หลวงชนาทรนิเทศ (เฉ่งห้อ ทองตัน)
หลวงชนาทรนิเทศ (ตันเฉ่งห้อ)
ตระกูล ทองตัน : ขุนชนานิเทศ และ หลวงชนาทรนิเทศ
บรรพชนผู้เป็นต้นตระกูล ทองตัน ตระกูลใหญ่อีกตระกูลหนึ่งของเมืองภูเก็ต คือ นายตันเซียวเซอะเดินทางจากบ้านเกิดที่ตำบลน่ำฉั่วมณฑลฮกเกี้ยน มาอยู่เมืองภูเก็ตตั้งแต่อายุได้ ๑๑ ปี ประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ประสบความสำเร็จจากการเปิดร้านขายของชำแถวถนนถลาง ชื่อร้าน ซุ่ยหิ้นจั่ง และการค้าส่งออกหอม กระเทียม พริกไทย ระหว่างภูเก็ต ตรัง และปีนัง เมื่อมีฐานะมั่งคั่งขึ้นได้ซื้อบ้านหลังแรก (อยู่ตรงตัวหัวมุมถนนดีบุก ถนนเทพกระษัตรีด้านหลังโรงแรมซิตี้ปัจจุบัน) จากนั้นก็เริ่มทำกิจการเหมืองแร่ที่เหมืองป้อช่างบริเวณฝั่งตรงข้ามโรงเรียนดาวรุ่งในปัจจุบัน และกิจการบ้านเช่าแถวบางเหนียว ถนนภูเก็ต แถวน้ำ แถวถนนรัษฎา และถนนถลาง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ หลัง
สร้างสถานบันเทิงสำหรับภูเก็ตสมัยนั้น คือโรงละคร ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ชื่อ เฉลิมตันติ) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงภาพยนตร์ไปแล้ว ลูกหลานในชั้นหลังได้เปลี่ยนเป็นสถานออกกำลังกายโดยใช้ชื่อว่า สยามสปอร์ต คลับ)
ตันเซี่ยวเซอะ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากรัชกาลที่ ๖ เป็น ขุนชนานิเทศ มีตำแหน่งทางราชการเป็นกำนันตำบลทุ่งคา เมืองภูเก็ต ได้สร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์แก่ชาวภูเก็ตหลายอย่าง โดยเฉพาะการบริจาคทรัพย์สิน
ตระกูล ทองตัน ขุนชนานิเทศ และหลวงชนาทรนิเทศ
เงินทองและที่ดินสร้างศาลเจ้า ได้แก่ ศาลเจ้า ฮกหงวนก้ง (อยู่ติดกับร้านหมี่ต้นโพ ใกล้วงเวียนหอนาฬิกา) ศาลเจ้า เจ่งอ๋อง (ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ) ศาลเจ้า เจ้าแม่กวนอิม (ใกล้วงเวียนถนนบางกอก)
ขุนชนานิเทศมีภรรยา ๒ คน ภรรยาคนแรกเป็นคนไทย ชื่อนางนุ้ย เป็นชาวจังหวัดตรัง มีบุตรด้วยกัน ๓ คน เป็นชายทั้งหมด คือ ตันเฉ่งห้อ หรือหลวงชนาทรนิเทศ ตันเฉ่งกาง และตันเฉ่งเกียดหรือขุนตันติวานิชกรรม ส่วนภรรยาคนที่ ๒ ไม่มีบุตรด้วยกันเลย นอกจากนี้ขุนชนานิเทศยังมีบุตรบุญธรรมอีกคนหนึ่งเป็นผู้หญิง
ขุนชนานิเทศถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙
หลวงชนาทรนิเทศหรือตันเฉ่งห้อเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้รับการศึกษาจากเมืองปีนังตามความนิยมของคนจีนภูเก็ตสมัยนั้น เริ่มประกอบอาชีพช่วยบิดาทำการค้าและเหมืองแร่ และกิจการเรือสินค้าเดินสมุทรระหว่างประเทศถึง ๓ ลำด้วยกัน คือ เรือมหาชัย เรือซีแอน และเรือยูนิค ขณะที่กิจการเดินเรือรับส่งสินค้ากำลังรุ่งเรือง ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เรือถูกรบกวนจากทหารญี่ปุ่นทำให้ดำเนินกิจการไม่ได้ จึงถอดเครื่องจักรในเรือมาใช้ในกิจการเหมืองแร่แบบเหมืองสูบฉีด
ตันเฉ่งห้อได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงชนาทรนิเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๔ ตำแหน่งกรมการเมืองพิเศษ ศักดินา ๖๐๐ ในฐานะที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางด้านการศึกษาและช่วยเหลืองานราชการมาโดยตลอด เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนดาวรุ่ง เป็นเจ้าของ ผู้จัดการ และครูผู้สอนในโรงเรียนสอนภาษาจีน คือ โรงเรียนส่องเด็ก ตลอดจนบริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนวัดเทพนิมิตรและบริจาคทรัพย์ซื้อปืนใช้ในกิจการตำรวจมะเร็งในช่องปากเครื่องแรกของไทย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงชนาทรนิเทศเป็นเสรีไทยคนหนึ่งที่มีบทบาทในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
ชีวิตส่วนตัวของหลวงชนาทรนิเทศมีภรรยา ๒ คน ภรรยาคนแรกชื่อไจ่หวั่นเป็นจีนชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ มีบุตรด้วยกันเป็นชาย ๗ คน หญิง ๖ คน ภรรยาคนที่ ๒ เป็นคนไทยชื่อละมุน มีบุตรชาย ๔ คน หญิง ๑ คน คือ นายไทย ทองตัน นายสำราญ ทองตัน นายทวี ทองตัน นายกิตติ ทองตัน และนางสาวรำลึก ทองตัน
หลวงชนาทรนิเทศถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗
คัดลอกจาก :
ตระกูลทองตัน : ขุนชนานิเทศ และ หลวงชนาทรนิเทศ ภูเก็จ๓๓ หน้า ๑๐๐-๑๐๒ (หนังสือที่ระลึกการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ จังหวัดภูเก็ต ๒๕ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๓) กองประชาสัมพันธ์การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ จังหวัดภูเก็ต
*****
|