็นไม้ บางบ้านมีระเบียงชั้นสอง ส่วนประกอบเสาและกรอบหน้าต่างโดยทั่วไปบางบ้านมีภาพปูนปั้น เป็นเครือเถาลายดอกไม้ใบไม้แบบชิโนยูโรเปี้ยนสไตล์ ส่วนสีทาบ้านแล้วแต่รสนิยมของเจ้าบ้าน เดิมเข้าใจว่าน่าจะเป็นสีเหลืองเป็นพื้น
: สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๓ เมษายน ๒๕๕๗
: s.kantakian@gmail.com
****
หมายเหตุ
คำว่า หง่อก่ากี่ มีคำที่เป็นสำเนียงฮกเกี้ยนอีก คือ คำว่า กากี มี เต็กกากีหรือฟองเต้าหู้ คำว่า ก่ากี่หลาง หรือ กากีนั้ง ยังไม่ได้หาข้อมูล จึงน่าจะเป็นคำจีนมากกว่าคำมาเลย์
****
ภาพประกอบ

.jpg)

.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)

.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)


.jpg)

.jpg)
.jpg)
.jpg)






.jpg)

.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)

.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)

******************************
สถาปัตยกรรมตึกแถว
เกาะปีนัง มาเลเซีย
ภาพจากกูเกิ้ล









*****************
ตึกแถวบางประเทศในยุโรป
ภาพโดย
สุภา แก่นตะเคียน
.jpg)
.jpg)




*********
.jpg)
ภาพโดย สมบูรณ์ ก่นตะเคียน

ภาพโดย สมบูรณ์ แก่นตะเคียน

ภาพโดย สมบูรณ์ แก่นตะเคียน
*********
|