Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

ความบางตอนในนิราศถลาง

 


 

 

 

 

ความบางตอนในนิราศถลาง

 

 

 

        นายมี หรือ หมื่นพรหมสมพัตสร หรือ หลวงศุภมาตรา ( มี ) ได้เขียนนิราศเมืองถลางไว้เมื่อประมาณพ.ศ. ๒๓๗๖ – ๒๓๗๗ นิราศที่เขาได้แต่งคือ นิราศถลาง นิราศพระแท่นดงรัง นิราศเดือน และนิราศสุพรรณ

       นิราศถลางได้กล่าวถึงการเดินทางตั้งแต่กรุงเทพฯถึงเมืองถลาง ว่าเขาได้ลงเรือสำเภาที่ท่าน้ำวัดโพธิ์ เรือออกจากปากน้ำสมุทรปราการ แล้วใช้ใบแล่นเลียบฝั่งผ่านบ้านแหลม – โตนดหลวง เพชรบุรี –สามร้อยยอด – บางสะพาน  ประจวบคีรีขันธ์ – ปากน้ำชุมพร – หลังสวน – ถึงไชยา อ่าวบ้านดอน – แล้วเข้าแม่น้ำตาปี เปลี่ยนเป็นเรือพาย – ท่าข้าม – พุมเรียง – พุนพิน – ถึงบ้านพระแสง จนถึงปากพนม แล้วเดินบก โดยเช่าช้างเป็นพาหนะ ผ่านเขาพนม จนถึงเขานางหงส์  ดังกลอนตอนหนึ่งว่า

 

 

 

“...เข้าเขตแคว้นแดนถลาง               

 

 

 

 ก็ลัดล่วงลำเนาเขานางหงส์

 

 

 

ถึงปลายน้ำเมืองถลางหนทางลง        

 

 

 

 ก็เดินตรงรีบลัดตัดตำบลฯ

 

 

 

        ถึงถลางกลางวันไม่ทันค่ำ       

 

 

 

 ชวนกันทำที่ประทับออกสับสน

 

 

 

อยู่วัดท้ายน้ำพังริมฝั่งชล                 

 

 

 

ก็ต่างคนต่างสบายเป็นหลายเดือน

 

 

 

พี่เที่ยวชมนัคเรศเขตสถาน            

 

 

 

จะเปรียบปานเมืองใหญ่นั้นไม่เหมือน

 

 

 

เรือนพระยาเป็นสง่ากว่าพลเรือน

 

 

 

มีค่ายเขื่อนขอบคูประตูชัย

 

 

 

ข้างหลังหน้าธานีคีรีรอบ

 

 

 

เป็นขอบเขตโขดเขินเนินไศล

 

 

 

ดูยอดเยี่ยมเทียมเมฆวิเวกใจ

 

 

 

แม่น้ำไหลลึกกว้างอยู่กลางเมือง

 

 

 

มีสำเภาเลากามาค้าขาย

 

 

 

ทอดอยู่ท้ายเวียงชัยเสาใบเฉือง...”

 

       

 

       ถ้าหากพิจารณาการเดินทางของนายมีว่า เมื่อลงจากเขานางหงส์แล้วเดินไปไม่นานก็ถึงเมืองถลาง มีบ้านหลังใหญ่ของพระยาถลาง ที่ล้อมรอบด้วยกำแพง ด้านหลังเมืองถลางเป็นทิวเขาสูง  มีแม่น้ำไหลผ่ากลางเมือง มีเรือสำเภาต่างจอดอยู่ท้ายเมือง...

        เมืองถลางที่นายมีพูดถึงน่าจะเป็น เมืองถลางที่พังงา คือ อำเภอเมืองพังงาปัจจุบัน แสดงว่าช่วงนั้น พระยาถลางเจิมยังไม่ได้ย้ายเมืองกลับมาเกาะถลาง นายมีอยู่เมืองถลางสี่ปี ดังกลอนว่า “...แต่ปีกุนเดือนยี่จนปีขาล...”

        วันหนึ่งเพื่อนชวนไปไหว้พระพุทธบาท โดยเดินทางตัดป่าจากเมืองถลางพังงาถึงชายทะเลใช้เวลาเดินทางสองวัน แล้วข้ามทะเลเดินทางบกด้วยทางเกวียนต่อ มีต้นตาลโตนดเป็นจำนวนมาก จนถึงบ้านคน

 

 

 

“...เป็นเมืองเก่าร้างเรื้อเหลือพม่า

 

 

 

ดูโรยราร้างไปเป็นไพรสณฑ์

 

 

 

มีแต่บ้านห่างๆทางตำบล

 

 

 

ประชาชนหญิงชายสบายบาน...”

 

       จากกลอนนี้แสดงว่านายมีกับเพื่อนออกเดินทางจากเมืองถลางพังงา ผ่านเมืองตะกั่วทุ่ง แล้วถึงปากพระ ข้ามช่องแคบท่านุ่น ไปยังเกาะถลาง เดินทางเกวียนจนถึงเมืองถลางที่ถูกพม่าเผาร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ มีคนอยู่จำนวนน้อยที่ทำมาหากินด้วยการเพาะปลูกข้าวพืชผัก

 

 

        จากเมืองถลางร้าง เดินทางต่อไปยังชายหาดเพื่อไหว้พระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ที่ชายหาด แล้วเดินทางกลับเมืองถลางพังงา...  

 

 

 

 

*******

 

 

 

 

นายมี ถือกำเนิดเมื่อพ.ศ. ๒๓๕๘ ที่จังหวัดชัยนาท แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บวชเณรที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เมื่ออายุประมาณ ๑๐ – ๑๒ ปี จนได้เป็นศิษย์ของสุนทรภู่ “...ฉันเป็นศิษย์สุนทรยังอ่อนศักดิ์...” จนอายุประมาณ ๑๘ – ๑๙ ปี ได้ติดตามผู้ใหญ่ไปเมืองถลาง ในขณะที่ยังบวชเณร “...อยากใคร่บวชถือศีลพระชินสีห์   แต่อายุยังไม่ครบประจบปี...”   หลังจากบวชพระสึกแล้ว เข้ารับราชการเป็น หมื่นพรหมสมพัตสร นายอากรเดินสวน เมืองสุพรรณบุรี แล้วย้ายไปรับราชการที่เมืองชัยนาทในตำแหน่ง หลวงศุภมาตรา(มี) จนถึงแก่กรรมเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๑๓

 

 

 

 

 

 

 

 

๒๐ มีนาคม  ๒๕๕๔

                  

 

 

 

 

 <<<<<<<>>>>>>>

 

       

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง