Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

พระทอง ( พระผุด )

 

 

 

 

        พระทอง หรือ พระผุด เป็นพระพุทธรูปที่ช่างได้ปั้นเพียงครึ่งองค์ เพื่อแสดงว่าผุดขึ้นมาจากพื้นดิน เป็นพระพุทธรูปที่คนภูเก็ตและใกล้เคียงให้ความเคารพ ถือว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง

        พระทอง ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระทอง บ้านนาใน หมู่ที่ ๗ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต วัดพระทองเดิมเป็นทุ่งกว้างมีลำคลองเรียกว่าคลองบางใหญ่ ที่มีต้นน้ำอยู่เขาพระแทว ไหลผ่านบ้านบ่อกรวด บ้านนาใน บ้านดอนออกทะเลพัง

        จากตำนานได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( องค์การค้าของคุรุสภา : ๒๕๐๖ หน้า ๙๔ – ๙๕ ) ว่า “นอกจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับท้าวเทพกษัตรีย์ยังมีชิ้นที่สำคัญในเมืองถลางอีกอย่างหนึ่ง คือ พระผุดที่วัดพระทอง ตามเรื่องที่ผมสืบได้ว่า เดิมทีมีชายผู้หนึ่งจูงกระบือกลับจากนา มาถึงที่ตรงนั้น รู้สึกเหนื่อยจึงลงนั่งพัก ผูกกระบือไว้กับตอไม้อันหนึ่ง ต่อมากระบือนั้นก็มีอาการเจ็บ ตาเจ้าของจึงรู้สึกว่า ตนเห็นจะกระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ผีสางเทวดาจึงลงโทษ กลับไปดูที่ตอผูกกระบือ เห็นเป็นยอดแหลมเหมือนยอดรัศมีพระ จึงกระทำสักการบูชาตามสมควร กระบือก็หายไข้ มีคำเล่าต่อไปว่า มีผู้ได้ไปขุดลงไปพบพระเศียรพระ แล้วจึงมีศรัทธาจัดการก่อพระพุทธรูปสวมพระที่ผุดนี้ ก่อด้วยอิฐถือปูน มีแต่พระเศียรกับพระองค์เพียงแค่พระทรวง เพื่อให้ดูเหมือนผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ฝีไม้ลายมือที่ทำก็กระนั้นแหละ แต่ต้องชมว่าเขากล้า มีคนน้อยคนที่จะกล้าทำพระเล่นแต่ครึ่งองค์เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงต้องยอมว่าเป็นของควรดูอย่างหนึ่ง...”   

        นอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับพระผุดว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปมาจากเมืองจีน มีสามองค์ พระผุดเป็นองค์หนึ่งในสามองค์นั้น ซึ่งน่าจะเป็นคติพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบจีน  คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า หรือพระเชกเกียโหม่วหนี่ฮุด เป็นองค์ประธาน องค์ขวาขององค์ประธานคือ พระอมิตาพุทธเจ้า หรือพระออมิถ่อฮุด ส่วนองค์ซ้ายขององค์ประธานคือพระไภษัชยะพุทธเจ้า หรือพระเอียะซือฮุด ทั้งสามองค์เรียกว่า ส่ามปอฮุดโจ้ว

        แต่ถ้าจะนับเอาแบบองค์พระเป็นสีทอง ก็ต้องเป็นพระโพธิสัตว์สามพระองค์ตามคติฝ่ายมหายานเช่นเดียวกัน คือองค์ที่หนึ่งผิวพรรณเหลืองอร่ามดั่งทองคำคือ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ องค์ที่สองสีเหลืองแกมเขียวหรือน้ำตาลอมเทาคือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และองค์ที่สามสีขาวคือพระเมตรไตรโพธิสัตว์

        เหตุใดจึงมีคตินำเอาพระพุทธเจ้าสามพระองค์ ประดิษฐานเป็นพระประธาน ในวัดพระนางสร้าง ตำบลเทพกระษัตรี และ วัดพระขาวหรือสำนักสงฆ์พระขาว ที่บ้านป่าสัก ตำบลเชิงทะเล ในอำเภอถลาง

        ในปีพ.ศ. ๒๐๘๒ นายเมนเดช ปิ่นโต (Mandez Pinto) ได้เดินทางผ่านเกาะถลาง เขาได้บันทึกไว่ว่า ที่เกาะถลางมีคนจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากชาวโปรตุเกส แขกขาวแขกดำชาวอินเดีย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ. ๒๒๔๓ – ๒๒๖๒ นายอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) เขาได้เดินทางมาเกาะถลาง พบว่ามีผู้ว่าราชการเป็นชาวจีนติดต่อกันหลายคน  

        ระหว่างพ.ศ. ๒๓๑๒ – ๒๓๑๖ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงส่งนายคางเซ่งหรือคางเส็ง ให้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองถลาง

        เมื่อผู้ว่าราชการเมืองถลางเป็นคนจีนหรือเชื้อสายจีน และพ่อค้าชาวจีนที่ทำมาหากินในเมืองถลาง ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้นำเอาคติแบบมหายาน ด้วยการสร้างพระพุทธรูปสามองค์เป็นพระประธานในโบสถ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนสามองค์ที่วัดพระนางสร้างที่เหลือแต่พระเศียร ที่พวกพม่าเผาลอกเอาทองหรือทองสัมฤทธิ์กลับไปนั้น น่าจะนำมาจากกรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าเมืองที่เป็นคนจีนที่ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้มาเป็นเจ้าเมืองถลาง พระพุทธรูปทั้งสามองค์น่าจะลำเลียงใส่เรือสำเภามาประดิษฐานที่วัดพระนางสร้าง เพราะดูลักษณะแล้วเป็นฝีมือสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และน่าจะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องด้วย    

        ดังนั้นคติความเชื่อว่า พระผุดเป็นองค์หนึ่งในสามองค์ของชาวจีนในภูเก็ตและใกล้เคียง จึงเป็นดังที่ว่ามานี้

        การสงครามระหว่างเมืองถลางกับพม่า ด้วยเหตุเมืองถลางมีรี้พลประมาณสองพันเศษ แต่ทหารพม่ามีถึงหมื่นสามพันเศษ พม่าล้อมเมืองอยู่ ๒๗ วัน เมืองถลางถูกตีแตกเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๕๓ (ของไทยยังอยู่พ.ศ. ๒๓๕๒) พม่ากวาดต้อนผู้คนประมาณสามร้อยคน เก็บเอาปืนใหญ่น้อย ดีบุก ทรัพย์สมบัติต่างๆกลับไป แล้วเผาทำลายบ้านเมืองสิ้น แล้วรีบลงเรือที่อ่าวยามูกลับเมือง เพราะเกรงว่ากองทัพไทยจะยกมาช่วย ต่อมาอีกสามเดือนในเดือนพฤษภาคม อะเติงวุนสั่งให้ตอยาโปยกทัพลงมาสร้างเมืองถลางขึ้นใหม่ให้มีคูน้ำล้อมรอบ แต่กองทัพพม่าถูกพายุล้มหายตายไปเหลือเพียงสามร้อยเศษ เข้าใจว่าตอยาโปเป็นคนสั่งให้จุดไฟเผาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ที่วัดพระนางสร้างเพื่อลอกเอาทอง ส่วนพระทองที่วัดนาใน จากตำนานกล่าวว่า พม่ารู้ข่าวว่าพระผุดที่ทางวัดเอาปูนขาวพอกพระเกตุไว้นั้นที่แท้คือพระทองคำที่ฝังอยู่ในดิน นายทหารพม่าจึงให้ทหารขุดลงไป ปรากฏว่าเป็นรังมดคันจำนวนมาก กัดทหารพม่าปวดแสบปวดร้อน พม่าพยายามขุดลงไป จนเห็นพระพักตร์ แต่จำนวนมดมีมาก พม่าขุดลงไปถึงพระศอ แต่ทหารพม่าต้องอดอยากด้วยเมืองถลางร้าง ทหารที่ไปซื้อข้าวที่เมืองทวายก็ถูกทหารไทยจับกุม ต่างอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก จนทัพหัวเมืองปักษ์ใต้ยกมาปราบปรามจนหมดสิ้น

        ส่วนพระทองก็คงขุดค้างอยู่แค่พระศอ  ไม่สามารถขุดลึกลงไปได้ วัดนาในถูกทิ้งร้างไปนาน จนมีพระธุดงค์รูปหนึ่งจาริกมาจากจังหวัดสุโขทัย ปักกลดข้างองค์พระผุด ท่านจึงชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันก่อองค์พระให้สูงขึ้นเพียงครึ่งองค์ แล้วสร้างอาคารคร่อมเป็นโบสถ์ ถือเอาพระทองเป็นพระประธานของโบสถ์ ต่อมาได้มีการพัฒนาอาคารเสนาสนะ จนเป็นวัดที่สมบูรณ์  

        พระทองหรือพระผุด จึงเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองถลางและใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ ส่วนชาวจีนจะพากันมาเซ่นไหว้ในช่วงเทศกาลเป็นประจำ และเป็นส่วนหนึ่งของคำแนะนำการท่องเที่ยวภูเก็ต สำหรับคนเชื้อสายจีน

 

 

 

                :    สมบูรณ์ แก่นตะเคียน   ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔

 

 

       

      

        

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง