Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

เรือนกว้าน

 

  เรือนกว้าน    คำว่า “กว้าน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “กว้าน ๑ น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน”  บางท่านว่า คำว่า “กว้าน”เป็นภาษามอญ ได้ถามชาวมอญทำงานที่ภูเก็ตแล้วเขาเรียก กว้าน

        ชาวภูเก็ตแต่เดิมโดยทั่วไป สร้างเรือนแบบใต้ถุนสูงทั้งสิ้น ในสมัยช่วงหลัง ที่มีคนจีนแต่งงานกับคนไทยพื้นบ้าน จึงมักสร้างบ้านแบบเรือนกว้านและหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก ยกเว้นบางบ้านที่หันไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ ไม่นิยมหันไปทางทิศตะวันตก เรือนกว้านน่าจะเป็นคติจีน เป็นบ้านชั้นเดียว ด้วยการพูนดินให้สูงทำพื้นบ้านไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าบ้าน เป็นบ้านหลังคาหน้าจั่วทั้งสองข้าง หรือเป็นบ้านที่มีมุขอยู่ด้านหน้าบ้าน หรือมีมุขอยู่บนหลังคาทั้งสองข้าง เรือนกว้านมีทั่วไปตามสวนผัก สวนมะพร้าว หรือปลูกเรือนกว้านข้างถนนทั้งสองด้าน ร้านโกปีเตี่ยม ที่เป็นคนจีน เขยจีน คนภูเก็ตเชื้อสายจีน

        บ้านจะกว้างแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนเสาแถวละสี่ต้นห่างกันประมาณสี่ถึงห้าเมตร บ้านหนึ่งหลังโดยทั่วไปมีสิบหกเสา หากรวมห้องครัวด้วยเป็น ยี่สิบสองเสา คือ ด้านหน้าบ้านช่วงแรกของเสา พื้นที่จะปล่อยโล่งไว้เป็นระเบียงบ้าน ประตูบ้านจะอยู่ตรงกลางในช่วงเสาที่สอง ทั้งสองข้างมีช่องหน้าต่างข้างละช่อง ถึงช่วงเสาที่สาม ด้านซ้ายมือมักเป็นห้องนอน ตรงผนังช่วงเสาที่ตรงกับประตูหน้าบ้าน ทำเป็นหิ้งพระ ด้านขวาที่รับแขก มีประตูเข้าไปช่วงเสาที่สี่ด้านซ้ายมักเป็นห้องนอนที่สอง ส่วนด้านขวาบางบ้านทำเป็นห้องนอนที่สาม มีประตูเข้าไปห้องครัว ในแต่ละห้องมีช่องหน้าต่างกรอบไม้ลูกกรงเหล็ก บางบ้านอาจมีหลังคาสูง จึงสร้างเหล่าเต้งมีบันไดขึ้น เป็นห้องนอนชั้นสอง

        หลังคาโครงไม้ระแนงมุงจาก ต่อมาเปลี่ยนเป็นเหล็กวิลาดหรือสังกะสี โดยทั้วไปมุงด้วยตับจากจากต้นจาก แต่บางบ้านอาจมุงด้วยตับจากใบมะพร้าว ฝาบ้านรอบนอกมักกั้นด้วยไม้ไผ่สานลายสอง ส่วนกั้นห้องนอนภายในมักใช้ไม้กระดาน   

        บริเวณห้องครัวเป็นช่วงเสาที่ห้ากับช่วงเสาที่หก บริเวณห้องครัวจะไม่กั้นห้อง ด้านซ้ายมือระหว่างช่วงเสาที่ห้ากับที่หก จะปล่อยโล่งไม่มุงหลังคาเรียกว่า จิ่มแจ้ อาจขุดบ่อ หรือก่ออ่างปูนขังน้ำฝน เรียกว่า จุ้ยตี๋ บริเวณนี้จึงเป็นที่ซักล้าง พื้นที่ช่วงที่ห้า จึงมีเตาไฟก่ออิฐสูงประมาณหนึ่งเมตร เรียกว่าโพ อาจมีสองหรือสามช่องเตาสำหรับก่อไฟ ส่วนใต้เตาเป็นที่เก็บไม้ฟืน โพจะฉาบปูนแล้วทาสีแดง นอกจากนี้มีตู้กับข้าว โต๊ะกินข้าว โอ่งน้ำดึ่ม โอ่งน้ำใช้  ไหข้าวสาร ชั้นวางถ้วยชามหม้อไห เรียกว่า เก-ล่า ห้องครัวมีช่องหน้าต่างและประตูออกไปหลังบ้าน

        พื้นบ้านสมัยแรกๆเอาดินสีแดงที่ไม่มีทรายมาถม แล้วราดน้ำทุบให้ดินแน่น แข็ง แต่ถ้าถูกน้ำถูกฝนทำให้พื้นแฉะ บ้านใดพอมีเงินจึงเปลี่ยนมาปูด้วยอั่งหม่อโห้ยหรือปูนซิเมนต์ มักปูหน้าบ้านก่อน แล้วจึงปูบริเวณในครัว และทำจิ่มแจ้

        ฝาบ้านสมัยแรกๆบางบ้านยังใช้ตับจาก ซึ่งผุเร็ว ต่อมากั้นด้วยไม้ไผ่สานลายสองโดยทำกรอบไม้รอบทั้งสี่ด้าน ส่วนของตีนฝามักใช้ไม้ระแนงสองสามอัน ทำให้โล่งอากาศถ่ายเทได้ แต่พวกหนูงูลอดเข้าได้สะดวก แล้วพัฒนาไปสู่การกั้นด้วยสังกะสี และตามด้วยการก่อด้วยอิฐฉาบปูนซิเมนต์สำหรับท่อนล่าง ส่วนท่อนบนใช้สังกะสีหรือไม้กระดาน

        ห้องส้วมมักสร้างไว้ภายนอกบริเวณหลังบ้าน เป็นเรือนหลังเล็ก อาจใช้กระสอบข้าวสารที่เรียกว่ามู่หนีหรือกุหนีเป็นม่านประตู ต่อมาพัฒนาเป็นไม้กระดานหรือสังกะสี บางบ้านไม่ได้ขุดหลุม จึงปล่อยให้เป็นอาหารหมู ถ้าสร้างริมคลองก็เป็นอาหารของปลาดุกปลาไหล ต้นเผือกบอนผักบุ้งงอกเจริญงามนัก บางบ้านมักปลูกต้นไม้ล้อมรอบกันอุจาดตา ส้วมเหล่านั้นต่อมาพัฒนาเป็นส้วมหลุมและส้วมซึม และสร้างขยับเข้ามาใกล้บ้านและสร้างไว้ในบ้านในที่สุด

:   สมบูรณ์  แก่นตะเคียน   ๓ เมษายน ๒๕๕๗

:   s.kantakian@gmail.com

****

 

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง