Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

ประเพณีการกินผักภูเก็ต PHUKET VEGETARIAN TRADITION

 

 

 

 

 

 

 

เทศกาลกินผักที่ภูเก็ต

 

๑.   คณะงิ้วแสดงที่บ้านกะทู้

๒.   เดินทางไปสืบสาวการกินผักที่เมืองกังไส

๓.   ตำนานเถ้าแก่ใจบุญกับบ้านหลังใหม่

๔.   เทพเจ้าเล่าเอี๋ยกับการกินผัก

๕.   การเตรียมการกินผัก

      ๑)   ศาลเจ้าเตรียมการ

      ๒)   ชาวบ้านเตรียมการ

๖.   พิธีกรรมที่ศาลเจ้าก่อนการกินผัก  ๑ วัน

        -   อัญเชิญขุนพลนายทหารมารักษาการปริมณฑล

        -   ยกเสาโกเต้ง

        -   อัญเชิญองค์หยกอ๋องส่องเต่มาร่วมพิธี

        -   อัญเชิญองค์กิวอ๋องไต่เต่มาเป็นประธาน

๗.   สรุปพิธีกรรมวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙

๘.   พิธีกรรมและกิจกรรมบางอย่างที่น่าสนใจ

      - พิธีขึ้นบันไดมีด

      - พิธีสะเดาะเคราะห์

      - พิธีโข้กุน

      - พิธีเฉี้ยโห้ย

      - พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมือง

      - การจุดประทัด

      - ธงประเภทต่างๆ

      - ม้าทรง

๙.   เทพเจ้าที่กล่าวถึงในพิธีกรรม

๑๐. ข้อควรปฏิบัติในเทศกาลกินผัก

๑๑. ตารางเทศกาลกินผักในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๘๐ 

 

 

๑.   คณะงิ้วแสดงที่บ้านกะทู้

        เมื่อ ชาวจีนได้เข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ดีบุกที่ภูเก็ต เป็นจำนวนหลายหมื่นคน ต่างกระจายไปตามที่ต่างๆ บางส่วนปักหลักอยู่ที่เหมืองแร่ต่างๆในเขตกะทู้ ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕ คนจีนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มใหญ่วัยฉกรรจ์จึงจะสามารถเป็นกรรมกรเหมือง ที่ทำงานหนักได้ ต่อมาจึงมีร้านรวงต่างๆเพื่อให้บริการแก่พวกเขา รวมทั้งสิ่งบันเทิงด้วย นั่นก็คือโรงงิ้ว คณะงิ้วที่มาแสดงเป็นงิ้วเร่ที่เรียกว่า ปั้วหี่ คงจะได้ปักหลักแสดงอยู่คณะละหลายเดือนหรือเป็นปี แล้วหมุนเวียนคณะใหม่มาแสดงอีกเมื่อเห็นว่าลูกค้าคนดูเริ่มเบื่อ เมื่อพวกเขาได้หมุนเวียนเปลี่ยนเรื่องแสดงไปหมดแล้ว

        มี คณะงิ้วเร่คณะหนึ่งได้เปิดแสดงที่บ้านกะทู้ ขึ้นเป็นเวลาเกือบปีบังเอิญเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น คณะงิ้วจึงได้ประกอบพิธีกินผักที่หน้าโรงงิ้วนั่นเอง แต่เป็นเพียงย่อๆเท่านั้น เพื่อขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บให้หายไป ปรากฏว่าได้ผล ในปีต่อมาพวกงิ้วจึงได้จัดการกินผักขึ้นอีก ชาวกะทู้เกิดเลื่อมใส จึงเข้าร่วมกินผักด้วย เมื่อเห็นว่าชาวกะทู้เกิดเลื่อมใสการกินผัก พวกงิ้วจึงบอกว่า หากต้องการรู้พิธีกรรมการกินผักอย่างละเอียดให้เดินทางไปเมืองกังไส มณฑลเจียงซู  ก่อนที่คณะงิ้วจะลาโรง จึงได้มอบเทพเจ้าเล่าเอี๋ยและเทพเจ้าหลี่โลเชียไว้ให้เพื่อจัดพิธีกินผัก ในวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙ พวกงิ้วจึงให้ข้อมูลการประกอบพิธีกินผักเท่าที่พวกเขารู้ให้ชาวกะทู้จัดงาน ในปีถัดไป

 

๒.   เดินทางไปสืบสาวการกินผักที่เมืองกังไส 

        เมื่อ คณะงิ้วจากไปแล้ว ชาวบ้านกะทู้จึงนำพระเล่าเอี๋ยและพระหลี่โลเชียประดิษฐานที่โรงเจชั่วคราว ด้วยการมุงหลังคาจากกั้นจากขึ้น เพื่อสักการะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙ ชาวบ้านกะทู้จึงจัดงานกินผักตามที่พวกงิ้วได้บอกไว้แบบคร่าวๆตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

        ขณะ นั้นชาวจีนที่มาทำเหมืองคนหนึ่ง เมื่อเห็นชาวกะทู้ประกอบพิธีกินผักไม่เหมือนกับที่ตนเคยเห็นที่เมืองจีน เพราะพิธีกรรมไม่ถูกต้อง ตนจึงได้เสนอว่าน่าจะไปเอารูปแบบพิธีกรรมการกินผักที่ถูกต้องที่เมืองกังไส แต่ตนไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเดินทางไปได้ ถ้าหากชาวกะทู้ต้องการให้ตนเดินทางไปเมืองจีน ก็ยินดีไปหาข้อมูลมาให้ ชาวบ้านจึงได้เรี่ยไรเงินได้จำนวนหนึ่งให้เขา เขาจึงเดินทางไปยังเมืองกังไส ปรากฏว่าเขาหายไป ๒ – ๓ ปีก็ยังไม่กลับ ชาวบ้านต่างคิดว่าเขาคงไม่กลับมาบ้านกะทู้อีกแล้ว คงจะถูกหลอกเป็นแน่

        ใน ช่วงของการกินผักคืนวันที่ ๗ ค่ำเดือน ๙ เขาเดินทางถึงท่าเรือบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จึงให้คนไปบอกชาวกะทู้ให้จัดขบวนแห่ไปรับด้วย ชาวบ้านจึงจัดขบวนแห่ไปรับที่ท่าเรือ สิ่งที่เขานำมาคือ เหี่ยวโห้ยคือธูปใหญ่ที่จุดติดไฟจากเมืองจีนมาตลอดและเมื่อธูปไฟติดถึงก้าน เดิมก็จุดไฟใหม่ต่อๆกันมา รวมทั้งเหี่ยวเอี้ยนผงธูป คัมภีร์ประกอบพิธีกรรม ตุ้ยเหลียนป้ายชื่อมาด้วย เมื่อไปถึงโรงเจกะทู้ซึ่งยังไม่ครบกำหนด ๙ วัน เขาจึงได้อธิบายวิธีการประกอบพิธีทั้งเก้าวันเก้าคืนให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในพิธีทุกคนทราบ พร้อมกับได้เล่าถึงประวัติการกินผักของเมืองกังไส ประวัติเล่าเอี๋ย และสาเหตุแห่งการกินผักซึ่งเกี่ยวกับเถ้าแก่กับบ้านหลังใหม่ให้ชาวกะทู้ฟัง

 

๓.  ตำนานเถ้าแก่ใจบุญกับบ้านหลังใหม่

           เมือง เจียงซูเป็นเมืองที่ราบลุ่มเป็นพื้นน้ำเสียหลายส่วน มีคลองจำนวนมาก คล้ายเมืองบางกอกสมัยก่อน ผู้คนจึงสร้างบ้านเรือนอยู่ริมคลอง ใช้เรือเป็นพาหนะ และเมืองนี้อยู่ไม่ไกลจากทะเลตงไห่และแม่น้ำแยงซี ได้มีเซียนองค์หนึ่งทำนายว่า เมืองนี้กำลังจะถูกคลื่นยักษ์กวาดลงทะเล ผู้คนจะล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ตัวเมืองจะจมหายไปในทะเล ยกเว้นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ของชาวเมืองนี้ประกอบไว้ ก็จะขจัดปัดเป่าลงไปได้ ก็จะรอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งนี้

         มณฑลเจียงซู  เมืองหลวงชื่อ ซูโจว สมัยโบราณเมืองนี้เรียกว่า กัวสู หรือกังไสหรือกังไซ้ มี เถ้าแก่ใจบุญคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองซูโจว ชื่อ หลี่ฮั่วก่าย เขาได้สร้างบ้านหลังใหญ่โตหลังหนึ่งขึ้นแต่ยังไม่ได้เข้าไปอยู่ คือเขาตั้งใจที่จะทำบุญให้ครบ ๑๐๐ วันเสียก่อน แล้วจึงจะย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่นี้ ขณะที่ยังไม่ครบหนึ่งร้อยวัน เขาได้ทำทานแก่ผู้ยากจนทุกวัน ใครมาของสิ่งใดหลี่ฮั่วก่ายให้ทั้งสิ้นเพื่อเป็นการสร้างบุญกุศล จนถึง ๔ – ๕ วัน จะครบ ๑๐๐ วันตามที่กำหนด

        ขณะ นั้นยังมียาจกคนหนึ่งเป็นโรคเรื้อนน้ำเหลืองไหลเยิ้มไปตามมือเท้าร่างกาย เสื้อผ้าสกปรกเหม็นสาบ เขาก็เอาเสื้อนั่นแหละเช็ดน้ำเหลือง ใครๆเห็นพากันรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ คนขี้เรื้อนจึงเดินเข้าไปยังบ้านเถ้าแก่หลี่ฮั่วก่าย แต่คนใช้ไม่ยอมให้เข้าไป เถ้าแก่ได้ยินเสียงเอะอะหน้าบ้านจึงเดินออกมาดู แล้วบอกให้เขาเข้าไปในบ้านได้ เถ้าแก่จึงให้คนใช้เตรียมข้าวของให้เขา แต่เขาไม่เอา เขาอยากเข้าไปนอนเล่นในบ้านหลังใหม่สัก๓ – ๔ วันเท่านั้น ก่อนที่จะครบกำหนดร้อยวัน

        ฝ่ายหลี่ฮั่วก่าย นึกไม่ถึงว่าเขาจะขอในสิ่งที่ชาวบ้านทั้งหลายไม่กล้าขอ แต่ในเมื่อตนได้ลั่นวาจาไปแล้ว จึงยอมตาม  ทำ ให้คนใช้โกรธมาก เถ้าแก่จึงห้ามไว้แล้วให้พาคนขี้เรื้อนเข้าไปพักในบ้านหลังใหม่ พร้อมกับให้หาอาหารการกินให้คนขี้เรื้อนด้วย เมื่อไปถึงเห็นบ้านใหญ่โตโอ่โถง สวยงาม พร้อมโต๊ะตั่ง เต็มไปหมด คนขี้เรื้อนเมื่อเห็นว่าน้ำเหลืองในตัวย้อยลงมาจึงเอามือไปป้ายน้ำเหลือง แล้วเช็ดไว้ตามฝาผนังบ้านเสียเต็มไปหมด คนใช้ต่างพากันโกรธมากเพราะพวกเขาต้องทำความสะอาด แต่เถ้าแก่ห้ามไว้

        เมื่อ ครบกำหนด ๑๐๐ วัน เถ้าแก่จึงเข้าไปในบ้านนั้น เดินไปตามห้องต่างๆ ปรากฏว่ามีกลิ่นหอมเต็มไปหมดทุกห้อง ไม่มีร่องรอยของน้ำเหลืองอยู่เลย แต่กลายเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นฝีมือของจิตรกรเอกเท่านั้นที่เขียนได้ขนาด นี้ พร้อมกับเขียนอักษรกำกับไว้ที่ฝาผนังว่า “มณฑล เจียงซู กำลังจะประสบมหาวาตภัยครั้งใหญ่ น้ำทะเลจะไหลท่วมเมืองจมหายไปในทะเลตงไห่ จะมีก็แต่ผลบุญของเถ้าแก่หลี่ฮั่วก่ายที่ทำไว้ จะขจัดภัยให้เบาบางลง ถ้าหากชาวเมืองเจียงซูประกอบพิธีกินผักให้ครบ ๙ วัน คือวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙

        ชาว เมืองซูโจว และเถ้าแก่หลี่ฮั่วก่ายจึงประกอบพิธีกินผักตามกำหนด ที่แท้คนโรคเรื้อนก็คือเซียนผู้วิเศษแปลงกายมาลองใจเถ้าแก่หลี่ฮั่วก่ายนั่นเอง การกินผักของเมืองซูโจวจึงได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่บัดนั้น

 

๔.   เทพเจ้าเล่าเอี๋ยกับการกินผัก    

        เทพเจ้าเล่าเอี๋ยก็คือ ฮ่องเต้ถังหมิงหวงหรือ ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ( หลี่หลงจี้ ) แห่งราชวงศ์ถัง ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. ๑๒๕๕ – ๑๒๙๙  ซึ่ง พวกงิ้วในเมืองจีนถือว่าเป็นบรมครูงิ้วของพวกเขา เพราะพระองค์ทรงยกฐานะจากพวกงิ้วเร่ร่อนให้เป็นสถาบันศิลปะการแสดงที่เมือง ฉางอาน พวกงิ้วจึงพากันเคารพนับถือกันมากทั่วประเทศ ในโรงงิ้วจึงต้องประดิษฐานองค์เล่าเอี๋ยไว้หรือไม่ก็เขียนพระนามป้ายตั้งไว้ บูชา

      ในปีพ.ศ. ๑๒๘๕ ทรงใช้ปีรัชกาลว่า เทียนเป่า ทรงถือว่าพระองค์ทรงได้รับพระบัญชาจากสวรรค์และทรงมีอำนาจฤทธิ์เดชเยี่ยงเทพเจ้า ทรงมีกระบี่และพู่กันเป็นอาวุธ  ซึ่งน่าจะเป็น “เทียนฝู่เอวี๋ยนโซ่ว”หรือ”เตี่ยนฮู้หงวนโส่ย” หรือ จอมพลผู้พิทักษ์แห่งสวรรค์ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า เมื่อพวกงิ้วกลับจากไปแสดงที่เมืองซูโจวหรือกัวสู จึงได้กราบทูลเรื่องราวเกี่ยวกับเถ้าแก่หลี่ฮั่วก่ายกับบ้านหลังใหม่และ พิธีการกินผัก พระองค์พร้อมด้วยขุนนางฝ่ายพิธีกรรม จึงทรงเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการกินผัก เช่น การอัญเชิญเทพเจ้าหยกอ๋องส่องเต่ กิวอ๋องไต่เต่ เทพเจ้าเป่ยเติ้วซิงจวินหรือเทพเจ้าดาวเหนือและเทพเจ้าหนานเติ้วซิงจวินหรือ เทพเจ้าดาวทิศใต้ มาร่วมในการกินผัก ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักอยู่ในปัจจุบัน

        การ กินผักในวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙ จึงได้จัดกันแพร่หลายจากมณฑลเจียงซู ไปยังมณฑลใกล้เคียงคือ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฝูเจี้ยน( ฮกเกี้ยน ) มณฑลเจียงซีหรือเกียงซี หรือกังไซ้หรือกังไส( ชื่อเรียกเหมือนกัวสูเมืองซูโจว )เมืองเครื่องเคลือบดินเผาที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณ มณฑลกว่างตงและมณฑลกว่างซีเป็นต้น ซึ่งเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๑๓๕ ปี ถ้านับจากฮ่องเต้ถังหมิงหวงหรือเทพเจ้าเล่าเอี๋ยเสด็จสวรรคตเมื่อพ.ศ. ๑๓๐๕ เป็นเวลาพันกว่าปีดังกล่าว  ผู้ที่นำพิธีกินผักไปแพร่หลายยังเมืองต่างๆ ก็คือพวกขุนนางชั้นสูงแถบมณฑลภาคใต้ ที่เข้าไปรับราชการในเมืองหลวง บรรดาวัดในลัทธิเต๋า และพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นจุดเริ่มที่ได้ผล เพราะวัดเหล่านี้โดยปกติก็กินผักอยู่แล้ว บรรดาเอกสารที่ตาแป๊ะนำมาให้นั้นก็นำมาจากวัดนั่นเอง  

 

 

๕.   การเตรียมการก่อนกินผัก    

        การเตรียมการก่อนกินผัก พอจะแยกได้ดังนี้

        ๕.๑ ฝ่ายศาลเจ้า

        คณะกรรมการศาลเจ้าและชาวบ้านต่างช่วยกันทำงานคือ

        ๑)   อัญเชิญ เทวรูปทุกองค์จากบนแท่นบูชาลงมาทำความสะอาดเช็ดถูฝุ่นละออง แต่งหนวดเคราและส่วนที่ชำรุดให้ดูดีมีสง่าดังเดิม พร้อมทั้งทำความสะอาดแท่นบูชาด้วย

        ๒)   ล้างพื้นตั้งแต่ภายในจนถึงภายนอกตัวศาลเจ้า

        ๓) ทำความสะอาดโรงเจ เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆในครัวเจ และจัดหาเพิ่มเติมถ้าจำเป็น

        ๔)   จัดทำธงประเภทต่างๆเพื่อนำไปติดที่กำหนด

        ๕) ทำความสะอาดอาวุธและต้อของม้าทรง

        ๖) เตรียมเกี้ยวหรือเก่วและตัวเลี่ยนสำหรับแห่

        ๗) กรรมการชุดต่างๆจะเตรียมงานของตน เช่น ฝ่ายประชาสัมพันธ์ติดประกาศและทำแผ่นพับแจก ฝ่ายการเงินรับบริจาคทั้งเงินและสิ่งของ ฝ่ายพิธีกรรม ฯลฯ

        ๘)  อื่นๆ

        ๕.๒ ฝ่ายชาวบ้านทั่วไป

        ชาว บ้านที่จะเข้าร่วมกินผัก ตามความสมัครใจ จะกินกี่วัน ไม่มีการขอร้องบังคับ การสร้างบุญกุศลต้องสร้างเอง เมื่อสมัครใจที่จะกินผักที่ศาลเจ้าแห่งใด ก็จะพากันไปทำบุญบริจาคเงินหรือสิ่งของที่ศาลเจ้าแห่งนั้นตามศรัทธา

        เมื่อ ตกลงใจแล้วก็กำหนดวันที่จะกินผัก อาจเป็น ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ๙ วัน เลือกตามความเหมาะสมและเวลา เช่น ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมักกินทั้ง ๙ วันและกินทั้งครอบครัว แต่ถ้าในครอบครัวไม่กินทุกคน ต้องแยกเครื่องใช้เป็นชุดคาว ชุดกินเจออกจากกัน แล้วทำความสะอาดเครื่องครัว หาชุดขาวมาสวมใส่วันที่ตนกินผัก พร้อมทั้งทำจิตใจตั้งสมาธิปฏิบัติถือศีล ตามข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ทางศาลเจ้าประกาศไว้

 

๖.   พิธีกรรมที่ศาลเจ้าก่อนการกินผัก ๑ วัน

        พิธีกรรมก่อนการกินผัก ๑ วันพอสรุปได้ดังนี้

-             พิธีป้างกุน ปล่อยขุนพลนายทหารออกรักษาการบริเวณปริมณฑลในพิธี

-             พิธียกเสาโกเต้งและตะเกียง ๙ ดวง

-             พิธีเซเจ่งอ้าม

-             พิธีอัญเชิญองค์หยกอ๋องส่องเต่และองค์เหลงกวนไต่เต่เลขานุการองค์หยกอ๋องส่องเต่มาร่วมพิธี

-             พิธีอัญเชิญองค์กิวอ๋องไต่เต่มาเป็นประธานในพิธีกินผัก

 

๗.   สรุปพิธีกรรมวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙

 

วันที่ ๑ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             อ่านรายชื่อผู้ร่วมกินผัก

-             (อ่านทุกวันเพื่อกราบทูลให้องค์ประธานทรงทราบ)

 

วันที่ ๒ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

 

 

วันที่ ๓ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน เลี้ยงขุนพลนายทหาร

-             พิธีอัญเชิญเทพเจ้าเป่ยเติ้วซิงจวินและหนานเติ้วซิงจวิน

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้ากวนอู

-             พิธีป้ายชิดแชบูชาเทพเจ้าดาวทั้ง ๗ องค์ของศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือสามกอง

 

วันที่ ๔ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน

-             พิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้วของศาลเจ้าบางเหนียวและศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือสามกอง และศาลเจ้ากะทู้แห่ไปป่าตอง

 

วันที่ ๕ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้าเจ่งอ๋องและศาลเจ้าท่าเรือ

 

วันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้าบางเหนียวและศาลเจ้าเชิงทะเล

-             พิธีโก้ยโห้ยของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

 

วันที่ ๗ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง

-             ป้ายชิดแชไหว้เทพเจ้าดวงดาว ๗ องค์

-             พิธีคี่โต่คุ่ย ขึ้นบันไดมีดของศาลเจ้าบางเหนียวและศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือสามกอง

 

วันที่ ๘ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน

-             พิธีโก้ยห่านของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้ากะทู้เพื่อเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์ที่สะพานหินและอิวเก้งของศาลเจ้าทุ่งคาเนียงแตก

-             พิธีโก้ยโห้ยลุยไฟของศาลเจ้าบางเหนียวและศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือสามกอง

 

วันที่ ๙ ค่ำ เดือน ๙

-             สวดมนตร์บูชาองค์เทพเจ้าเพื่อเสริมบารมี

-             โข้กุน

-             พิธีโก้ยโห้ยของศาลเจ้ากะทู้

-             พิธีโก้ยห่านของศาลเจ้าบางเหนียวและศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือสามกอง

-             พิธีอิวเก้งแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้าหล่อโรง

-             พิธีส่งองค์หยกอ๋องส่องเต่

-             พิธีส่งองค์กิวอ๋องไต่เต่

 

วันที่ ๑๐ ค่ำ เดือน ๙

           -            พิธียกเสาโกเต้งลง

-             พิธีโข้กุน เลี้ยงอาหารคาวแก่ขุนพลนายทหาร

-             พิธีซิ่วกุน อัญเชิญขุนพลนายทหารกลับกรมกอง

 

เป็นอันเสร็จพิธีของศาลเจ้าแต่ละแห่ง

 

หมายเหตุ  :  การเปลี่ยนวัน ตามปฏิทินจีน เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา  ส่วนปฏิทินสากลเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา

 

๘.   พิธีกรรมและกิจกรรมบางอย่างที่น่าสนใจ

        พิธีขึ้นบันไดมีด  การ ขึ้นบันไดมีดที่ศาลเจ้าบางเหนียว บันไดสูง ๑๒ เมตร ขั้นบันไดทำด้วยเหล็กตีให้แบนเป็นมีดลับให้คมกริบแล้วเอามีดด้านคมขึ้นเรียง เป็นบันได ๗๒ ขั้น พระเข้าทรงจะปีนบันไดมีดขึ้นไปข้างบนซึ่งทำคล้ายหอคอยมีที่พัก พระเข้าทรงบางองค์จะขย่มเท้าที่บันได แต่ไม่เป็นแผลแม้น้อยนิด เป็นการสะเดาะเคราะห์ให้แก่ผู้ที่มากินผัก

      พิธีสะเดาะเคราะห์  การสะเดาะเคราะห์มี ๒ อย่างคือ

        ๑) การโก้ยโห้ย พิธีลุยไฟ ศาลเจ้าบางแห่งอาจจัดกลางวันหรือกลางคืน หรือตอนเย็น ด้วยการเอาถ่านไฟไม้มากองสุมเข้าแล้วจุดไฟให้ลุกโชนแดงได้ที่ แล้วเกลี่ยออก พระเข้าทรงจะทำพิธี เสร็จแล้วพระเข้าทรงจะลุยไฟก่อนแล้วจึงเอาเก่วคนหามลุยตามไป หลังจากนั้นจึงเป็นกรรมการหรือคนที่เคารพลุยตามโดยมีพระเข้าทรงนำไป หากผู้ที่กินผักคิดว่าตัวเองไม่เช้งหรือไม่สะอาดบริสุทธิ์หรือมีความกลัวก็ จะไม่ลุยไฟ เด็ก คนแก่และผู้หญิงห้ามลุยไฟ

        ๒) การโก้ยห่าน หรือเดินข้ามสะพาน  ถ้า หากผู้ใดไม่กล้าสะเดาะเคราะห์ด้วยการลุยไฟก็มาสะเดาะเคราะห์ด้วยการโก้ยห่าน คือการเดินข้ามสะพาน ผู้ที่จะโก้ยห่านเอากระดาษมาตัดเป็นรูปหุ่นของตนพร้อมด้วยต้นกุ้ยช่ายต้น หนึ่งและเหรียญสลึง เมื่อเดินถึงสะพาน จะมีที่รองรับสิ่งของดังกล่าวแล้วขึ้นไปบนสะพานไม้เตี้ยๆ หัวสะพานมีพระเข้าทรงจะประทับตราที่หลังเสื้อเป็นเสร็จพิธี

 

        พิธีโข้กุน  เป็น การจัดอาหารเจเลี้ยงขุนพลนายทหารที่มารักษาการ ทางศาลเจ้าจะจัดอาหารใส่กะละมังมาวางเรียงไว้ ชาวบ้านอาจใส่อาหารปิ่นโตมาร่วมพิธีก็ได้ ส่วนใหญ่จะจัดในตอนเย็น

        พิธีเฉี้ยโห้ย   เป็น พิธีกรรมอัญเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์จากชายทะเลมาประดิษฐานในพิธีกรรมต่างๆ เพราะถือว่าไฟเหล่านั้นเดิมเอามาจากเมืองจีน จึงต้องไปอัญเชิญที่ชายทะเล

 

       พิธีอิวเก้งหรือแห่พระรอบเมือง

        เมื่อกินผักไปได้ระยะหนึ่งศาลเจ้าต่างๆก็จะแห่พระไปอวยพรให้ชาวบ้านตามถนนที่กำหนด แล้วแห่พระกลับศาลเจ้า

        ก่อนที่จะออกไปแห่ เจ้าหน้าที่จะจัดขบวนแห่ให้สวยงามถูกต้อง ตามลำดับ คือ

        ขบวนธงไข่หล่อกี๋  เป็นขบวนธงเบิกทางที่เด็กๆเดินเป็นแถวเป็นแนวตามที่ผู้ควบคุมสั่ง เพื่อให้ขบวนหลังตามไปตามทางที่กำหนด

        ขบวนห่งหยี่ เป็นคล้ายเครื่องราชูปโภคของฮ่องเต้ ข้อสังเกตมีมือถือดินสอ มีป้ายสี่เหลี่ยมมีตัวอักษร เดินเป็นคู่ๆ

        ขบวนรถแห่ล่อโก้ว ตีกลองหรือปี่เครื่องดนตรีประจำขบวนรวมทั้งป้ายศาลเจ้าต่างๆที่มาร่วมช่วยแห่

        ขบวนเกี้ยวเล็ก ของเทพเจ้าองค์ต่างๆที่บรรดาหนุ่มทั้งหลายหามกันมาเป็นกลุ่ม

        ขบวนพระเข้าทรง เดินกันมาเป็นกลุ่มเป็นแถวต่างมีอาวุธเหล็กแหลมเสียบมุมปาก บางครั้งจะมีคนอุ้มรูปเทพองค์นั้นเดินเคียงมาด้วย ทำให้รู้ว่าเป็นเทพองค์ใด

        ขบวนเฉ่งหลอ เป็นหม้อดินใส่ไม้หอมจุดไฟควันโขมง

        ขบวนตัวเลี่ยนเกี้ยวองค์ใหญ่ เป็นที่ประทับขององค์กิวอ๋องไต่เต่ ที่คนดูแห่จะคุกเข่าไหว้เพื่อรายงานตัวต่อองค์ท่านพร้อมขอพรด้วย

        ขบวนแห่มังกรหรือสิงโต

        ขบวนรถห้างร้านต่างๆ ที่เข้าร่วมพิธีกินผักปิดท้ายขบวนศาลเจ้าแห่งนี้

        แต่ละขบวนเจ้าหน้าที่จะจัดให้เว้นระยะประมาณ ๑๐ เมตร เพื่อให้ผู้ชมได้ถ่ายรูป และเพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย 

       ฝ่าย ชาวบ้านก็จะตั้งโต๊ะบูชา ประกอบด้วย กระถางธูปเทียน ของหอมหรือหม้อกำยานเผาไม้หอม ผลไม้ ๓ หรือ ๕ หรือ ๗ ชนิด พร้อมถ้วยน้ำชา ๓ จอกหรือมากกว่า และลูกประทัดสำหรับจุดและไหว้เมื่อพระแห่มาถึงหน้าบ้านของตน หากอยู่ในซอยหรือถนนที่ไม่ใช่ทางผ่าน ชาวบ้านก็จะตั้งโต๊ะบูชาเช่นเดียวกัน พระเข้าทรงก็จะแจกฮู้หรือยันต์หรือไหมพรม ให้แก่ผู้ที่ยืนเรียงรายกันข้างถนน

        เมื่อ ถึงเกี้ยวสุดท้ายที่เรียกว่าตัวเลี่ยน เป็นที่ประทับขององค์กิวอ๋องไต่เต่ เจ้าหน้าที่ประจำขบวนจะบอกชาวบ้านให้นั่งลงถวายบังคมพระองค์ และไม่ควรจุดประทัดใส่เกี้ยวองค์นี้ เมื่อมาถึงทุกคนต่างไหว้ พร้อม กราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่าตนชื่ออะไรนามสกุลแซ่อะไร ได้กินผักมากี่วันแล้ว พร้อมทั้งขอพร ขอโชค ขอลาภ ขอให้ตนมั่งมีศรีสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทอง ขอให้กิจการค้าขายก้าวหน้า ขอให้เจริญในหน้าที่การงาน เป็นต้น

        การจุดประทัด  การจุดประทัดเพื่อร่วมสนุกสนานในขบวนแห่ ชาวบ้านจะจุดประทัดใส่เกี้ยวเล็กหรือพระเข้าทรง เพราะพระเข้าทรงบางองค์ชอบเล่นกับการให้ผู้ที่เคารพ จุดประทัดโยนใส่องค์ท่าน ในขณะที่ขบวนผ่านหน้าบ้านหรือสี่แยก  ถ้าหากอยู่ที่ศาลเจ้า จะจุดประทัดในตู้ตามที่ศาลเจ้าแต่ละแห่งจัดให้ เพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่น

        เมื่อเกี้ยวใหญ่หรือตัวเลี่ยนผ่านมา จะคุกเข่าลงไหว้ ไม่สมควรจุดประทัดใส่เกี้ยวนี้

        ธงประเภทต่างๆ  ในเทศกาลกินผักจะเห็นธงติดไว้ตามที่ต่างๆ เช่นข้างถนนตามเสาไฟฟ้า บริเวณสามแยกหรือสี่แยก  รวมทั้งบริเวณศาลเจ้า

        ธงเหล่านี้มีความหมายต่างๆคือ

        ธงขององค์จงตันหงวนโส่ย หรือหลี่โลเชีย จะมีชื่อขององค์ท่าน นำไปประดับหรือติดในเขตปริมณฑลออกไปจากศาลเจ้าตรงหนทางที่จะเข้ามายังศาล เจ้า ระยะทางจะเป็นเท่าใดพระเข้าทรงจะกำหนด ส่วนหน้าศาลเจ้าตรงประตูหรือซุ้มทางเข้าจะเห็นธงขนาดใหญ่ประดับทั้งสองข้าง ประตู เมื่อหันหน้าเข้าศาลเจ้า ธงด้านซ้ายมือเป็นธงเทพเจ้าฝ่ายบู๊ ( อู่ไฉเสิน ) ส่วนด้านขวามือเป็นธงเทพเจ้าฝ่ายบุ๋น (

เหวินไฉเสิน )

        ธงกิวอ๋องไต่เต่ จะมีพระนามของพระองค์ท่านเป็นธงขนาดใหญ่ นำไปติดตามสามแยกหรือสี่แยก แต่ปัจจุบัน ร้านค้าช่วยทำแล้วนำไปติดตามเสาไฟฟ้าตลอดแนวถนนสายต่างๆ ที่เห็นเป็นสีเหลืองมีอักษรสี่ตัวเรียงจากบนลงล่าง คือคำว่า กิวอ๋องไต่เต่

        ธงองค์ผู้เป็นประธานศาลเจ้าแห่งนั้นๆ เช่นศาลเจ้ากวนอูสะปำ ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือสามกอง เป็นต้น

        ธงเตี่ยนฮู้หงวนโส่ย

        ธงซ่งจิ้นเบ๋ง เป็นธงของเทพชุมนุมเทพเจ้าองค์ต่างๆ

        ม้าทรง   ใน ช่วงเทศกาลกินผัก เป็นเวลาที่พวกม้าทรงเทพเจ้าจีนพากันมาชุมนุมมากที่สุดหลายร้อยคน กระจายไปสังกัดยังศาลเจ้าต่างๆที่จัดงานกินผักเป็นประจำปี บางคนเป็นเอกเทศไม่ขึ้นกับใคร ศาลเจ้าบางแห่งที่ไม่ได้จัดการกินผักแต่ได้จัดเกี้ยวและม้าทรงเข้าไปร่วมแห่ กับศาลเจ้าที่เป็นพันธมิตร

        ม้าทรงเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด

        กล่าว กันว่า คนที่เทพเข้าจับมาเป็นม้าทรง เป็นเพราะมีสาเหตุเพียง ๒ ประการ คือ ประการแรก คนๆนั้นถึงฆาตหมดอายุ เทพจึงสงสารมาช่วยต่ออายุให้ ด้วยการจับมาเป็นม้าให้องค์ท่านขี่หรือเป็นตัวแทน เพื่อให้ดวงวิญญาณของเทพองค์นั้นเข้าสิงชั่วคราว เพื่อสื่อความกับคนอื่นๆได้สะดวกขึ้น เช่นการประกอบกิจกรรมใดๆเกี่ยวกับองค์ท่านหรือส่วนรวม ม้าทรงคนนี้จึงโชคดีที่ยังไม่ถึงที่ตาย เป็นม้าทรงที่เป็นของจริงแท้ เพราะพูดภาษาจีนไม่เป็น แต่พอเทพเข้าทรงปรากฏว่าพูดได้ปร๋อ และจะไม่รู้สึกตัวว่าตนทำอะไร ที่ไหนบ้าง

        อีก ประเภทหนึ่ง เป็นบุคคลที่เทพทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมด้วยเป็นคนดีมีศีลธรรมมีความ กตัญญู จึงสมควรเลือกเป็นม้าให้องค์ท่านขี่ประทับทรงเพื่อสื่อความกับคนอื่นได้ จึงเข้าประทับทรง ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับประการแรกคือเป็นม้าทรงแท้จริง ไม่เคยพูดภาษาจีน แต่เทพเข้าทรงกลับพูดได้คล่อง และไม่รู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรที่ไหนอย่างไร แต่ถ้าเจ้าตัวเริ่มรู้สึกแปลกๆเช่น ผิวหนังเนื้อตัวเริ่มสั่นเต้นยุบยับ จะเป็นเทพหรือพวกผีเปรตวิญญาณเร่ร่อนจะเข้าสิงหรือเปล่าก็ไม่รู้  จงรีบนั่งลงขัดสมาธิตั้งจิตระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า แล้วบอกว่า “ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้เทพองค์ใดมาเข้าประทับทรงในตัวข้าพเจ้า ขอได้โปรดเสด็จออกไปหาคนอื่นประทับทรงเถิด”

        ม้า ทรงทั้งสองประเภทนี้ ได้มีคณะนายแพทย์จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งศึกษาหาข้อมูลความจริง และพบว่า พวกม้าทรงกลุ่มนี้ เมื่อเทพเข้าทรงจะมีลักษณะพิเศษบางส่วนของร่างกาย ที่บุคคลธรรมดาทั่วไปไม่สามารถจะทำได้ ซึ่งยังไม่มีคำตอบว่าเป็นเพราะเหตุใด

        อย่าง ไรก็ตามในปัจจุบันมีม้าทรงเป็นจำนวนมาก ที่มักเข้าใจเอาเองว่า ในขณะที่ตนเคลิ้มไปนั้นเทพกำลังประทับร่างของตน ถ้าหากบังเอิญเขาหรือเธอมีสัมผัสที่หกอยู่ด้วย ก็จะโมเมเอาว่า เทพเข้าประทับทรง ถึงกับเชื่อมั่นมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง เห็นเขาทำได้ฉันก็ทำได้ ไม่เห็นยากเย็นตรงไหน เหมือนพวกเด็กเล่นแห่พระเข้าทรง สั่นหัวพูดอ้อแอ้ ก็เท่านั้น ซึ่งทำให้สถาบันม้าทรงต้องเสื่อมเสีย และทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาของคนทั่วไป คนจึงไม่ยอมยกมือไหว้เทพเข้าทรง แต่กลับไปไหว้เทพบนเกี้ยวแทน หรือไหว้เทพเข้าทรงที่เขาเชื่อถือ คณะกรรมการศาลเจ้าต่างๆก็รู้พฤติกรรมของม้าทรงเหล่านั้น แต่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร เขาเพียงแต่บอกว่า อย่าทำอะไรให้ผิดก็แล้วกัน

        ด้วย ม้าทรงจำนวนมากปะปนกันไป ปัญหาความสะอาดของบรรดาอาวุธที่เอามาทิ่มแทงในร่างกาย ไม่สะอาดพอ ศาลเจ้าบางแห่งจึงเขียนเตือน ห้ามม้าทรงใช้ของเหล่านั้นร่วมกัน อีกประการหนึ่งศาลเจ้าชานเมืองมักไม่สนใจเก็บอาวุธเหล่านั้น เมื่อสิ้นเทศกาล ปล่อยกองทิ้งไว้จนขึ้นสนิมเขลอะ เด็กๆเอามาเล่นดูหวาดเสียวแทน จึงควรทำความสะอาดเก็บเข้าตู้ให้เรียบร้อย ไม่ควรเอามาวางไว้บนแท่นบูชา หรือบนโต๊ะคลุมผ้าไว้ในศาลเจ้าก็ไม่เหมาะสม ผู้กำกับม้าทรงของศาลเจ้าแห่งนั้นๆหรือผู้จัดการศาลเจ้าจึงต้องดูแลรับผิด ชอบเรื่องนี้ รวมทั้งตัวม้าทรงด้วย

        ใครทำให้เสื่อมศรัทธา  ก็พวกเรากันเองนั่นแหละ

 

        ปัจจุบันศาลเจ้าหลายแห่งจึงเขียนป้ายติดไว้ว่า ห้ามบุคคลใดนำม้าทรงเข้ามาทรงในศาลเจ้าแห่งนี้

        ถ้าหากบังเอิญเราเป็นม้าทรงสองกลุ่มแรก เราจะดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร ขอแนะนำว่า

๑) กินเจตลอดไป หรือทุกวันโฉ่ยอีดจับหง่อ หรือวันแซยิด หรือเลือกเอาเวลาที่เหมาะสมในแต่ละเดือน เช่นกินผักในวันแซยิดของเทพองค์ต่างๆในแต่ละเดือนตามลัทธิเต๋า

๒)  ถือศีล ๕ ให้ครบทุกข้อเป็นประจำวัน

๓)  ทำบุญให้ทานตามหน้าเทศกาลต่างๆ เพื่อเสริมบารมีของตน

๔)  ฝึกนั่งสมาธิสำรวมจิตให้มั่นคง โดยมีครูผู้แนะนำเพื่อจะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง

๕)  ชำระร่างกายและจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ อนาคตท่านอาจจะเป็นเซียนก็ได้

                         ฯลฯ

 

๙.    เทพเจ้าที่กล่าวถึงในพิธีกรรม

        มีเทพเจ้าหลายองค์ที่กล่าวถึงในพิธีกรรมดังกล่าวคือ

 

เทพเจ้าหยกอ๋องส่องเต่ หรือ อวี้หวงซั่งตี้ ผู้เป็นเทพเจ้าสูงสุดฝ่ายบริหารจัดการบนสวรรค์ ผู้ดูแลทุกชั้นฟ้า ชั้นดินและน้ำ รวมทั้งมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย จึงอัญเชิญพระองค์มาร่วมพิธีกินผัก เพราะธรรมดาเสวยพระกระยาหารเจอยู่แล้ว

 

เทพเจ้ากิวอ๋องไต่เต่ หรือ จิ่วหวงต้าตี้  ทรงเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ๙ พระองค์ของชาวจีนในสมัยโบราณ ที่เรียกกันว่า ซานหวงอู่ตี้ 三皇五帝 ผู้ทรงมีคุณูปการต่อชาวจีนและประเทศจีนอย่างใหญ่หลวง เป็นผู้ทรงริเริ่มให้มี การใช้ไฟในการหุงต้ม เครื่องนุ่งห่ม การเกษตร  สถาปัตยกรรม ประติมากรรม การแพทย์ ศิลปกรรม ภาษาจีน ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ประการสำคัญอีกอย่างคือ ทรงเป็นต้นแซ่ทั้งหลายที่บรรดาชาวจีนใช้มาหลายพันปีจนถึงในปัจจุบัน กิวอ๋องไต่เต่จึงไม่ใช่พระโพธิสัตว์ ๗+๒ องค์ ตามที่บางคนอุปโลกน์ใช้กัน ทำให้ชาวจีนบางกลุ่มลืมกำพืดของตนเองไป จะจริงหรือไม่ลองเหลือบขึ้นไปดูบนแท่นบูชาตามศาลเจ้าต่างๆ ที่ประดิษฐานเทพชุมนุมทั้งหลายก็แล้วกัน นั่นคือคำตอบ

 

พระนามสมเด็จพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง ๙ พระองค์ คือ

 

.   ฝูซี     伏羲       เป๋าซี  庖牺 , 庖犧    

.  เสินหนง  神農 , 神农 เอี๋ยนตี้ 炎帝  อู่กู่เซียนตี้  五穀先帝 

.  ซุ่ยเหยิน  燧人      

.   หวงตี้    黄帝

.  เส้าเฮ่า  少昊    จินเทียนซื่อ  金天

.  เจวียนชวี  顓頊 , 颛顼   เกาเอี๋ยง 高陽

.  ตี้คู่  帝嚳   

.  ตี้เหยา    帝堯  เหยาถังซื่อ 陶唐氏   ถังเหยา  唐堯.

.  ซุ่นตี้   舜帝   

 

บางแห่งถือเอาพระนามดังนี้

 

๑.  ฝูซี     伏羲            ก่อน ค.ศ. ๒๘๕๒ – ๒๗๓๗

๒.  เสินหนง神農 , 神农  ก่อน ค.ศ.  ๒๗๓๗ – ๒๖๙๙

๓.  หวงตี้  黄帝            ก่อน ค.ศ.  ๒๖๙๙ – ๒๕๘๘

๔.  เส้าเฮ่า  少昊          ก่อน ค.ศ.  ๒๕๘๗ – ๒๔๙๑

๕.  เจวียนชวี顓頊 , 颛顼  ก่อน ค.ศ.  ๒๔๙๐ – ๒๔๑๓

๖.  ตี้คู่  帝嚳                ก่อน ค.ศ.  ๒๔๑๒ – ๒๓๔๓

๗.  ตี้เหยา    帝堯          ก่อน ค.ศ.  ๒๓๓๓ – ๒๒๓๔

๘.  ซุ่นตี้   舜帝            ก่อน ค.ศ.  ๒๒๓๓ – ๒๑๘๔

๙.  ต้าอวี่  大禹             ก่อน ค.ศ.  ๒๑๘๓ - ๒๑๗๗

 

บางแห่งนำพระนาม ข้างล่างนี้ไปสลับก็มี  คือ

๑.  พระนางหนิ่วอวา   女媧 , 女娲 

๒.  อิ่วฉาว  有巢   

๓.  ต้าอวี่   大禹

                                *****

เทพเจ้าเล่าเอี๋ย หรือ ฮ่องเต้ถังหมิงหวง   ผู้เป็นประธานในพิธีกินผัก ในศาลเจ้าแต่ละแห่งที่จัดขึ้น ตามวันที่กำหนดแต่ละปี ส่วนเทพเจ้าประจำศาลเจ้าในแต่ละแห่ง ถือเป็นเพียง ผู้อนุญาตให้มีการจัดงานการกินผักเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากยึดเอาการกินผักเก้าวันตามเทศกาลนี้ จึงต้องเคารพองค์ประธานการกินผัก คือ องค์เล่าเอี๋ย เป็นหลัก 

 

 

เป่ยเติ้วซิงจวินและหนานเติ้วซิงจวิน

        เป่ย เติ้วซิงจวินคือเทพเจ้ากลุ่มดาวเหนือ มีองค์ประธานคือเป่ยเติ่วซิงจวินและกลุ่มดาวบริวารอีก ๗ องค์ ผู้มีหน้าที่ในการกำหนดการสิ้นอายุขัยของมวลมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นผู้ถือบัญชีการตาย ส่วนหนานเติ้วซิงจวินเป็นกลุ่มดาวทางทิศใต้มีหนานเติ้วซิงจวินเป็นหัวหน้ามี กลุ่มดาวบริวาร ๖ องค์ มีหน้าที่กำหนดการเกิดของสัตว์โลกทั้งหลาย หรือเป็นผู้ถือบัญชีการเกิดของสัตว์โลก

        ดังนั้นผู้ประกอบพิธีอัญเชิญ จึงต้องเชิญองค์ผู้เป็นประธานในกลุ่มดาวเหนือและดาวใต้ตลอดจนเทพบริวารลงมาด้วย รวมทั้งหมด ๑๕ องค์

 

ชิดแชเหนียว

        ชิด แชเหนียวเป็นเทพธิดาแห่งดวงดาว ๗ องค์ ผู้เป็นพระธิดาของหยกอ๋องส่องเต่ มีอยู่องค์หนึ่งชื่อ จือหนิ่ว เป็นองค์สุดท้อง ได้กระทำผิดกฎสวรรค์ลงมาได้สามีมนุษย์ชื่อ หนิวหลาง ต่อมาได้ขึ้นไปสวรรค์ทั้งคู่ แต่กว่าจะพบกันได้เพียงปีละครั้ง คือ วันที่ ๗ ค่ำ เดือน ๗ เท่านั้น ในช่วงเทศกาลกินเจจึงได้ประกอบพิธีบวงสรวงเทพธิดาทั้ง ๗ องค์ ในวันที่ ๗ ค่ำ เดือน ๙

                

 ขุนพลนายทหาร   เทพเจ้า แต่ละองค์จะมีราชองครักษ์ผู้มียศทหารแตกต่างกันไปรวมทั้งจำนวนด้วย ยศทหารตั้งแต่ หงวนโส่ยหรือเอวี๋ยนโซ่วคือยศจอมพล จวินกวนคือนายทหาร เจี้ยงกวนหรือเจียงจวินคือนายพล เซี่ยวกวนคือนายพัน เว่ยกวนคือนายร้อย จวินซื่อคือนายสิบ และจวินเหยินหรือซื่อปิงคือพลทหาร ขุนพลนายทหารเหล่านี้มียศสูงต่ำ แล้วแต่องค์ประธานศาลเจ้าแต่ละแห่งว่ามียศหรือบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ระดับใด เช่น เทพเจ้าเล่าเอี๋ยผู้ทรงเป็นฮ่องเต้ หลิมฮู้ไท่ซือมีฐานันดรศักดิ์ระดับอ๋อง

        ส่วนเทพเจ้าสูงสุดแต่ละองค์  จะมีราชองครักษ์มียศเป็น หงวนโส่ยหรือจอมพลจำนวน ๓๖ องค์ หรือยศนายพลจำนวน ๓๖ องค์ เทพเจ้าบางองค์มีราชองครักษ์ระดับหงวนโส่ย ๔ องค์ มีจวินกวน ๓๖ องค์  เป็น ต้น แต่มีเทพเจ้าระดับจอมพลหรือหงวนโส่ย ผู้มีหน้าที่ปกป้องรักษาสวรรค์ แต่เดิมมี ๑๖ องค์ ซึ่งลัทธิเต๋าจะอัญเชิญมาร่วมงานเทศกาลที่สำคัญหรือมีพิธีที่สำคัญ  ได้แก่

 

        อิ่วเถียนเทียนจวิน 雨田天君 /   ซินซิ่งเทียนจวิน 辛興天君 / เติ้งเซิ่งเทียนจวิน 鄧成天君 / อินเจียวเทียนจวิน 殷郊天君 /   จ้าวกงหมิงเทียนจวิน 趙公明天君 / ไป๋หู่เทียนจวิน 白虎天君 /  คังซีเทียนจวิน 康席天君 /  หลิวจวิ้นเทียนจวิน 劉俊天君 /

หวางซ่านเทียนจวิน 王善天君 /  จางเฟยเจ๋ยเทียนจวิน 張飛捷天君 / หม่าหัวกวงเทียนจวิน 馬華光天君 / กาวเอวี๋ยนเทียนจวิน

高原天君  /   โจวก่วงเจ๋อเทียนจวิน 周廣澤天君 /  เวินเฉี่ยงเทียนจวิน 溫瓊天君 / เมิ่งซานเทียนจวิน 孟山天君 /   ชิงหลงเทียนจวิน 青龍天君

 

        ดังนั้นขุนพลนายทหารที่อัญเชิญมากินเลี้ยงจึงมีอยู่ ๓ กลุ่ม คือ

        จอมพลนายทหารผู้พิทักษ์สวรรค์ ๑๖ องค์ 

        ราชองครักษ์ผู้ติดตามองค์หยกอ๋องส่องเต่ และองค์กิวอ๋องไต่เต่

        ราชองครักษ์ และกลุ่มนายทหารและพลทหารของผู้เป็นองค์ประธานของศาลเจ้าแห่งนั้นๆ

        ผู้ เขียนคิดว่า ผู้ประกอบพิธีกรรมคงจะได้อัญเชิญตามนี้และคงจะได้อัญเชิญขุนนางฝ่ายพลเรือน ที่ติดตามพระองค์ท่านมาร่วมกินเจและกินของคาวในวันที่สิบและอัญเชิญกลับด้วย เช่นเดียวกัน

 

 

๑๐.   ข้อควรปฏิบัติในเทศกาลกินผัก

         ได้มีการกำหนดข้อควรปฏิบัติในเทศกาลกินผักไว้ดังนี้

 

๑)   ชำระร่างกายให้สะอาดตลอดช่วงการกินผัก

๒)   ไม่ฆ่าสัตว์

๓)   ไม่พูดเท็จ

๔)   ไม่ลักขโมย

๕)   ไม่ดึ่มสุราของมึนเมา

๖)   ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกินผัก

๗)   ประพฤติตัวดีทั้งกายและใจ

๘)   ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์

๙)   ผู้ที่อยู่ระหว่างไว้ทุกข์ ไม่ควรร่วมพิธีกินผัก

๑๐)  หญิงมีครรภ์ไม่ควรร่วมพิธีกรรมใดๆในช่วงเทศกาล

๑๑)  หญิงมีประจำเดือนไม่ควรร่วมพิธีกรรมใดๆในช่วงเทศกาล

๑๒)  ผู้ที่ไม่กินผักห้ามเข้าร่วมพิธีหรือแตะต้องสิ่งของเครื่องใช้ทุกชนิด

๑๓)  ควรสวมชุดขาวในช่วงเทศกาลกินผัก

๑๔)  ทำความสะอาดเครื่องใช้ในครัวที่จะใช้ในการกินผัก หากมีคนในบ้านไม่กินผัก จะต้องแยกเครื่องใช้ออกต่างหาก เช่น  จานช้อน หม้อแกง ฯลฯ

 

๑๑.   ตารางเทศกาลกินผัก   ปีพ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๘๐

 

๒๕๕๒  วันอาทิตย์ ที่ ๑๘ ตุลาคม – วันจันทร์ ที่ ๒๖ ตุลาคม

๒๕๕๓  วันศุกร์ ที่ ๘ ตุลาคม – วันเสาร์ ที่ ๑๖ ตุลาคม

๒๕๕๔  วันอังคาร ที่ ๒๗ กันยายน – วันพุธ ที่ ๕ ตุลาคม

๒๕๕๕  วันจันทร์ ที่ ๑๕ ตุลาคม – วันอังคาร ที่ ๒๓ ตุลาคม

๒๕๕๖  วันเสาร์ ที่ ๕ ตุลาคม – วันอาทิตย์ ที่ ๑๓ ตุลาคม

๒๕๕๗  วันพุธ ที่ ๒๔ กันยายน – วันพฤหัสบดี ที่ ๒ ตุลาคม

๒๕๕๘  วันอังคารที่ ๑๓ ตุลาคม – วันพุธ ที่ ๒๑ ตุลาคม

๒๕๕๙  วันเสาร์ ที่ ๑ ตุลาคม – วันอาทิตย์ ที่ ๙ ตุลาคม

๒๕๖๐  วันศุกร์ ที่ ๒๐ ตุลาคม – วันเสาร์ ที่ ๒๘ ตุลาคม

๒๕๖๑  วันอังคาร ที่ ๙ ตุลาคม – วันพุธ ที่ ๑๗ ตุลาคม

๒๕๖๒  วันอาทิตย์ ที่ ๒๙ กันยายน – วันจันทร์ ที่ ๗ ตุลาคม

๒๕๖๓  วันเสาร์ ที่ ๑๗ ตุลาคม – วันอาทิตย์ ที่ ๒๕ ตุลาคม

๒๕๖๔  วันพุธ ที่ ๖ ตุลาคม – วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ ตุลาคม

๒๕๖๕  วันจันทร์ ที่ ๒๖ กันยายน – วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม

๒๕๖๖  วันอาทิตย์ ที่ ๑๕ ตุลาคม – วันจันทร์ ที่ ๒๓ ตุลาคม

๒๕๖๗  วันพุธ ที่ ๓ ตุลาคม - วันศุกร์ ที่ ๑๑ ตุลาคม

๒๕๖๘ วันอังคาร ที่ ๒๑ ตุลาคม - วันพุธ ที่ ๒๙ ตุลาคม

๒๕๖๙ วันเสาร์ ที่ ๑๐ ตุลาคม - วันอาทิตย์ ที่ ๑๘ ตุลาคม

๒๕๗๐ วันพฤหัสบดี ที่ ๓๐ กันยายน - วันศุกร์ ที่ ๘ ตุลาคม

๒๕๗๑ วันพุธ ที่ ๑๘ ตุลาคม - วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ ตุลาคม

๒๕๗๒ วันจันทร์ ที่ ๘ ตุลาคม - วันอังคาร ที่ ๑๖ ตุลาคม

๒๕๗๓ วันศุกร์ ที่ ๒๗ กันยายน - วันเสาร์ ที่ ๕ ตุลาคม

๒๕๗๔ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ ตุลาคม  - วันศุกร์ ที่ ๒๔ ตุลาคม

๒๕๗๕ วันจันทร์ ที่ ๔ ตุลาคม - วันอังคาร ที่ ๑๒ ตุลาคม

๒๕๗๖ วันศุกร์ ที่ ๒๓ กันยายน - วันเสาร์ ที่ ๑ ตุลาคม

๒๕๗๗ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ ตุลาคม - วันศุกร์ ที่ ๒๐ ตุลาคม

๒๕๗๘ วันจันทร์ ที่ ๑ ตุลาคม - วันอังคาร ที่ ๙ ตุลาคม

๒๕๗๙ วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ ตุลาคม - วันจันทร์ ที่ ๒๗ ตุลาคม

๒๕๘๐ วันศุกร์ ที่ ๙ ตุลาคม - วันเสาร์ ที่ ๑๗ ตุลาคม

                          ฯลฯ

 

        เทศกาล กินผักที่ภูเก็ต ได้จัดงานต่อเนื่องกันกว่าร้อยปีแล้ว จึงกลายเป็นประเพณีของชาวภูเก็ต ต่อมาจังหวัดต่างๆจึงได้จัดกิจกรรมกินผักขึ้นและแพร่หลายทั่วไป จนถึงประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ละแห่งจะมานำเอาเหี่ยวโห้ยและเหี่ยวเอี้ยนไปประดิษฐานที่ศาลเจ้าของตน ชาวภูเก็ตจึงต้องรักษาประเพณีอันดีงามนี้ไว้ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากของเก่า โดยเฉพาะชมรมศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ตควรประชุมตกลงในบางเรื่องที่เห็นว่า กำลังออกนอกลู่นอกทาง ให้เข้ารูปเข้ารอยเหมือนเดิม เพราะประเพณีนี้มิใช่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด แต่เป็นของส่วนรวมที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามแบบแผนเดิม ประเพณีกินผักก็จะอยู่ยืนยาวตลอดไป

 

 

             :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน  ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑

 

Title       :   Vegetarian Festival in Phuket.

 

             :   Somboon Kantakian

 

Credits   :   Somboon Kantakian   16/10/2007

 

Note      :

 

อ่านพระราชประวัติของเทพเจ้าเล่าเอี๋ย หรือ ฮ่องเต้ถังหมิงหวงได้จาก   :

 

www.somboon.info/default.asp

      

 Enlarged.    :  01/10/2552

Updateed     :  30/10/2567

                   

             

 

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง