Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

เทศกาลขนมอี๋

 

 

 

 

 

 

 

เทศกาลขนมอี๋ 元宵节 หรือหยวนเซียวเจ๋ย หรือเอวี๋ยนเซียว  หรือตงจื้อ 節氣 หรือทังเอวี๋ยน 汤圆,湯圓 หรือทังทวน หรือ เทศกาลซั่งเอวี๋ยนเจ๋ย 上元节, 上元節 หรือเทศกาลโคมไฟ ซึ่งจัดขึ้นตามเทศกาลแล้วแต่ธรรมเนียมของแต่ละภาษาและท้องถิ่น

        ขนมอี๋โดยทั่วไปจัดในวันที่ ๑๕ ค่ำเดือน ๑ ซึ่งตรงกับเทศกาลโคมไฟ ส่วนชาวฮกเกี้ยนที่ภูเก็ตจัดในวันครึ่งปีครั้งหนึ่งเรียกว่า ปั่วหนีอี๋ หรือหลักโง่ยปั่วหรือวันที่ ๑๕ ค่ำเดือน ๖ และเดือน ๑๑ เรียกว่า ตงจื้อหรือตั้งโจ่ยอี๋ ในเดือนธันวาคม ก่อนสิ้นปีและขึ้นปีใหม่ บางแห่งเอาขนมอี๋ไปใช้ในพิธีแต่งงานโดยให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกิน เพื่อเป็นสิริมงคล อายุมั่นขวัญยืน สามัคคีกลมเกลียวกัน บางแห่งเอาไปไหว้เมื่อถึงวันกำหนดที่จะต้องเอารูปผู้ตายขึ้นหิ้งบูชา เป็นต้น

 

ความเป็นมา

       ประวัติหรือตำนานของเทศกาลขนมอี๋ มีหลายความเห็นดังนี้

        ในช่วงสมัยราชวงศ์ฮั่น ก่อนค.ศ. ๒๐๖ ถึงค.ศ. ๒๒๐ รวมทั้งฮั่นตะวันตกและตะวันออก ในรัชสมัยฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ 孝武皇帝 ซึ่งครองราชย์ระหว่างก่อนค.ศ. ๑๔๐ – ๘๗ เป็นเวลา ๕๓ ปี ทรงใช้ปีรัชกาลที่ต่างกันและใช้คำว่า “เอวี๋ยน”มากที่สุด คือ ปีเจี้ยนเอวี๋ยน, เอวี๋ยนกวง, เอวี๋ยนซั่ว, เอวี๋ยนโซ่ว, เอวี๋ยนติ่ง, เอวี๋ยนเฟิง, โฮ่วเอวี๋ยน, และที่ทรงใช้ชื่ออื่นอีกคือ ปีไท่ชู, เทียนฮั่น, ไท่สื่อ, เจิงเหอ

        จากตำนานกล่าวว่าในสมัยฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้หรือเซี่ยวอู่หวงตี้孝武皇帝 (劉彘, 劉徹 หลิวจื้อหรือหลิวเช่อ )แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ในปีรัชกาลเอวี๋ยนติ่ง 元鼎 ก่อนค.ศ. ๑๑๖ – ๑๑๑ พระองค์รับสั่งให้ติดโคมไฟไว้หน้าบ้านราษฎรและขุนนางเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า แต่จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีการบันทึกว่าพระองค์ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแต่อย่างใดนักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเป็นจริง ในเมื่อพระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาเผยแพร่ในจีนสมัยฮ่องเต้ฮั่นหมิงตี้ ( หลิวเอี๋ยงหรือหลิวเจวียง ) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ทรงครองราชย์ ค.ศ. ๕๘ – ๗๕ พระองค์รับสั่งให้ไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดีย ด้วยคืนหนึ่งทรงพระสุบินว่าทรงเห็นผู้ชายร่างสูง ๑๖ เชียะ ( ๓.๗ เมตร หรือ ๑๒ ฟุต ) สีทองคำ มีรัศมีเปล่งปลั่งที่ศีรษะ เมื่อขุนนางผู้ใหญ่เข้าเฝ้าทรงเล่าให้ฟัง จงหูจึงกราบทูลว่าเป็นพระพุทธเจ้าอยู๋ประเทศอินเดีย พระองค์จึงส่งคณะทูต ๑๘ คนมีไช่อิน ฉินจิงและหวางจินเป็นหัวหน้าไปถึงอินเดียภาคเหนือคืออาฟกานิสถาน ได้นำพระพุทธรูปและคัมภีร์พระไตรปิฎกมาด้วย ๔๒ ผูก  โปรดฯให้สร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในจีนเมื่อค.ศ. ๖๘ ชื่อไป๋หม่าซื่อ หรือ วัดม้าขาว ที่ลั่วหยางพร้อมพระภิกษุชาวอินเดียสองรูปคือ พระธรรมรักษ์กับพระกัสสปะ เมื่อถึงเทศกาลเอวี๋ยนเซียว จึงรับสั่งให้ตามประทีปโคมไฟที่วัดม้าขาว เพื่อเป็นพุทธบูชา

        แต่จากภาพเฟรสโกมีการบรรยายว่า ในปีก่อนค.ศ. ๑๒๐ ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้กำลังทรงบูชาพระพุทธรูปทองคำสองพระองค์ เป็นภาพเขียนอยู่ที่ถ้ำมั่วกาว ภูเขาตุนหวง มณฑลกานซู่ ติดทะเลทรายตักลามากัน เส้นทางสายไหม  ถ้ำนี้สร้างเมื่อค.ศ. ๓๐๐    

        ในช่วงรัชสมัยฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้   มีขุนนางผู้หนึ่งชื่อ จางเชียน

张骞 ได้ชื่อว่าเป็นนักสำรวจและนักการทูต เขารับราชการในราชสำนักฮ่องเต้อู่ตี้ ในสมัยนั้นภาคเหนือของจีนมีพวกซวงหนูหรือชนเผ่าเติร์กมีอิทธิพลอยู่ จีนจึงไม่สามารถติดต่อกับประเทศแถบเอเชียกลางได้ จางเชียนจึงเดินทางขึ้นไปและได้ภรรยาชาวเติร์กชื่อ กานฟู เขาเดินทางไปถึงภูเขาคุนหลุนและเทียนซาน แถบที่ราบซินเจียง มีชนเผ่าทาจิ๊กหรือเติร์ก เผ่าอูรกูร์อาศัยอยู่ เขากลับจีนก่อนค.ศ. ๑๒๕ พร้อมเอกสารรายละเอียดและสิ่งของต่างๆ เพื่อถวายรายงาน กราบทูลฮ่องเต้อู่ตี้ พระองค์ทรงดีพระทัยพร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้นเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ แต่เขาทำอะไรได้ไม่มากนัก เขาเดินทางไปอีก รวมสามครั้ง ใช้เวลากว่า ๓๐ ปี จนถึงแก่อนิจกรรมประมาณ ก่อนค.ศ. ๑๐๔ หรือ ๑๐๓ แต่บางตำนานว่า ก่อนค.ศ. ๑๑๔  สิ่งของที่เขานำกลับมานั้นส่วนหนึ่ง อาจเป็นพระพุทธรูปทองคำสององค์ที่กล่าวถึงเพื่อทูลเกล้าถวายพระองค์ พระองค์จึงโปรดฯให้สร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป แล้วเสด็จไปทรงนมัสการ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่พวกขุนนางไม่พอใจมาก ที่เอาศาสนาอื่นเข้ามาในจีน พวกเจ้ากรมพิธีการในราชสำนักจึงทำการชักจูง ให้พระองค์หันเหไปทางการเป็นอมตะเป็นเซียนตามลัทธิเต๋า ซึ่งก็ได้ผล 

        ประมาณหลังก่อนค.ศ. ๑๒๖ ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ทรงศึกษาเกี่ยวกับความเป็นอมตะหรือการเป็นเซียนกับนักพรต พร้อมกับเสด็จไปตามที่ต่างๆเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนให้เป็นเซียน และหายาสมุนไพรอายุวัฒนะมาเสวย แล้วเสด็จไปยังภูเขาไท่ซานเพื่อทรงประกอบพิธีบวงสรวงบูชาเทพเจ้าแห่งสวรรค์ และพื้นพิภพตามลัทธิเต๋าและขงจื่อ ที่เรียกว่า พิธีเฟิงซาน 封禪   เพื่อพระองค์จะได้เป็นอมตะหรือเป็นเซียน ซึ่งเทศกาลโคมไฟน่าจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ พระองค์ทรงต้องการให้เทพเจ้าช่วยให้พระองค์ได้เป็นเซียนเร็วขึ้น จึงรับสั่งให้ขุนนางและชาวบ้านติดโคมไฟหน้าบ้านในวันที่ ๑๕ ค่ำเดือน ๑ ระหว่างปีเอวี๋ยนติ่ง ในปีก่อนค.ศ. ๑๑๖ – ๑๑๑ ดังกล่าวแล้ว เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งสวรรค์และพิภพ และจัดติดต่อกันมาทุกปี และเรียกชื่อว่า เอวี๋ยนเซียว  คำว่า เซียว หมายถึง กลางคืน ส่วนคำว่า เอวี๋ยน ในที่นี้น่าจะหมายถึง ผู้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวง อันเป็นตัวแทนและปีรัชกาลของฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ ที่พระองค์ทรงใช้มากที่สุด และนอกจากการบูชาเทพเจ้าแล้ว อาจมีความหมายแขวงเพื่อฉลองเทศกาลวันสำคัญของพระองค์ก็ได้

        บางตำนานกล่าวว่า เพื่อเป็นการฉลองให้แก่พระสนมชื่อ เอวี๋ยนเซียว ซึ่งก็ไม่มีกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน พระองค์ทรงมีหวงโฮ่วองค์แรกคือ พระนางหวงโฮ่วเฉินเจียวที่ทรงรักมาก ถึงขนาดที่จะสร้างตำหนักทองคำให้หวงโฮ่งประทับ จนราษฎรกล่าวว่า “สร้างตำหนักทองคำให้พระนางเจียว”  แต่พระนางไม่มีโอรสธิดา ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้จึงทรงมีพระนางเว่ยจื่อฟูเป็นหวงโฮ่วองค์ใหม่ ที่มีพระชนมายุถึง ๓๘ ปียาวนานเป็นหวงโฮ่วองค์ที่สองของประวัติศาสตร์จีน

        นอกจากการตามประทีปโคมไฟหน้าบ้านแล้ว ยังได้ทำขนมอี๋มาเลี้ยงกันในครอบครัวด้วยในคืนนั้น เพื่อความเป็นสิริมงคลให้มีอายุยืนยาว และให้รักใคร่สามัคคีกลมเกลียวกันเหมือนลูกขนมอี๋

        ดังนั้นเทศกาลเอวี๋ยนเซียว จึงน่าจะเป็นการเฉลิมฉลองวันสำคัญของฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ ด้วยการประดับประทีปโคมไฟไว้ที่หน้าบ้านของทุกคน และมีการแข่งขันตกแต่งสวยงาม พวกเด็กหนุ่มสาวจึงมีโอกาสออกไปดูโคมไฟ และนัดแนะพบปะหาคู่ครองไปโดยปริยาย บางแห่งเด็กเหล่านั้นจะโยนผลส้มลงไปที่ต้นแม่น้ำ เมื่อส้มลอยไปปากแม่น้ำ ใครเก็บได้ของใครถือว่าคนที่เก็บได้เป็นคู่ครองของตน

        บางตำนานกล่าวว่าเพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าเทียนกวน ตามลัทธิเต๋า เพราะตรงกับวันคล้ายวันประสูติคือวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑

        ในสมัยราชวงศ์ถัง ค.ศ. ๖๑๘ - ๙๐๗ ราชสำนักให้จัดงานเอวี๋ยนเซียว ๓ วัน และในสมัยราชวงศ์ซ่ง ค.ศ. ๙๖๐ – ๑๒๗๙  ทางราชสำนักได้ประกาศให้เทศกาลตามประทีปโคมไฟที่เรียกว่า เอวี๋ยนเซียว เป็นเทศกาลที่สำคัญวันหนึ่งโดยให้จัดงาน ๕ วัน ทั้งสองสมัยนี้เป็นเทศกาลที่สนุกสนานรื่นเริงที่สุด  ถึงสมัยราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้หมิงไท่จง ( จูตี้ ) หรือฮ่องเต้หย่งเล่อ ค.ศ. ๑๔๐๒ – ๑๔๒๔ ได้รับสั่งให้ประกาศเทศกาลเอวี๋ยนเซียวเป็นงานเทศกาลของประเทศ จัดถึง ๑๐ วันที่กรุงปักกิ่ง การจัดงานหลายวันเช่นนี้ มีการแสดงต่างๆ การละเล่น เช่น เกม การแข่งขันสู้กันด้วยอาวุธ  มวย การประกวดเขียนเส้นสายลายอักษร การเชิดสิงโต งิ้ว การแสดงพื้นเมืองของท้องถิ่นอื่น เป็นต้น

        อย่างไรก็ตาม ในสมัยจักรวรรดิจีน ฮ่องเต้หงเซี่ยน ( เอวี๋ยนซื่อไข่ ) ค.ศ. ๑๙๑๒ – ๑๙๑๖ รับสั่งให้เปลี่ยนคำว่า เอวี๋ยนเซียว เป็น ทังเอวี๋ยน  เพราะพระองค์ไม่ทรงชอบคำว่า เอวี๋ยนเซียว ที่ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า ล้มหรือโยกย้ายเอวี๋ยน  จึงให้เปลี่ยนจาก เอวี๋ยนเซียว เป็น ทังเอวี๋ยน ซึ่งแปลว่า ลูกกลมในน้ำแกง  และใช้เรียกกันในท้องถิ่นภาคใต้

        ส่วนคำว่า เทศกาลตงจื้อ หมายถึงเทศกาลเพื่อต้อนรับกลางคืนที่ยาวที่สุดและกลางวันสั้นที่สุด เป็นช่วงที่ครอบครัวเตรียมการต้อนรับฤดูหนาวที่กำลังมาเยือน และเป็นช่วงที่ชาวนาชาวไร่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ชาวประมงจัดเก็บปลาทำแห้งทำเค็มเอาไว้กินช่วงฤดูหนาว และเป็นเวลาของครอบครัวที่ได้อยู่พร้อมหน้ากัน และเป็นความเชื่อของคนจีนเกี่ยวกับอินหรือหยินและเอี๋ยงหรือหยาง ที่จะทำให้เกิดความสมดุลของร่างกาย เพราะอิน หมายถึงความมืดและความหนาวเหน็บที่ปรากฏในฤดูหนาว ในขณะเดียวกันเมื่อหมดฤดูหนาว ก็เกิดมีแสงสว่างและความอบอุ่นเข้ามาแทนที่ซึ่งเป็น เอี๋ยง ดังนั้นเทศกาลตงจื้อ จึงเป็นเวลาของความเบิกบานร่าเริงของคนในครอบครัว และต่างสวมเสื้อผ้าใหม่สีฉูดฉาด ไปเยี่ยมครอบครัวเครือญาติ พบปะสังสรรค์รับประทานอาหาร ดึ่มสุรา ให้ของขวัญ ต่างยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริง

        ส่วนเทศกาลตงจื้อหรือตั้งโจ่ยหรือปั่วหนีอี๋ หรือหลักโง่ยปั่วในวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของชาวภูเก็ตที่ได้ยึดถือกันมาแต่บรรพบุรุษจากเมืองจีนนั้น เข้าใจว่า เป็นวันครึ่งปีที่เสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวสาลี เมื่อผู้เขียนผ่านไปทางเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานต้นเดือนพฤษภาคม ตกประมาณเดือน ๔ ของจีน มองลงจากเครื่องบินเห็นนาข้าวเหลืองอร่ามไปทั่ว และจากเมืองเจิ้งโจวไปอำเภอเว่ยฮุยหรืออุยฮุยสองข้างทางข้าวเหลืองสุก แต่กอซังยังเขียวอยู่บ้าง และคงจะเก็บเกี่ยวเสร็จประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมกลางปีพอดี จึงพากันนำข้าวใหม่มาทำอาหารและขนมอี๋บูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้าที่พวกตนนับถือ ที่ช่วยให้การทำนาได้ผลได้เก็บเกี่ยวไม่มีพวกสัตว์แมลงลงทำลายนาข้าว แล้วชวนเชิญญาติพี่น้องเลี้ยงอาหารสนุกรื่นเริงตามวันดังกล่าว

        ตงจื้อ เป็นเดือนที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนไปอยู่ที่ ๒๗๐ องศาลองกิจูด ประมาณวันที่ ๒๑ – ๒๒ ธันวาคม และสิ้นสุดประมาณวันที่ ๕ มกราคมที่ ๒๘๕ องศาลองกิจูด

 

ขนมอี๋

        ขนมอี๋ดั้งเดิม ทำจากแป้งข้าวเหนียวใส่น้ำนิดหน่อยเอามาปั้นเป็นรูปต่างๆตามท้องถิ่น แล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่น้ำตาลรับประทานขณะที่ร้อน เพื่อกันหนาวได้ เดิมคงไม่ได้ใส่สี คงเป็นสีขาว ต่อมาได้พัฒนาไปตามกาลเวลา ได้มีการใส่ไส้ทั้งหวานและคาว ส่วนตัวแป้งผสมสีให้เป็นแป้งสีต่างๆ เช่น สีเขียว แดง เหลือง ขาว แล้วเอามาปั้น ต้มน้ำเดือด  ขนมอี๋แตกต่างกันไปตามภูมิภาคของจีน เมื่อคนจีนอพยพไปอยู่ยังประเทศอื่น ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นขนมอี๋อยู่ ด้วยการดัดแปลงส่วนผสมไปตามท้องถิ่นใหม่ที่หาวัสดุการทำง่าย แต่ก็ยังรักษาวัฒนธรรมของขนมอี๋ นั่นก็คือ ใช้แป้งข้าวเหนียวเอามาปั้นเป็นพื้น

        ขนมอี๋ของชาวภูเก็ตจะไม่ใส่ไส้ มีแป้งข้าวเหนียว สีผสมอาหาร น้ำเชื่อมทำจากน้ำ น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลทรายขาวต้มใส่ขิงแก่หั่นเป็นแว่น ใส่ใบเตยหอม ส่วนแป้งใส่น้ำอุ่นพอปั้นได้ แล้วแบ่งเป็นส่วนๆเพื่อเติมสีต่างๆ นวดให้นิ่ม ปั้นเป็นลูกกลม ทำแม่อี๋ที่เรียกว่า อี๋โบ้ โดยปั้นให้ลูกใหญ่กว่าลูกอื่นๆ ตั้งน้ำให้เดือด เอาแป้งปั้นใส่ลงไป แป้งสุกจะลอยขึ้น ช้อนใส่ลงในน้ำเชื่อม เวลาตักเอาไปไหว้จะตักอีโบ้ลูกหนึ่ง ที่เหลือลูกเล็กกี่ลูกก็ได้

        ขนมอี๋ใส่ไส้  ส่วนที่ทำไส้ มีงาดำบด แป้งถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้แห้งชนิดต่างๆ เอาไส้รวมกัน ปั้นเป็นลูกเล็ก ทำแป้งข้าวเหนียวให้ปั้นได้ เอาไส้ใส่ปั้นเป็นลูกกลม เอาไปต้ม ทอด หรือนึ่ง

        ขนมอี๋แบบคนอยู่เมืองฝรั่ง ไส้มีงาดำบด ใส่เนย น้ำตาลและเหล้าไวน์ แบ่งแป้งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอารวมกับไส้แล้วต้มนิดหน่อย ปั้นเป็นลูกกลม เอาแป้งข้าวเหนียวอีกครึ่งหนึ่งผสมน้ำ ปั้นเป็นแผ่น เอาไปใส่ในน้ำเดือดจนสุก ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วปั้นเป็นลูกกลม เจาะรูเอาไส้ใส่ปั้นให้กลมอีกครั้ง ใส่ลงไปในน้ำเดือด จนลอยตัวสุก ทิ้งต่อไว้สักหนึ่งนาที แล้วช้อนขึ้น

        ขนมอี๋ใส่ไส้อีกสูตรหนึ่ง ไส้มีงาดำบด ถั่วแดงบด ถั่วลิสงบด ปั้นเป็นลูกกลมทำเช่นเดียวกันคือเอาแป้งข้าวเหนียวห่อแล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่ในน้ำเชื่อม จะเป็นของหวาน ถ้าจะทำเป็นของคาว ให้ใส่ลูกชิ้นหมูทำไส้ ต้มน้ำเดือดจนสุกแล้วสงขึ้น เอาไปใส่ในน้ำต้มกระดูกหมูหรือกระดูกไก่หรือน้ำซุป แต่วิธีนี้ใช้ทำกินเอง ไม่ได้เอาไปไหว้เจ้า เช่นเดียวกับบัวลอย ซึ่งก็คือขนมอี๋ใส่น้ำกะทิ บางแห่งใส่ไข่ด้วย เป็นของกินเล่นเท่านั้น

 

พิธีการไหว้ขนมอี๋

        เทศกาลวันไหว้ขนมอี๋ของชาวภูเก็ตมีสองครั้งในหนึ่งปี คือวันครึ่งปี หรือ ปั่วหนีโจ่ย หรือปั่วหนีอี๋หรือหลักโง่ยปั่ว ตรงกับวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เอาขนมอี๋ใส่ถ้วย โดยมีอี๋โบ้ลูกหนึ่งในแต่ละถ้วย นำไปไหว้บนหิ้ง ตั้งแต่ ทีกง๑ เทพเจ้าผู้เป็นประธานในบ้าน๑ หิ้งบรรพบุรุษ๑ หิ้งจ้าวฮุ่นกงที่เตาไฟ๑ บางบ้านอาจมีมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ แห่งละถ้วย จุดธูปเทียนบูชา ขอพรให้มีอายุมั่นขวัญยืน อยู่เย็นเป็นสุข และขอสิ่งตามที่ตนต้องการ มักไหว้ในตอนเช้า เป็นเสร็จพิธี ส่วนเดือน ๑๑ ตรงกับเดือนธันวาคม ก็ไหว้เช่นเดียวกันกับครั้งแรก เรียกว่า วันตงจื้อหรือตั้งโจ่ย

        ดังนั้นเทศกาลเอวี๋ยนเซียว จึงเป็นวันที่เกี่ยวกับ ชาวบ้าน+ ครอบครัว+ บรรพบุรุษผู้ล่วงลับหรือเทพเจ้าที่ตนนับถือ

 

 

               :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑

 

Title        :   Yuanxiao Festival

 

              :   Somboon Kantakian  21/06/2008

 

Credits    :   Somboon Kantakian

 

 

 

        

 

                                               

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง