Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

ศาลเจ้าปุดจ้อ

 

 

 

       

ศาลเจ้าปุดจ้อ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งในภูเก็ต ซึ่งเกิดขึ้นจากชาวเรือที่เข้ามาจอดที่ท่าเรือหมู่บ้านจุ้ยตุ่ย  ศาลเจ้าตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๙ ถนนระนอง บ้านจุ้ยตุ่ย ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง ภูเก็ต

 

 

         ศาลเจ้าปุดจ้อตั้งอยู่ริมเนินเขาเป๋งเอี๋ยนซัว(เป่งอ้านซัว)ซึ่งทอดไปทางทิศใต้ มีถนนพัฒนาท้องถิ่นตัดผ่านสันเนิน บ้านหล่อโรงจนถึงแยกโรงฆ่าสัตว์ บริเวณที่ตั้งศาลเจ้าเป็นหมู่บ้านจุ้ยตุ่ย ด้านหน้าเป็นคลองขนาดใหญ่ที่เรือสินค้าเข้ามาจอดได้ คลองนี้คงกินพื้นที่ไปจนถึงท่าน้ำหน้าศาลเจ้าแม่ย่านางหรือศาลเจ้ามาจอโป๋ ถนนกระบี่ ตรงข้ามอีกฝั่งคลอง คงเป็นป่าจากป่าไม้พังกาและหาดโคลน  พวกชาวเรือคนจีนนำเรือใบสามหลัก เข้ามาจอดเพื่อถ่ายสินค้า และรับสินค้าพวกแร่ดีบุกลงเรือไปเมืองปีนัง ดังนั้นท่าเรือบริเวณนี้น้ำจึงลึกพอสมควร เป็นคลองที่น้ำขึ้นน้ำลงน้ำเค็มเข้าถึง ต่อมาชาวเรือจึงได้สร้างอาคารไม้หลังเล็กๆหลังคามุงจาก ตั้งองค์เทพกวนอูไว้สักการะ ชาวบ้านจุ้ยตุ่ยต่างก็มาสักการะเซ่นไหว้เป็นที่พึ่งเช่นเดียวกัน ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นต้นมา เพราะสมัยนั้นการเหมืองแร่ดีบุกกำลังเริ่มรุ่งเรือง  

 

 

        ต่อมาชาวเรือลำหนึ่งได้นำรูปแม่ย่านางเรือของตนคือ พระกวนอิมโพธิสัตว์ที่พวกตนไว้สักการะในเรือ เป็นรูปแกะสลักไม้ อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานรวมกับเทพกวนอู เพื่อให้คนมาสักการะ บรรดาชาวบ้านตลาดเหนือ และชาวเรือทั้งหลายที่มาจอดท่าน้ำนี้ต่างให้ความเคารพ จนเกิดอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้น ทำให้ชาวบ้านเกิดศรัทธามาเซ่นไหว้มิได้ขาด

 

 

         อาคารไม้หลังคาจากที่ได้ซ่อมแซมมาหลายครั้ง คงอยู่ต่อไปไม่ไหว นายตันฮกกุ้ย จึงได้ซ่อมแซมให้ดีขึ้น และอยู่ยืนมาจนถึงประมาณ ๓๐ ปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ผู้จัดการศาลเจ้าคนใหม่คือ นายเส้วจงก๊ก หรือขุนพิทักษ์นราบรรณ(เซียวแบะ เพ็ชรล่อเหลียน) ซึ่งชาวทุ่งคาเรียกท่านว่า แป๊ะเสี่ยวแบะ เป็นกำนันจีนตำบลตลาดเหนือ มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่๖ คือนายสุ่ยติ่น แซ่เอี๋ยว และนายจี่เต๊ก แซ่เจี่ย และคนอื่นๆได้ทำการออกเรี่ยไรเงินชาวตลาดเมืองทุ่งคา และชาวปีนังได้เงินมาจำนวน ๓๐๐๐ เหรียญ ก่อสร้างใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ดังที่เห็นในปัจจุบัน มีลวดลายแกะสลักไม้อย่างประณีตบรรจงจากเมืองจีนประดับเหนือประตูและภายในที่ประดิษฐานองค์ประธาน โดยมีการบันทึกประวัติการบูรณะเป็นศิลาจารึกฝังติดผนังตรงเชิงบันไดด้านซ้ายมือเมื่อหันออกไปทางถนนภูธร บอกวันเดือนเริ่มก่อสร้างและเสร็จสิ้นสมบูรณ์ รวมทั้งรายชื่อผู้บริจาคเงินในการก่อสร้างครั้งนี้

 

 

 

 

 

 

        จากการบันทึกบอกว่าเริ่มก่อสร้างปีกวงซวี่ คือสมัยฮ่องเต้เต๋อจง ( กวงซวี่ - อ้ายซินเจี๋ยหลัว ) ครองราชย์ระหว่างพ.ศ. ๒๔๑๘ – ๒๔๕๑ ได้เริ่มก่อสร้างในปีกวงซวี่ที่ ๓๓ พ.ศ. ๒๔๕๐ และก่อสร้างเสร็จ ในปีรัชสมัยฮ่องเต้ปู่อี๋ ( เซวียนถ่ง ) วันที่ ๒ ค่ำเดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๕๒ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำของไทย กรรมการจึงได้จัดงานการฉลองสมโภชศาลเจ้าและองค์พระกวนอิม ด้วยการจัดขบวนแห่ไปตามถนนสายต่างๆในตลาดทุ่งคา แล้วแห่ไปเฉี้ยโห้ยเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์ที่สะพานหินมาฉลองที่ศาลเจ้า มีการจัดมหรสพแสดงตลอดงาน

 

 

 

 

 

        ต่อมาขุนพิทักษ์นราบรรณ์ ( เซียวแบะ เพ็ชรล่อเหลียน ) ซึ่งคนทั่วไปเรียกท่านว่า แป๊ะเสี่ยวแบะ กำนันตำบลตลาดเหนือ ได้เสนอทำเรื่องขอออกโฉนดที่ดินเป็นของศาลเจ้า จากภาพโฉนดบันทึกไว้ว่า “ เลขที่ ๘๗๔ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า พระเจ้าแผ่นดินสยาม มีหม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี เป็นผู้บัญชาการ ขุนนรภูมินิภัชน์ ผู้รั้ง กรมการตำแหน่งนา ขุนพิทักษ์ทวีป ผู้รั้งนายอำเภอ เจ้าของโฉนด ศาลเจ้าปุดจอ ผู้จัดการคือ ขุนพิทักษ์นราบรรณ์ ( เซียวแบะ เพ็ชรล่อเหลียน ) อยู่บ้านตลาดเหนือ หมู่ที่ ๖ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน ๕๓ วา”     

 

 

         นอกจากนี้แป๊ะเสี่ยวแบะยังได้ริเริ่มให้มีเซียมซีขึ้น ด้วยการเจียดยาหรือขอยาจากพระกวนอิม และเซียมซีเสี่ยงทาย ใบเซียมซีทั้งสองแบบเป็นภาษาจีน ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาไทย

 

 

        เซียมซีขอยาจากพระกวนอิม แบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้ ๕ หมวด คือ

 

 

        ๑.  หมวดยาเกี่ยวกับภายนอก คือเป็นตัวยาให้กิน ยาต้ม ยาอาบ หรือเป็นคำแนะนำให้ทำกิจกรรม หากไม่มีฉลากยาออกมา

 

 

        ๒.  หมวดยาสำหรับบุรุษ มีจำนวนฉลากยาทั้งสิ้น ๑๐๐ หัวข้อ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๐๐

 

 

        ๓.   หมวดยาสำหรับสตรี  มีจำนวนฉลากยาทั้งสิ้น ๑๐๐ หัวข้อ ตั้งแต่ ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐๐

 

 

        ๔.   หมวดยาสำหรับเด็ก มีฉลากยาทั้งสิ้น ๑๐๐ หัวข้อเช่นเดียวกัน

 

 

        ๕.   หมวดยาสำหรับนัยน์ตา ปัจจุบันมีทั้งหมด ๕๓ หัวข้อ เดิมมี ๑๐๐ หัวข้อ แต่ได้สูญหายไป

 

 

        นอกจากเซียมซีการขอยารักษาความเจ็บป่วยแล้ว ยังมีเซียมซีถามถึงความทุกข์ร้อนของคนถาม  เช่น ไปรักษาแล้วโรคก็ยังไม่ทุเลา กินยาแล้วก็ยังไม่ทุเลา จึงต้องทำบุญแก้เคล็ดตามใบเซียมซี การขอโชคลาภ มีจำนวน ๖๐ หัวข้อ ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน

 

 

        ใบเซียมซีเหล่านี้เดิมแกะเป็นบล็อกไม้เป็นภาษาจีน ต่อมาใช้พิมพ์ ข้อความในเซียมซีเป็นเรื่องนิทานหรือพงศาวดารจีนสมัยต่างๆ แล้วเอามาแปลความว่าดีหรือร้าย เช่นตัวละครในเรื่องสามก๊ก ตัวละครบางตัวกำลังทำอะไร ไปที่ไหน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

        ในปีพ.ศ. ๒๕๓๖ ครบรอบ ๘๔ ปีของศาลเจ้า คณะกรรมการได้ซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ให้ดูสวยงามคงทนต่อไป เมื่อบูรณะเสร็จแล้วจึงได้จัดงานฉลองสมโภชขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการแห่พระกวนอิมไปตามถนนสายต่างๆในตัวเมืองภูเก็ตแล้วไปเฉี้ยโห้ยที่สะพานหิน ซึ่งเคยปฏิบัติมาแต่พ.ศ. ๒๔๕๒

 

 

 

 

 

        อย่างไรก็ตามภายในบริเวณศาลเจ้า ทางคณะกรรมการได้ก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นห้องเป็นหลังอีกหลายหลัง เพื่อประดิษฐานเทพและประกอบกิจกรรมต่างๆ แยกเป็นสัดส่วน ตัวอาคารหลักประดิษฐานองค์ประธานศาลเจ้าคือพระกวนอิมปุดจ้อ และเทพชุมนุม ส่วนห้องทางซ้ายมือขององค์ประธานประดิษฐานเทพกวนอูและเทพองค์อื่นๆอีกหลายองค์ ห้องทางขวามือองค์ประธานเป็นเทพชุมนุมฝ่ายเทพธิดา เช่น มาจอโป๋ จูแซเหนียว กิมฮั่วเหนียว

 

 

        เทพองค์อื่นๆที่มีชื่อ เช่น เซี่ยอ๋องเอี๋ยหรือเจ้าพ่อหลักเมือง ไท่โส่ยเอี๋ยหรือองค์เทพราหู ปุนเถ่ากงพระภูมิเจ้าที่ เต่จงอ๋องผู้ไปเยี่ยมนรก  เป็นต้น

 

 

        คนรุ่นก่อนๆ เมื่อถึงเดือน ๑๒ ของจีนก่อนตรุษจีน ต่างพากันไปสะเดาะเคราะห์ให้กับตัวเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ศาลเจ้าให้คำแนะนำว่าจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง

 

 

        คนที่แต่งงานแล้ว แต่ยังไม่มีบุตรมาเชยชม ต่างพากันไปขอพรเพื่อให้ได้บุตรจากจูแซเหนียวหรือพระนางเมิ่งปั๋วเหนียงเหนียง โดยให้เจ้าหน้าที่แนะนำว่าจะทำอย่างไรบ้าง

 

 

        คนที่มีบุตรครบ ๑ เดือน ต่างพาบุตรไปไหว้ขอพรจากพระกวนอิมโพธิสัตว์หรือยกให้เป็นบุตรขององค์ท่าน เพื่อเด็กจะได้แข็งแรงเลี้ยงดูง่าย

 

 

        บิดามารดมักจะให้พระกวนอิมตั้งชื่อบุตรของตน โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ

 

 

        บรรดาหนุ่มสาวพากันไปขอพรอธิษฐาน จากเทพกิมฮั่วเหนียว เพื่อตนจะได้พบคู่ที่เป็นคนดีสมความตั้งใจ

 

 

        คนที่อยากมีโชคมีลาภ ต่างพากันไปขอโชคขอลาภจากตัวแป๊ะกงหรือปุนเถ่ากงผู้ถือก้อนทองคำอยู่ที่มือขวาของท่าน

 

 

        บางคนที่เดือดเนื้อร้อนใจ มีความทุกข์ยากไม่มีที่สิ้นสุดเพราะกรรมของตนหรือเปล่า ต่างพากันไปขอให้พระเต่จงอ๋องช่วยขจัดปัดเป่าให้คลายทุกข์ยาก

 

 

        ปัจจุบันคู่แต่งงานในวันแต่ง ต่างพากันไปไหว้พระกวนอิมและเทพองค์อื่นๆในศาลเจ้า เพื่อขอพรให้คู่ครองอยู่ยืนนาน มีลูกมีหลานไว้เชยชม

 

 

        ศาลเจ้าปุดจ้อ จึงเปรียบเสมือนเป็น โรงพยาบาล ที่ให้บริการแก่ชนทุกชั้นทุกฐานะไม่ว่ายากดีมีจน สามารถที่จะไปพึ่งได้ เมื่อเจ็บป่วย ขอยาเจียดยามากิน เป็นศูนย์ปรึกษาสุขภาพจิตอย่างดี เป็นหมอดูที่ทำนายทายทักให้คลายทุกข์ ขอโชคลาภ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยึดเหนี่ยวของชาวภูเก็ต และผู้ที่เคารพนับถือมาช้านาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน  ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑

 

 

 

 

 

 

 

 

Title     :  Guan Yin Shrine,  Ranong Rd. Phuket.

 

 

 

 

 

           :  Somboon Kantakian

 

 

 

rev.  06/02/2015

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Credits :  Somboon Kantakian  07/07/2008

 

 

 

 

 

               

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง