Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

ศาลเจ้าบางเหนียวต่าวบู้เก้ง

 

 

 

        ศาลเจ้าบางเหนียว หรือ  ศาลเจ้าต่าวบู้เก้งหรือ ศาลเจ้าฉ้ายตึ๋ง  ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๗ ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยย้ายองค์เทพเจ้าเล่าเอี๋ย มาจากตรอกมาเก๊าหรืออ่างอ้าหล่าย หรือซอยรมณีย์ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ระหว่างถนนดีบุกกับถนนถลางในตัวเมืองภูเก็ต

        จำเดิมความ เมื่อชาวจีนได้เข้ามาทำมาหากินในเขตประเทศสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งเมืองถลางด้วย เมื่อพม่าตีเมืองถลางแตกและถูกเผาทำลายเสียสิ้นในพ.ศ. ๒๓๕๒ ต่อมาได้มีการสร้างเมืองถลางขึ้นมาใหม่โดยพระยาถลางเจิม นายแก้วบุตรพระยาถลางได้มาช่วยหลวงวิชิตภักดี เก็บส่วยสาอากรดีบุกที่เมืองเก็ตโห เขตในทูหรืออำเภอกะทู้ในปัจจุบัน ต่อมาได้เป็นพระภูเก็จ ( แก้ว )และได้ขยายการขุดหาแร่ดีบุกไปยังตำบลทุ่งคา จนทำให้เกิดเป็นเมืองทุ่งคาที่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้กุลีหรือกรรมกรเหมืองแร่ดีบุกไม่พอต่อความต้องการของนายเหมือง พระภูเก็จจึงเดินทางไปกรุงเทพฯ จ้างคนจีนไหหลำจำนวน ๓๐๐ คนลงมาทำงานที่เมืองทุ่งคา ชาวจีนส่วนใหญ่เดินทางจากมณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน มณฑลกว่างตง และเขตใกล้เคียงเข้ามาทำงานอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนกันหลายหมื่นคน กระจายไปตามแหล่งขุดแร่ดีบุกทั้งในทู เมืองทุ่งคาและใกล้เคียง

        ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้พวกเขาตามมาคือ โรงสูบฝิ่น หญิงโสเภณีจีน บ่อนการพนัน โกปี่เตี่ยมหรือร้านกาแฟ ร้านขายยา ร้านขายของกิน ขายหมี่ ขายข้าวต้ม ขายอุปกรณ์ทำเหมือง รวมทั้งแหล่งบันเทิง อย่างโรงงิ้ว หุ่นกระบอก ดนตรีและการขับร้องเพลงจีน เป็นต้น โดยเฉพาะที่เป็นแหล่งหลักคือ ตรอกอ่างอาหล่ายซึ่งมีครบทุกรส โดยเฉพาะการแสดงงิ้วที่ปักหลักแสดงกันเป็นปี แต่เปลี่ยนเรื่องที่แสดงไปเรื่อยเพื่อผู้ชมจะได้ไม่เบื่อ คณะงิ้วชุดนี้คือคณะกังฉ้ายฮี่คงเช่นเดียวกับชุดที่แสดงตลาดในทู เมื่อถึงวันที่ ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันที่ ๙ ค่ำเดือน ๙ ต่างสร้างโรงกินผักแบบง่ายๆ ด้วยหลังคามุงจากกั้นตับจากไว้หน้าโรงงิ้ว แล้วนำเอากิมสีนองค์เล่าเอี๋ยและป้ายซินจู้กิวอ๋องไต่เต่ ป้ายซินจู้หยกอ๋องส่องเต่ออกมาสักการะในพิธีกินผักของพวกตน ทำให้ชาวจีนที่มาดูพิธี และดูงานแสดงงิ้วต่างเลื่อมใสเทพเจ้าดังกล่าวแล้ว เพราะคนจีนที่มาทำเหมืองส่วนใหญ่ จะสร้างศาลเจ้าพระภูมิเจ้าที่คือ ปุนเถ่ากงเป็นหลัก

        แต่ด้วยเหตุบังเอิญ เกิดไฟไหม้ตรอกอ่างอาหล่ายขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๗  คนท้องที่จึงรีบย้ายองค์เล่าเอี๋ย และกระถางธูปอุปกรณ์ในปะรำพิธีออกมาได้ รวมทั้งป้ายซินจู้ด้วย  พวกหัวหน้าคนจีนที่ทำมาหากินในแถบนั้น รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน จึงประชุมร่วมกันว่า น่าจะสร้างโรงกินผักขึ้นใหม่แบบกึ่งถาวรให้เป็นศาลเจ้า ต่างออกความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายบ้านบางเหนียวมี นายตู่เกี้ย แซ่ตัน นายแดง แซ่โก้ย นายสุ่ยกิ้ม แซ่จึ่ง นายเซียะกะ แซ่ตัน นายหง่อ แซ่ตัน กับฝ่ายชาวบ้านตลาดเหนือมีผู้ใหญ่บ้านคือนายสุ่ยติ่น แซ่เอี๋ยว นายจีเต๊ก แซ่เจี่ย นายสุ่น และคนอื่นๆอีกหลายคน ต่างก็ต้องการให้ไปสร้างที่ตำบลบ้านของตน ที่ประชุมจึงตกลงกันไม่ได้ สรุปก็คือ ต่างฝ่ายต่างไปสร้างศาลเจ้าโรงเจขึ้นที่ตำบลบ้านของตน ฝ่ายบ้านบางเหนียวได้เอาองค์พระเล่าเอี๋ยหรือเตี่ยนฮู้หงวนโส่ยไป และได้ดำเนินการก่อสร้างในปีเดียวกันนั้นเอง ชาวบ้านตลาดเหนือเอากระถางธูปเหี่ยวโห้ยไป และคงจะมีซินจู้องค์กิวอ๋องไต่เต่   และหยกอ๋องส่องเต่ไปด้วย คงเอาไปเก็บในที่ที่ปลอดภัย จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๕๐ จึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

 

        คณะชาวบางเหนียว เมื่อนำองค์เล่าเอี๋ยมาไว้ที่บ้านบางเหนียวแล้ว จึงหาที่ที่จะสร้างศาลเจ้า ก็ได้บริเวณที่ว่างซึ่งเป็นบ้านเลขที่ ๓๘๔ – ๓๘๖ ถนนภูเก็ตในปัจจุบัน   ชาวบ้านจึงช่วยกันออกเงินซื้อตับจากและไม้ แล้วปรับพื้นที่ก่อสร้างเป็นหลังคามุงจากกั้นด้วยตับจากหลังเล็กๆ  ชาวบ้านบางเหนียวจึงทำพิธีเซ่นไหว้ และขอในสิ่งที่ตนต้องการ เมื่อถึงเทศกาลกินผัก ต่างก็มากินผักกันทุกปี

 

 

        ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ เกิดเพลิงไหม้ศาลเจ้าขึ้น ด้วยตัวศาลเจ้าเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงนำอุปกรณ์เหี่ยวโห้ยย้ายไปฝั่งตรงกันข้ามที่ไฟไหม้ บริเวณที่ว่างซึ่งเป็นบ้านเลขที่ ๑๙๓ – ๑๙๕ ในปัจจุบัน บริเวณที่ตรงนี้เป็นที่ของเอกชน แล้วสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ใช้วัสดุก่อสร้างเช่นเดิมคือ มุงหลังคาจาก กั้นตับจาก ปรับพื้นดินให้เรียบรูปแบบเรือนกว้าน ต่อมาคงจะได้ปูพื้นซีเมนต์ แต่หลังคายังคงเป็นตับจากอยู่

 

        ในช่วงเทศกาลกินผัก ชาวบ้านต่างพากันมากินผักจำนวนมากขึ้น จึงมีบุคคลคณะหนึ่ง คือ ขุนเลิศโภคารักษ์ นายตันเข้กิ๋ว นายตันจ่งจ๋าว นายตันจ่ายโพ้ นายอ่างอี่ถ่าย นายอ๋องหงิ่มเส่ง นายเกียรติ นาวี นายซุนฮก แซ่ตัน นายสุนทร หงส์ล่องกุล นายโห้ยเสี่ยว แซ่หลิม นายเฉ่งหยก แซ่ตัน นายเทียนเต้ง แซ่ตัน นายบุ่นอิ่ม แซ่อ๋าง นายเทียนส่อง แซ่ตัน ได้ประชุมตกลงกันให้เปลี่ยนหลังคาตับจากเป็นหลังคาสังกะสี ซึ่งทำให้ภายในอาคารที่ฝนเคยรั่วก็หายไป แต่ก็ยังติดปัญหาใหญ่ คือที่ดินเป็นของเอกชน ดังนั้นจึงประขุมกันเพื่อหาทุนจัดซื้อที่ดินมอบให้ศาลเจ้า ซึ่งต้องจัดทำกันในรูปแบบของมูลนิธิจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย กรรมการชุดดังกล่าวจึงรวบรวมทุนได้มากพอที่จะซื้อที่ดินบริเวณนั้นได้แล้ว จึงดำเนินการจัดซื้อรวม ๖ แปลง แล้วประชุมกันเพื่อดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารจัดการศาลเจ้าให้รัดกุมยิ่งขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ประชุมจึงได้เลือกบุคคลต่างๆเป็นกรรมการคือ

ขุนเลิศโภคารักษ์                        ประธานกรรมการ

นายเกียรติ นาวี                          รองประธานกรรมการ

นายบุ่นอิ่ม แซ่อ๋าง                       กรรมการผู้จัดการ

นายสุนทร หงส์ล่องกุล                 เหรัญญิก

นายเทียนเต้ง แซ่ตัน                    กรรมการ

 

        เมื่อได้คณะองค์บุคคลแล้วทั้งห้าแล้ว จึงประชุมดำเนินการทำเรื่องขออนุญาตจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ให้ชื่อมูลนิธิว่า “เทพราศี” เพื่อให้เป็นที่ถือศีลกินผักและบำเพ็ญกุศลให้ถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยขุนเลิศโภคารักษ์ เป็นผู้ยื่นคำขอ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คือนายอ้วน สุรกุล เพื่อยื่นต่อกระทรวงมหาดไทยทางกระทรวงมหาดไทยจึงได้อนุมัติให้จัดตั้ง”มูลนิธิเทพราศี”  และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๓๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ คณะกรรมการจึงได้เสนอที่ดินจังหวัด แก้ชื่อบุคคลในโฉนดที่ดินเป็นของมูลนิธิ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมที่ดินจำนวน ๖ แปลง เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๙๓ ตารางวา

 

       ศาลเจ้ามูลนิธิเทพราศี จึงได้เริ่มขยายจากอาคารหลังคาสังกะสี เป็นอาคารตึกให้ใหญ่ขึ้น เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๔ และได้เลือกกรรมการบริหารงาน คือ

 

พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๑๔  นายบุ่นซู่ แซ่ตัน ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๙  จ.ส.ต.สกล วรเนติวงศ์ ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๒๒ นายสิทธิ์ ตัณฑวนิช ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ นายไมตรี บุญสูง ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๓๔ นายไมตรี บุญสูง ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕ นายไมตรี บุญสูง ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘ นายไมตรี บุญสูง ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๑ นายไมตรี บุญสูง ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๔ นายไมตรี บุญสูง ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๗ นายฮับหยี่ โกยสมบัติ ประธานกรรมการ

 

 

พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๐ นายฮับหยี่ โกยสมบัติ ประธานกรรมการ

 

 

        เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ตระกูลงานทวี โดยบริษัทงานทวีพี่น้องจำกัด ได้บริจาคที่ดินที่ติดกับมูลนิธิเทพราศี จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒๖๒ ตารางวา

 

        ถ้าหากมองจากถนนเข้าไปที่ตัวอาคารศาลเจ้า จะเห็นว่า อาคารศาลเจ้าค่อนข้างยาวและมีช่องประตูหลายช่อง เมื่อเข้าไปถึงตัวอาคารจึงเห็นว่า เหมือนกับมีศาลเจ้าเล็กๆซอยย่อยต่อเนื่องกันภายในเดินทะลุกันหมด เว้นแต่ประตูหน้าเท่านั้นที่ต่างศาลเจ้าต่างมีเป็นของตนเอง ซึ่งแสดงชื่อป้ายสำนัก ยกเว้นช่วงศาลเจ้าสุดท้ายทางทิศใต้ที่ไม่มีทางเดินทะลุถึงกัน

        เมื่อหันหน้าเข้าตัวศาลเจ้า ศาลเจ้าแรกคือที่ประดิษฐานองค์เตี่ยนฮู้หงวนโส่ยหรือเทพเล่าเอี๋ย ผู้เป็นองค์ประธานของศาลเจ้าทั้งหมด และเป็นประธานในศาลเจ้าเล็กช่องแรก ด้านในสุดเรียงเทพเจ้าองค์ใหญ่รวม ๘ องค์คือ เตียวเทียนซื่อ เฮียนเทียนส่องเต่ เตี่ยนฮู้หงวนโส่ยองค์ประธาน กวนอู พระเฉ่งจุ้ยโจวสู่กง โปเส้งไต่เต่ โก้ยเส้งอ๋องและครูหมอยาผู้เป็นอาจารย์ของหวดกั้ว ส่วนถัดลงมาเป็นองค์เล็กเป็นเทพชุมนุม เช่น ตันเส้งอ๋อง อ่องสุ้นต่ายส่าย เป็นต้น

        ช่องที่สอง เป็นที่ประดิษฐานเทพต้าซ่งส่ามต่องอ๋องเป็นประธาน ขุนเลิศโภคารักษ์เป็นผู้นำมาประดิษฐาน  เป็นเทพขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ซ่งตอนปลาย ก่อนล่มสลายให้ราชวงศ์หงวน องค์แรกสวมชุดขุนนางสีเหลือง  ชื่อ บุ่นเช้งฮูจื้อ องค์ที่สองสวมชุดสีแดงชื่อลกเช้งฮูจื้อ องค์ที่สามสวมชุดสีดำชื่อ เตียวเช้งฮูจื้อ และมีเทพชุมนุม

        ช่องที่สาม เทพตี่ฮู้อ๋องเอี๋ย เป็นประธาน ใบหน้าร่างกายสีดำสวมชุดขุนนางผู้ใหญ่ เดิมอยู่ที่ถนนตะกั่วทุ่ง เป็นเทพที่ชาวบางเหนียวที่เป็นชาวประมงแถวกอจ๊านนับถือมาก และมีเทพชุมนุม

        ช่องที่สี่   มีพระพ้ออ้ามฮุดจ้อ เป็นประธาน เป็นพระในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ชาวบางเหนียวสกุลแซ่ตันอัญเชิญมาประดิษฐาน มีเทพชุมนุม

        ช่องที่ห้า ส่ามอ๋องฮู้ มีฮ่องเต้เหลียงไท่จู่ ( จูเวิน - แซ่จู )องค์กลาง พระพักตร์สีแดงเป็นประธาน ด้านซ้ายมือขององค์ประธานคือ หวางเซี่ยนจือ ( แซ่เฮง ) อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารของฮ่องเต้เหลียงไท่จู่ ส่วนองค์ด้านขวามือขององค์ประธานคือ หลีจิ้นอ๋อง หรือพระเจ้าหลี่จินหวางแห่งอาณาจักรจิ้น ราชสกุลแซ่หลี่แห่งราชวงศ์ถังที่บุตรและหลาน ฟื้นราชวงศ์ถังขึ้นมาใหม่ องค์อื่นๆเป็นเทพชุมนุม

        ช่องที่หก มีพระกวนอิมโพธิสัตว์ เป็นองค์ประธาน และมีเทพชุมนุม มีใบเซียมซีถามเรื่องทั่วไป และเซียมซีเจียดยา

        นอกจากอาคารหลังใหญ่แล้ว ด้านข้างทางซ้ายมือเป็นสำนักงานในเทศกาลกินผัก รวมทั้งโรงเจด้วย ใกล้กันมีศาลเจ้าหลังเล็ก ประดิษฐานซินจู้ผู้ล่วงลับที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาลเจ้า เช่น ม้าทรง หวดกั้ว เป็นต้น

 

        ศาลเจ้าต่าวบู้เก้งหรือศาลเจ้ามูลนิธิเทพราศีเป็นอีกแห่งหนึ่งที่ชาวภูเก็ตให้ความนับถือไปไหว้ทั้งเวลาปกติและในเทศกาลกินผัก

 

 

 

 

 

              :     สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑

 

 

Title       :     Bangneow Shrine, Phuket Rd. Phuket.

 

             :     Somboon Kantakian

 

Credits   :     Somboon Kantakian  07/07/2008

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง