Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

เรือนใต้ถุนสูง

สังเกต โคนเสามีหินรอง

 

        จังหวัดภูเก็ต หรือสมัยโบราณ เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “เกาะถลาง หรือ เมืองถลาง”  ด้วยเหตุที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลตะวันตก ที่มีเรือสินค้าชาติต่างๆ ทั้งยุโรป อาหรับ อินเดีย จีน จำเป็นต้องเดินทางผ่าน จึงต้องแวะหาเสบียงอาหารน้ำและหลบพายุลมมรสุม ตลอดจนซ่อมแซมเรือสินค้าของพวกตน บางครั้งจำเป็นต้องสร้างบ้านพักอาศัยระยะยาว หรือเป็นที่เก็บถ่ายสินค้า พวกเขาจึงได้นำรูปแบบการสร้างที่อยู่อาศัยมาใช้ ซึ่งสะดวกในการก่อสร้าง ดังนั้น เมืองถลางจึงได้รับอิทธิพลในด้านสถาปัตยกรรมจากชนต่างชาติ แล้วนำมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นไป

 

        คำว่า “เรือน” หรือ “บ้าน”

      ปัจจุบัน มักใช้คำว่า “บ้าน” มากกกว่าใช้คำว่า “เรือน” ยกเว้น เรือนไทย หรือเรือนไทยภาคกลาง ที่ยังคงชี้ชัดถึงลักษณะการก่อสร้าง คำว่า เรือน กับคำว่า บ้าน ต่างกันหรือไม่

        จากหนังสือจดหมายเหตุระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๖)หน้า ๑๙  พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้เสด็จถึงบ้านดอน เมืองถลาง ว่า “...บ้านที่นี่เปนแต่ทำมาหากิน ชาวบ้านกินน้ำบ่อ ตรวจการอำเภอ ทำงานยังลักขมาก เปนต้นว่า เรือนกับบ้านก็ไม่เข้าใจ...” 

          คำว่าเรือนกับบ้านในสมัยนั้นต่างกันอย่างไร ตามภาษากลางกรุงเทพมหานคร คงต้องใช้พจนานุกรมไทยหาความหมาย  ดังนี้

        หนังสืออักขราภิธานศรับท์ DICTIONARY OF THE SIAMESE LANGUAGE BY D.B. BRADLEY  BANGKOK 1873 ฉบับถ่ายพิมพ์ใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

        “เรือน, ที่อยู่,  คือที่คนปลูกขึ้นด้วยไม้สำรับอาไศรยอยู่ ถึงก่อเปนตึกอยู่ก็ว่าเรือน”  หน้า ๕๙๕

       “บ้าน, คือที่ตำบล, ใดๆที่เขาตั้งเรือนฤาโรงนั้น, อยู่แต่เรือนหนึ่งสองเรือนขึ้นไป เรียกว่าบ้าน”  หน้า ๓๖๙

      จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

        “เรือน  น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุมสำหรับเป็นที่อยู่, ...” หน้า๙๗๕

         “บ้าน  น.  ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน หมู่บ้าน ...” หน้า ๖๒๓

        ดังนั้นคำว่า  “เรือน” สมัยก่อนหมายถึงสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยไม่ว่าเป็นเรือนไม้หรือเรือนตึก ส่วนคำว่า “บ้าน” หมายถึง เรือนตั้งแต่สองหลังขึ้นไปรวมเป็นบ้านหรือหมู่บ้าน เช่น บ้านดอน บ้านพรุจำปา

        ปัจจุบัน คำว่า เรือน หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นมีใต้ถุนกั้นฝามีหลังคาคลุม ส่วนคำว่า บ้าน หมายถึง บ้านทั่วๆไป มักใช้กับคำว่าเรือน เป็น บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือบ้านแทนคำว่าเรือน ในบทความนี้จึงใช้ทั้งคำว่าบ้านและเรือน   

        อิทธิพลที่มีต่อการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบที่มีการผสมผสานกับสถาปัตยกรรมต่างถิ่นมีดังนี้

 

เรือนใต้ถุนสูง เป็นเรือนแบบดั้งเดิมของชาวเกาะถลาง ส่วนใต้ถุนสูงมีสองลักษณะ คือ ใต้ถุนสามารถเดินเข้าไปได้ กับใต้ถุนแบบต้องก้มหัวเข้าไปคือสูงประมาณหนึ่งเมตร การสร้างเรือนแบบใต้ถุนสูงสามารถป้องกันสัตว์ต่างๆ คือ งู ตะขาบ ปลวก เป็นต้น ตัวบ้านมีหน้าจั่วบ้านหันไปทางทิศตะวันออก มีสิบสองเสาหรือเก้าเสา ด้านขวามือเป็นพื้นที่ยกระดับ ระหว่างเสากลาง ตลอดแนว เป็นสามห้อง ห้องแรกเรียกว่า บนโรง ไม่ได้กั้น อาจมีช่องหน้าต่างด้านหน้า หรือด้านข้างเพียงหนึ่งช่อง ส่วนห้องที่สอง กั้นเป็นห้องมีประตูเข้า อยู่ปลายสุดของห้อง ส่วนห้องที่สามเป็นที่เก็บของ เรือนบางหลังอาจต่อห้องครัวออกไปข้างหลัง มีประตูเข้าไป แต่ความยาวจะสั้นกว่าสามห้องแรก พื้นที่ด้านหน้าของทั้งสามห้อง เป็นที่โล่ง ที่มีหลังคาพาดต่ำลงมา ระหว่างชายหลังคากับผนังห้อง สร้างผลาหรือเพิงเก็บของยาวตลอดแนว

บ้านเหล่านี้ เสาบ้านใช้ไม้กลมขุดหลุมฝัง เครื่องเรือนทั้งหมดเป็นไม้กลมไม้ระแนงไม้ไผ่ที่เรียกว่า เรือนเครื่องผูก ผูกด้วยหวายไม่ได้ใช้ตะปู บ้านใดมีเงินพอก็ใช้เสาเหลี่ยมถาก บางบ้านใช้ก้อนหินรองเสาทุกต้นไม่ได้ฝังลงดิน ซึ่งน่าจะเป็นคติแบบจีนที่ใช้กันทั่วไปตามบ้านและตามวัดในประเทศจีน พื้นบ้านทั้งสามห้องปูด้วยไม้กระดาน แต่ไม่ได้เข้าลิ้น บางบ้านอาจปูด้วยไม้ระแนงเช่นห้องที่สาม พื้นด้านหน้าสามห้องตลอดแนวปูด้วยไม้ระแนงไม่ได้ถี่ชิดนัก พวกขยะจึงหล่นลงไปได้สะดวก ส่วนห้องครัวมักปูด้วยฟากไม้ไผ่ เป็นเรือนที่เรียกว่า เรือนเครื่องสับ

 

   ส่วนฝาบ้านดั้งเดิมบางบ้านกั้นด้วยตับจาก บางบ้านกั้นด้วยไม้ไผ่สานลายสอง ยกเว้นบางบ้านที่กั้นด้วยไม้กระดาน หลังคามุงจาก ส่วนหน้าจั่วเป็นตับจากหรือไม้ไผ่สานลายสอง ต่อมาเปลี่ยนจากหลังคามุงจากเป็นมุงด้วยสังกะสี คำว่าตับจาก โดยทั่วไปใช้ใบจากต้นจากมาเย็บมีไม้ไผ่เรียกไม้ตับ บางแห่งใช้ใบมะพร้าว บางบ้านใช้จากจำคือใช้ทางหวายชนิดหนึ่งขนาดประมาณเมตรเศษมาพับใบไปทางเดียวกัน แล้วเอามาทับซ้อนร้อยด้วยเชือกหวาย แบบเดียวกับการทำฟากไม้ไผ่ สามารถม้วนได้ เวลามุงจึงคลี่ลงจากข้างบนหลังคา เป็นหลังคาจากที่ทนทานใช้ได้นาน ส่วนใหญ่มักเอาไปมุงยุ้งข้าว

    ตรงประตูทางเข้าด้านหน้าบ้านทำเป็นชานบ้านเรียกนอกชาน ตั้งเสาสี่เสาปูพื้นด้วยไม้ระแนง หรือปีกไม้ หรือไม้กระดาน หรือใช้ไม้กลม ไม่ได้มุงหลังคา แล้วเอาบันไดพาด ตัวบันไดทำด้วยไม้กลมไม้พาดก็ใช้ไม้กลม บางบ้านใช้ไม้กระดาน บางบ้านมีที่ล้างเท้าข้างบันใด หากไม่มีก่อนขึ้นบ้านทั้งเจ้าบ้านและแขกที่มาเยือน ต้องเดินไปล้างเท้าที่บ่อน้ำข้างบ้านก่อน

 

เจ้าของสวน สร้างเป็นบ้านพัก

ใครนอนห้องไหนกันบ้าง บนโรงคือห้องแรก บิดาเจ้าของบ้านหรือปู่ย่านอน หรือแขกญาติที่มาเยี่ยมนอน ส่วนห้องที่สองที่กั้นเป็นห้องลูกสาวหรือ ภรรยาเจ้าของบ้านนอน พื้นที่นอนปูด้วยเสื่อสานใบเตยซ้อนกันสองสามผืน ไม่ได้ใช้เตียงหรือฟูก มีหมอนยัดนุ่นหรือลูกมะพร้าวลีบเอามาตัดทำเป็นหมอน

        ห้องครัว ด้านซ้ายมือทำเตาด้วยการเอาไม้กระดานตอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมเอากระดานปูเอาดินใส่ตีให้แน่นหรือใช้ดินเหนียว สำหรับวางก้อนหินสามเส้าทำเตา ส่วนใหญ่ทำไว้สองเตา มีโอ่งน้ำ ไม้ฟืน เหนือเตาไฟหลังคาแขวนของแห้ง หรือทำเป็นผลา บางบ้านเอาไม้ไผ่หรือหรือต้นหมากขุดเป็นรางน้ำหรือสังกะสี ต่อเป็นท่อน้ำทิ้งจากใต้ถุนครัวออกไปนอกบ้าน มิเช่นนั้นใต้ถุนบ้านจะแฉะมีกลิ่นเน่าของเศษอาหาร ตรงประตูห้องครัวบางบ้านพาดบันไดไว้ แต่บางบ้านไม่มีบันได ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นห้องครัวเป็นเรือนกว้าน มีประตูหน้าต่าง มีบันไดขึ้นไปเรือนใหญ่       ถ้าหากบ้านใดมีการทำนาข้าว มักสร้างโรงเรือนยุ้งฉางสำหรับเก็บรวงข้าวที่ยังไม่ได้ทำเป็นข้าวเปลือก ยุ้งฉางมักสร้างไว้ด้านขวามือของหน้าบ้าน ห่างจากตัวบ้านประมาณสิบเมตร เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงเช่นเดียวกัน

 

บ้านหลังนี้อยู่บ้านเกาะแก้วแสดงฝาไม้ไผ่ขัดลายสอง

บ่อน้ำสำหรับอาบกิน มักขุดไว้ด้านหน้าหรือด้านข้างซ้ายมือของบ้าน แล้วปลูกต้นเล็บครุฑไว้โดยรอบ ป้องกันการประเจิดประเจ้อ

ส่วนห้องส้วมมักสร้างไว้ริมรั้วบ้านที่ห่างไกลจากบ้าน ถัดจากห้องครัวออกไป ใกล้บริเวณเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่เป็ด จึงเป็นส่วนที่หมูชอบนัก

บ้านแต่ละหลังจึงสร้างในพื้นที่ของตนเอง หรือของบิดามารดา ที่มีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้นห่างจากตัวบ้านออกไปโดยรอบประมาณสิบเมตร จึงปลูกผลไม้พวกเงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน จำปาดะ มะม่วง มะพร้าว หมาก อย่างละหลายต้น การปลูกพืชผักสวนครัวมีปลูกกันทุกบ้าน โดยเฉพาะสับปะรดภูเก็ต เดิมมีปลูกกันแทบทุกครัวเรือนจากหัวเกาะยันท้ายเกาะ ชาวภูเก็ตเรียกสับปะรดว่า "ยานัด" สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวภูเก็ตใช้ไยสับปะรดแทนด้ายเย็บผ้า สับปะรดตาใหญ่ชุ่มน้ำ ที่ปลูกกันแถวภาคกลาง เดิมที่ภูเก็ตมีปลูกกันไม่มาก เรียกว่า "ยานัดลิลลี่"

     โดยทั่วไปแล้วแต่ละบ้าน เลี้ยงไก่ บางบ้านเลี้ยงเป็ดด้วย คอกไก่มักปลูกไว้ด้านซ้ายของบ้าน เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร บางบ้านเลี้ยงหมู โดยสร้างคอกหมูไว้ถัดจากห้องครัวออกไป ทางหลังบ้านไม่ต่ำกว่าสิบเมตร หรือถ้ามีควายไว้ไถนา ก็ผูกล่ามไว้บริเวณหลังบ้านเช่นเดียวกัน

    บริเวณบ้านไม่ได้กั้นรั้ว แต่กั้นรั้วเฉพาะที่ดินที่ติดเขตแดนกับเพื่อนบ้านเท่านั้น รั้วมักเป็นต้นไม้ เช่น ต้นไผ่  ต้นหมาก ส่วนถนนเข้าบ้านในแต่ละหมู่บ้าน เดิมมีทางเกวียนเป็นทางโบราณเดินได้เฉพาะเกวียนเท่านั้น เพราะเป็นหลุมบ่อโคลนตม ส่วนชาวบ้านมักเดินผ่านที่ของเพื่อนบ้าน เหมือนนักเรียนเดินลัดสนาม เป็นเฉพาะทางเดินที่ต่างอะลุ่มอล่วยซึ่งกันและกัน เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนไป จากทางเกวียนก็กลายเป็นถนนรถยนต์ 

:   สมบูรณ์  แก่นตะเคียน   ๓ เมษายน ๒๕๕๗

:   s.kantakian@gmail.com

****

 

ภาพประกอบ

 

*****

 

 

เรือนผูกภาคกลาง

เรือนไทยภาคกลาง

*****

อาคารในจีนคล้ายก้อนหินรองเสา

 

rev.  18082014, 21082014

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง