Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

ซินจู้ : ป้ายวิญญาณ

 

        ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนจีนที่ได้สืบทอดกันมาหลายพันปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซัง ราชวงศ์โจว และได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตลอดเวลา เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ตั้งแต่การแต่งงาน การตั้งครรภ์ การกำเนิด  และการตาย เป็นต้น ตามลัทธิขงจื่อ เรื่องซินจู้หรือป้ายวิญญาณ เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ได้ยึดถือกันมาจนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์จีนตามสมัยเหตุการณ์ ประเพณีเหล่านี้ได้ผสมกลมกลืนกับลัทธิเต๋าและพุทธศาสนามหายาน 

        คำว่า ป้ายวิญญาณ มาจากคำว่า เสินจู่ไผ  神主牌 หรือ ป้ายซินจู้ หรือ ซินจู้ ซึ่งหมายถึง ป้ายสัญลักษณ์ที่วิญญาณผู้ตายเข้าสิงสถิตอยู่และถือว่าวิญญาณนั้นเป็นเทพเจ้า ข้อความในป้ายจะระบุชื่อแซ่ผู้ตาย วันเดือนปีเกิด ปีตาย ชื่อบุตรชายคนโต จำนวนบุตรทั้งหมด ชื่อแซ่ภรรยา เป็นต้น เมื่อป้ายวิญญาณถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สื่อสารกับคนในครอบครัวได้ เมื่อคนในครอบครัวมีปัญหา จึงมักจะไปปรึกษาเล่าความให้ฟัง รวมทั้งการขอให้ช่วยเหลือให้ได้รับในสิ่งที่พึงประสงค์    

 

        ป้ายวิญญาณได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซัง สืบเนื่องต่อมาถึงราชวงศ์โจว ที่มีการกล่าวถึง ดังคัมภีร์ลัทธิขงจื่อในบทที่ว่าด้วยพิธีกรรมได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดไว้มาก ดังเช่น 

     ขงจื่อกล่าวว่า เมื่อบุตรถือกำเนิดภายหลังจากที่ศพบิดาทำการฝังเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำบุตรไปที่ศาลเจ้าบรรพชนต่อหน้าป้ายวิญญาณบิดา เพื่อทำการประกาศให้วิญญาณได้ทราบ หลังจากนั้นอีกสามเดือนจึงประกอบพิธีตั้งชื่อบุตรที่ศาลเจ้าบรรพชนที่เดิม

       การทำป้ายวิญญาณนั้น ถ้าผู้ตายมีบุตรแท้กับบุตรบุญธรรม ต่างก็อยู่คนละตำบลและต่างก็สร้างป้ายวิญญาณขึ้นมาอย่างนี้ ท่านขงจื่อเปรียบเทียบให้ฟังว่า โลกนี้มีดวงอาทิตย์สองดวงหรือ คือ ต้องมีป้ายวิญญาณเพียงป้ายเดียวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ท่านขงจื่อกล่าวว่า ประมุขฉีหวนกงแห่งแคว้นฉี เมื่อออกรบได้นำป้ายวิญญาณของบรรพบุรุษของตนออกไปจากศาลเจ้าบรรพชนด้วย เมื่อขุนนางหรือพระโอรสจำเป็นต้องประกอบพิธีที่ศาลเจ้าบรรพชน แต่ไม่มีป้ายวิญญาณองค์นั้น ผู้ประกอบพิธีก็จะหันหน้าไปทางทิศที่ป้ายวิญญาณสถิตอยู่ ซึ่งการปฏิบัติด้วยการนำป้ายวิญญาณออกไปสู่สนามรบ ได้มีการทำกันมาแต่โบราณแล้ว

 

        ขงจื่อได้กล่าวต่อไปว่า เขาได้รับฟังมาจากเล่าตั้นว่า ตามจารีตประเพณีแล้ว กษัตริย์จะสร้างศาลบรรพชนได้ ๗ แห่งได้แก่ ศาลเจ้าพระบิดา๑ ศาลเจ้าอากงหรือปู่๑ ศาลเจ้าอาจ้อหรือทวด๑ ศาลเจ้าจอจ้อหรือชวด๑ ศาลเจ้าบิดาของชวดหรือจอจ้อ๑ ศาลเจ้าบิดาของชวดของชวด๑ และศาลเจ้าปฐมวงศ์หรือเล่าจ้อ๑  เจ้าครองนครประเทศราชจะสร้างได้ ๕ แห่ง เช่นเดียวกับกษัตริย์แต่สร้างได้เพียงขั้นห้า  ส่วนขุนนางชั้นสูงสร้างได้ ๔ แห่ง คือจากบิดาไปถึงชวดตามแซ่สกุลของตน พวกขุนนางชั้นล่างและราษฎรสามัญห้ามสร้างศาลเจ้าบรรพชน เมื่อจะประกอบพิธีสำคัญ ก็จะอัญเชิญป้ายวิญญาณแต่ละแห่งไปประกอบพิธีที่ศาลเจ้าบรรพชนที่เป็นศาลเจ้าแห่งแรก ที่มีป้ายวิญญาณของปฐมวงศ์หรือเล่าจ้อของตระกูลนั้น ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว จึงอัญเชิญกลับไปที่ศาลเจ้าเดิม

 

        เมื่อท่านอ๋องสิ้นพระชนม์ ฝังเรียบร้อยแล้ว มีการนำพระป้ายวิญญาณประดิษฐานในศาลเจ้าบรรพชน จะได้รับการเรียกขานเป็น “เทพเจ้า”ทันที

        เมื่อฝังศพบิดาเรียบร้อยแล้ว บุตรจะประกอบพิธีนำป้ายวิญญาณขึ้นหิ้ง โดยวางต่อจากป้ายวิญญาณของท่านปู่ของตน

        เมื่อบุตรกำลังไว้ทุกข์ให้บิดาอยู่นั้น และป้ายวิญญาณยังไม่ได้นำขึ้นหิ้งบูชาหรือนำไปไว้ที่ศาลเจ้าบรรพชน บุตรจะต้องไม่ไปยังสถานที่สนุกสนานบันเทิง หรือที่พักผ่อนที่สนุกสนาน

        โดยหน้าที่แล้ว บุตรชายคนโตหรือพี่ใหญ่ที่เป็นบุตรจากภรรยาหลวง จะมีหน้าที่ในการดูแลเก็บรักษาป้ายวิญญาณของบรรพชนไว้ในบ้านใหญ่หรือบ้านของตน เมื่อถึงเวลาประกอบพิธีกรรม น้องๆหรือลุงป้าอาก็จะเดินทางไปประกอบพิธีร่วมกันที่บ้านใหญ่

 

        ตามคติจีน มีป้ายต่างๆที่สำคัญ คือ ป้ายหน้าหลุมศพ เดิมคงทำด้วยไม้ ต่อมาแกะสลักบนหิน ซึ่งบอกชื่อแซ่และข้อมูลสังเขปของผู้ตาย ป้ายภายในบ้านที่อยู่อาศัย ด้านหน้าบ้านซ้ายมือมีป้ายติดผนังเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งฟ้าหรือเทียนกงหรือทีกง ห้องครัวมีป้ายเทพเจ้าแห่งเตาไฟหรือจ้าวหุ่นกง บริเวณห้องรับแขก มีป้ายชื่อเทพเจ้าที่เจ้าบ้านเคารพพร้อมกับภาพวาด หรือรูปแกะสลักเทพเจ้าองค์นั้น ส่วนซินจู้เป็นป้ายวิญญาณบรรพชนของเจ้าของบ้าน ป้ายเตี้ยจู่เอี้ยเจ้าที่   เป็นต้น ป้ายวิญญาณเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงเทวรูปแกะสลักตามศาลเจ้าจีน

        ป้ายวิญญาณส่วนใหญ่มีสองป้าย คือ ป้ายกระดาษกับป้ายไม้ สำหรับป้ายกระดาษจะถูกฝังไปพร้อมกับผู้ตาย หรือเผาในวันนั้น  ส่วนป้ายไม้เมื่อทำพิธีฝังเสร็จแล้ว ก็จะนำกลับมาที่บ้านเพื่อวางไว้บนหิ้ง บ้านส่วนใหญ่จะมีสามหิ้ง สำหรับวางป้ายวิญญาณ หิ้งตรงกลางเป็นหิ้งสำหรับวางป้ายวิญญาณบรรพชนรุ่นแรกหรือคนแรก หรือเล่าจ้อ ส่วนอีกสองหิ้งนั้น หิ้งหนึ่งเป็นพี่น้องญาติผู้สืบตระกูลแซ่เดียวกัน อีกหิ้งเป็นป้ายวิญญาณของภรรยา เมื่อมีการวาดรูป ถ่ายรูปเกิดขึ้น จึงมีการนำรูปถ่ายของผู้ตายแทนป้ายวิญญาณ บางครั้งเขียนแค่วันเดือนปีเกิดปีตายเท่านั้น แต่บางครอบครัวใช้ทั้งป้ายวิญญาณและรูปถ่าย การวางรูปถ่ายให้วางบนพื้นหิ้ง ไม่ได้แขวนฝาผนัง

        ป้ายวิญญาณบรรพบุรุษจะนำไปไว้ยังสถานที่กำหนด ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีที่กำหนด ดังนี้

        ก. วางไว้ที่ศาลเจ้าบรรพชนประจำตระกูลแซ่ของตน ในตำบลที่อยู่ ซึ่งศาลเจ้าบรรพชนดังกล่าว อาจมีแซ่เดียว หรือ อาจมีตระกูลแซ่อื่นๆรวมอยู่ด้วย อาจมี สอง – สาม สี่ แซ่ แล้วแต่หัวหน้าผู้ต้นคิดที่จะสร้างศาลบรรพชน ซึ่งเป็นคติของชาวจีนภาคใต้ แถบมณฑลฮกเกี้ยน มณฑลกวางตุ้ง เกาะไต้หวัน เป็นต้น ส่วนภาคเหนือของจีนมีน้อยมากคือไม่นิยมทำกัน 

 

        ถังหาว    หมายถึง ศาลเจ้าบรรพชน ที่คนในตระกูลแซ่เดียวกันใช้พบปะ ประกอบพิธีกรรมร่วมกัน มักอยู่ในหมู่บ้านหรือตำบลเดียวกัน ที่มีคนแซ่เดียวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติกัน ทั้งใกล้ชิดและสายห่าง แต่ก็ใช้แซ่เดียวกัน ดังนั้นศาลเจ้าบรรพชนแต่ละแห่ง จึงใช้ประกอบพิธีกรรมในพวกแซ่เดียวกัน ไม่ได้เกี่ยวกับคนต่างแซ่หรือต่างหมู่บ้าน ดังนั้นไม่ว่าบุตรหลานจะไปอาศัยอยู่ท้องถิ่นใดในประเทศจีนหรือต่างประเทศ พวกเขาก็ยังระลึกถึงตำบลบ้านเกิดของตน พร้อมทั้งบอกกล่าวให้ลูกหลานได้รู้ว่า ตระกูลแซ่ของตนนั้นอยู่ตำบลใด จังหวัดใด มณฑลใด เมื่อถึงเทศกาลสำคัญ ต่างกลับไปเซ่นไหว้บรรพชนและเยี่ยมญาติไปในตัว

        ข. การนำป้ายวิญญาณขึ้นหิ้งภายในบ้าน  ส่วนใหญ่ถ้าไม่มีหิ้งพระหรือเทพเจ้า จะสร้างหิ้งไว้ที่ผนังห้องโถง หากมีหิ้งพระ จะวางไว้ด้านซ้ายของหิ้งพระ การวางป้ายวิญญาณตามประเพณีที่กำหนด คือ ถ้าจัดหิ้งเป็นระดับ เช่น สี่ระดับ ป้ายบรรพชนเล่าจัอวางอยู่สูงสุด ชั้นสองเป็น จ้อหรือทวด ชั้นสามเป็น อากงหรือปู่ ชั้นสี่ เป็นบิดา เป็นต้น แต่ถ้าเป็นหิ้งชั้นเดียวที่จะต้องวางป้ายหลายอัน ให้ใช้ไม้ทำฐานรองสำหรับป้ายที่เป็นบรรพชนสูงสุดหรือตัวเล่าจ้อ แล้วเรียงลดหลั่นกันไปทั้งซ้ายและขวา ชาวจีนฮั่นถือว่า บุคคลสำคัญรองจากคนแรกจะอยู่ด้านซ้ายมือของประธาน ซึ่งต่างจากชาวมองโกลหรือแมนจูที่ถือเอาด้านขวาเป็นรองอันดับหนึ่ง

 

        แนวทางการสร้างหิ้ง เพื่อประดิษฐานป้ายวิญญาณหรือรูปวาดรูปถ่ายของผู้ตายนั้น ได้มีผู้กำหนดไว้ว่า  ไม่ควรสร้างใต้บันได หน้าห้องน้ำ หันหน้าไปทางห้องครัว ใต้ห้องส้วมชั้นบน ไม่ควรสร้างผนังเดียวกับห้องครัว ห้องน้ำ หรือวางบนท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้ง ไม่ควรอยู่ใกล้ประตูทางเข้าออก หรือใกล้ช่องหน้าต่าง ดังนั้น สถานที่เหมาะที่จะสร้างหิ้งก็คือ ห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก และควรเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่ควรเอาเครื่องเสียง เครื่องเล่นดนตรี โทรทัศน์หรือเครื่องปรับอากาศ ไปวางใกล้หิ้ง ไม่ควรเอาตู้ปลาไปวางไว้ใต้หิ้ง เพราะหิ้งถือว่าเป็นธาตุไฟ ตู้ปลาเป็นธาตุน้ำ หิ้งจะสูงแค่ไหนนั้น ให้ดูเจ้าบ้านว่า เมื่อวางหิ้งแล้วควรเสมอปากหรือเทียบศีรษะ ไม่ควรให้ต่ำกว่านี้  สีที่ใช้เป็นสีแดงเพราะเป็นสีที่เป็นมงคลหรือลายไม้เป็นสีแดง ไม่ควรใช้สีดำ การติดตั้งหิ้งควรเลือกวันเวลาที่เป็นมงคลด้วยเช่นเดียวกัน

        ค. การวางไว้ที่ศาลเจ้าบรรพชนประจำตำบลรวมทุกแซ่ตระกูล เช่นศาลเจ้าจีนรวมป้ายวิญญาณที่จังหวัดภูเก็ตมีอยู่แห่งเดียว ชื่อ ศาลเจ้าต่องย่องสู ตั้งอยู่ที่ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ ด้วยเหตุกรณีอั้งยี่สองก๊ก คือ ราวปลายรัชกาลที่๔ ต้นรัชกาลที่๕ มีคนจีนกว่าสี่หมื่นคนเข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ดีบุก ต่างแยกย้ายกันไปอยู่ตามเหมืองต่างๆของนายทุน เมื่อช่วงว่างต่างก็เข้าไปเที่ยวในตลาดตัวเมือง ซึ่งมีโรงงิ้ว โรงฝิ่น โรงน้ำชา กาแฟ และซ่องโสเภณี เกิดทะเลาะวิวาทกันบ่อยรวมทั้งการแย่งสายน้ำทำเหมืองแร่ด้วย  ต่างยกพวกเข้าต่อสู้ ทางการปราบไม่ไหว ประมาณพ.ศ. ๒๔๑๙ พวกอั้งยี่ทั้งสองฝ่าย คือระหว่างอั้งยี่หยี่หิ้นเกียนเต๊กอำเภอกะทู้กับอั้งยี่หยี่หิ้นปุนเถ่ากงอำเภอเมือง ทำสัญญาสงบศึก ฝ่ายอั้งยี่อำเภอเมืองจึงเชิญอั้งยี่ฝ่ายอำเภอกะทู้ให้ไปกินเลี้ยงที่ในอำเภอเมือง ในวันที่ ๑๗ ค่ำเดือน๖ ขณะกินเลี้ยงเมามายอยู่นั้น อั้งยี่อำเภอเมืองจุดไฟเผาคลอกและต่างหยิบอาวุธมีดดาบออกมาฟาดฟันอั้งยี่อำเภอกะทู้ล้มตายไปกว่าสี่ร้อยคน ต่อมาได้สร้างศาลเจ้าขึ้น เพื่อประดิษฐานป้ายวิญญาณรวม ๔๑๖ ชื่อ

        ง. การวางไว้ที่วัดจีน ศาลเจ้าจีน สมาคม ชมรม เป็นต้น  ศาลเจ้าจีนในจังหวัดภูเก็ตหลายแห่งได้สร้างศาลเจ้าเล็กๆขึ้นเพื่อประดิษฐานป้ายวิญญาณหรือรูปของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาลเจ้า เช่น บริจาคที่ดินให้ศาลเจ้า สร้างศาลเจ้า เคยเป็นกรรมการใหญ่ ม้าทรง ฯลฯ เรียกศาลเจ้านี้ว่า “เล่าฉ่ายอิ้ว”    

        ภายหลังจากการฝังหรือเผาศพเรียบร้อยแล้ว บุตรชายคนโตหรือพี่ใหญ่หรือหลานชาย จะอุ้มป้ายวิญญาณหรือรูปวาดรูปถ่ายให้หันหน้าออก เอากลับบ้าน ก่อนเข้าบ้าน เมื่อถึงธรณีประตูใหญ่ ให้ผู้ถือป้ายวิญญาณหันหลังแล้วถอยหลังสามเก้าเข้าบ้าน วางป้ายวิญญาณไว้บนโต๊ะ เพื่อทำพิธีเจิมป้ายด้วยพู่กันและสีแดง ด้วยการใช้พลังแห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เจ้าพิธีเริ่มใช้พู่กันหยดสีลงบนหัวป้าย ข้างล่าง ซ้ายและขวา ตรงกลาง พร้อมสวดมนตร์ว่า เมื่อหยดบนสวรรค์ ขอให้สวรรค์โปร่ง หยดลงพื้นดินขอให้พื้นดินศักดิ์สิทธิ์ หยดลงบนหูขอให้ฉลาด หยดลงบนดวงตาขอให้ดวงตาสดใส หยดลงบนตัวบุคคลขอให้เขาอายุยืน หยดลงบนป้ายวิญญาณ ขอให้วิญญาณโปร่ง เมื่อหยดลงบนคำว่า “อ๋อง” บนป้ายวิญญาณ ทำให้ป้ายนั้นมีวิญญาณมาสถิตเป็น “จู้” และขอให้วิญญาณอยู่อย่างสุขสบาย เมื่อบุตรหลานขอสิ่งใด ขอให้ได้สมประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการสอบการเรียน หน้าที่การงานหรือธุรกิจขอให้เจริญรุ่งเรือง หยดด้านหน้าป้ายเพื่อแสดงการเคารพต่อบรรพชน หยดด้านหลังป้าย ขอให้บุตรหลานเหลนเจริญรุ่งเรืองในอนาคต เมื่อหยดสีด้วยพู่กันบนป้ายวิญญาณเรียบร้อยแล้ว ให้หันพู่กันไปทางทิศตะวันออก พร้อมทั้งมอบหมึกให้ญาติผู้ตาย เพื่อสวดมนตร์ให้เหล่าบรรดาบุตรหลานได้เจริญก้าวหน้าทุกรุ่น ทุกคนในครอบครัวผู้ตายแสดงความขอบคุณเจ้าพิธี แล้วนำป้ายวิญญาณวางลงในกระบวยตักข้าวสาร เป็นเสร็จพิธี

                                                                                         

      หลังจากนั้น พิธีกรรมการเซ่นไหว้ผู้ตายจึงเริ่มขึ้น ด้วยการจัดโต๊ะบูชาในบ้าน บุตรหลานกางร่มสีดำให้ป้ายวิญญาณ พร้อมนำอาหารคาวหวานมาเซ่นไหว้ มี

ของไหว้ห้าอย่างหรือหง่อเซ้ง ใส่ภาชนะ ได้แก่ ไก่ต้มมีหัวและเครื่องใน๑ เป็ดต้มมีหัวและเครื่องใน๑ ปลามีหัวมีหาง๑ เนื้อหมูต้ม๑  ผักลวกต้ม๑ พร้อมข้าวสุก ขนมถ้วยฟู  สุรา กระดาษเงิน พร้อมธูปเทียน

        เมื่อเสร็จพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ทุกวันจะเซ่นไหว้ด้วยผลไม้ ขนมหวาน ไม่มีของคาว จนครบ ๔๙ วันตามคติพุทธศาสนามหายาน หรือกำหนดวันออกทุกข์ จึงย้ายป้ายวิญญาณขึ้นหิ้งบรรพชน ตามตำแหน่งที่กำหนด แต่บางคติจะนำป้ายหรือรูปถ่ายขึ้นหิ้งหลังจากไว้ทุกข์ครบสามปีแล้ว การเซ่นไหว้ ผลไม้ ขนมหวาน อาจบอกกล่าวเก็บขนมหวานออกก่อน ส่วนผลไม้จะวางไว้จนเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวเก็บออกมา

        การไหว้ประจำได้แก่ วันที่๑ค่ำ และวันที่๑๕ค่ำของเดือน หรือวันสำคัญอื่นๆเช่น คล้ายวันตาย วันสารท วันตรุษ วันสำคัญของครอบครัว เช่น แต่งงาน ฯลฯ

        ปัจจุบัน คนไทยเชื้อสายจีนบางกลุ่มไม่นิยมทำกัน เมื่อเสร็จจากการฝังหรือเผาศพแล้ว จะนำรูปไปแขวนไว้ข้างฝาตามเดิม ถ้าเผาจะเอากระดูกไปลอยทะเล ไม่ต้องเก็บกระดูกไปใส่บัวบรรจุกระดูกฝากไว้ตามวัด ไม่ต้องสร้างหิ้งบูชา ถึงหน้าเทศกาลไม่ต้องทำบุญวันสารท วันตรุษ เช็งเหม็ง ครบรอบวันตาย ฯลฯ ทั้งๆที่บิดาก็แซ่มารดาก็แซ่ การที่ผู้ใหญ่ไม่ได้ปลูกฝังเอาไว้ตั้งแต่ยังเด็ก พวกเขาจึงไม่ได้ซึมซับขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชน ที่สืบสานต่อเนื่องกันมาหลายพันปี ไม่ได้ภูมิใจความเป็นคนเชื้อสายจีน การหลงลืมเลอะเลือนรากเหง้าสักกะหลาดของตน ยากที่จะหาความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ธุรกิจการค้า ฯลฯ การเริ่มต้นปฏิบัติเสียตั้งแต่วันนี้ จึงยังไม่สาย

*****

สมบูรณ์ แก่นตะเคียน   ๒๗ เมษายน ๒๕๕๖

s.kantakian@gmail.com

 

**** 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง