Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง ( ทองพูน ณ ถลาง )

 

        

 

 

 

        พระยาถลางทองพูน* มิได้มีชื่อกล่าวไว้ในพงศาวดารที่พระยาถลาง(เริก) บุตรเจ้าพระยาสุรินทราชา ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองฝั่งตะวันตก ๘ หัวเมือง นายศึก นายเสือ บุตรพระยาถลางเทียน เล่าไว้ ทั้งๆที่เป็นคนหนึ่งในการเตรียมสู้รบกับพม่าพ.ศ. ๒๓๒๘

        นายทองพูน เป็นบุตรชายจอมเฒ่าบ้านดอน จอมเฒ่าเป็นพี่น้องต่างมารดากับพระถลางหรือผู้รั้งจอมทองคำที่บ้านตะเคียน ซึ่งเป็นบิดาของคุณหญิงจัน นายทองพูนคงมีอายุอ่อนกว่าคุณหญิงจัน นายทองพูนได้รับราชการในเมืองถลางเป็นระบบครอบครัวเครือญาติ โดยรับราชการตั้งแต่สมัยพระยาถลางคางเซ่ง เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๒ – ๒๓๑๖ และพระยาถลางอาด พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๓๑๘ เมื่อพระพิมล(ขัน) สามีคุณหญิงจัน เป็นพระยาถลาง เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๙ ภายหลังจากที่พระยาถลางอาด น้องชายคุณหญิงจันถูกยิงตาย นายทองพูนคงได้เป็น พระปลัดเมืองถลาง

        ประมาณพ.ศ. ๒๓๒๓ เมืองภูเก็จ(เทียน) ผู้รักษาเมืองภูเก็ตท่าเรือ บุตรเลี้ยงพระยาถลางพิมลขัน ได้ทำเรื่องฟ้องร้องกล่าวโทษพระยาถลางขัน ไปยังเจ้านครศรีธรรมราช  ทางเมืองนครศรีธรรมราชจึงให้มาจับกุมไปสอบสวนที่นครศรีธรรมราช แต่พระยาถลางขันเป็นผู้สนิทกับเจ้าพระยานครที่เคยร่วมเป็นร่วมตายกันมา แต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช  เจ้านครจึงให้ไปเป็นพระยาพัทลุงที่บรรดาศักดิ์ พระยาทุกขราช อยู่ ๓ ปี

        ในช่วงที่พระยาถลางขันต้องโทษไปเมืองนครนี้ พระปลัดทองพูนจึงต้องรักษาการเจ้าเมืองถลาง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๒๓ - ๒๓๒๖ พระยาทุกขราชขัน จึงกลับมาเป็นพระยาถลางต่ออีกครั้งตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๒๗ แต่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงนัก มีพระปลัดทองพูนเป็นผู้ช่วยว่าราชการเมืองถลาง

         ช่วงที่เป็นผู้รักษาการเจ้าเมืองถลางระหว่างพ.ศ. ๒๓๒๓ – ๒๓๒๖ นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินถูกสำเร็จโทษ เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๔ ผลัดแผ่นดินใหม่ เป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อพ.ศ. ๒๓๒๕ ครั้งนั้นพระราชวงศ์ตากและขุนนางที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามถูกฆ่าตายเป็นจำนวน มาก รับสั่งให้พระยาธรรมไตรโลกพระยาฤาราชสุริยวงศ์ (หม่อมทองด้วง) พระญาติวงศ์ พร้อมกองทหาร ถือท้องตราลงมาที่เมืองปากพระ ให้จับกุมเจ้าพระยาอินทวงศา ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองทั้งแปด ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตั้งไว้ ในข้อหาเป็นกบฏต่อแผ่นดิน กองทหารทั้งสองได้สู้รบกันขึ้น แต่กองทหารของเจ้าพระยาอินทวงศาน้อยกว่า จึงแพ้ เจ้าพระยาอินทวงศาจึงลงเรือหนีไปขึ้นบกที่เมืองภูเก็ตบ้านท่าเรือ กองทหารจึงติดตามไปล้อมเมืองไว้ เจ้าพระยาอินทวงศาจึงฉวยดาบเชือดคอตนเองถึงแก่อนิจกรรม พระปลัดทองพูนในฐานะผู้รักษาการเจ้าเมือง จึงต้องให้ความร่วมมือกับพระยาธรรมไตรโลกพระญาติวงศ์ ไหนเลยจะขัดขืนได้ จึงต้องทำตามคำสั่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ นอกจากท้องตราให้ฆ่าเจ้าพระยาอินทวงศาแล้ว ยังมีท้องตราถึงพระยาราชกปิตันหาว่าฉ้อเงินหลวง ที่เมืองถลางตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระยาธรรมไตรโลกจึงให้พระปลัดทองพูนหักเอาเงินดังกล่าวไว้ ทำให้พระยาราชกปิตันโกรธแค้นมาก ซึ่งขณะนั้นพระยาราชกปิตันและครอบครัวอยู่ที่เมืองภูเก็ตท่าเรือ ตนจึงอพยพครอบครัวไปอยู่ที่เมืองไทรบุรีประมาณต้นปีพ.ศ. ๒๓๒๗

         ในขณะเดียวกัน เมื่อเห็นว่าคุณหญิงจันไม่ให้ความร่วมมือกับตน จึงให้กองทหารมาจับตัวคุณหญิงจันไปคุมขังไว้ที่ปากพระ ข้อหาให้ความร่วมมือกับฝ่ายกบฏประมาณต้นปีพ.ศ. ๒๓๒๘    

         จนถึงพ.ศ. ๒๓๒๘ พม่ายกทัพใหญ่มาหลายทาง รี้พลเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เหนือจดใต้

         กองทัพพม่าที่ยกลงไปตีหัวเมืองปักษ์ใต้ โดยตั้งทัพที่เมืองมะริด แบ่งเป็นสองทัพ ทัพหนึ่งถือพล ๗๐๐๐ มีเนมโยตุงคะรัดเป็นทัพหน้า แกงวุนเป็นแม่ทัพถือพล ๔๕๐๐ เป็นทัพหนุน ยกเข้าตีเมืองกระ เมืองระนอง เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช แตกสิ้น

             อีกทัพหนึ่งให้ยีวุนเป็นแม่ทัพยกกองทัพเรือด้วยพล ๓๐๐๐ ลงไปตีเมืองถลาง

 ฝ่ายเมืองถลาง ชาวถลางรู้ข่าวศึกพม่าก่อนแล้วจากคนที่มาจากตะกั่วป่าตามหนังสือของพระพิชิต สงคราม ที่มีไปถึงพระยาราชกปิตันที่ปีนัง เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๒๘ ว่า “ครั้นมาถึงปากพระ คนขึ้นมาแต่เมืองตะกั่วป่าบอกว่า ชาวเมืองตะกั่วป่ารู้ข่าวพม่ากำเริบวุ่นวายอยู่ จึงกลับลงไปตะกั่วป่า จัดแจงบ้านเมืองแล้วจะกลับมาให้พบท่านพระยาราชกปิตัน”

จากหนังสือของคุณหญิงจันมีไปถึง พระยาราชกปิตันเจ้าเมืองปีนัง มีข้อความในหนังสือกล่าวว่า “ครั้น จะเอาหนังสือเรียนแก่พระยาถลางๆ ป่วยหนักอยู่และซึ่งว่ามาค้าขาย ณ เมืองถลาง ขาดทุนหนักหนาช้านานแล้วนั้น เห็นธุระของลาโตกอยู่แต่หากลาโตกเมตตาเห็นดูข้าพเจ้าจึงเปลืองทุนเป็นอันมาก ทรมานอยู่ ด้วยความเห็นดู แลซึ่งว่าแต่งก็เป็นแล้วจะลากลับไปและมี(เรื่อง) ราวข่าวว่าพม่าตีเมืองถลาง ท่านพระยาถลางเจ็บหนักอยู่ทัพพม่ายกมาจริง ข้าพเจ้าจะได้พึ่งลาโตกเป็นหลักที่อยู่ต่อไป แลซึ่งว่าจะเอาดีบุกค้าผ้านั้น ท่านพระยาถลางยังเจ็บหนักมิได้ปรึกษาว่ากล่าวก่อน ถ้าท่านพระยาถลางคลายป่วยแล้วจะได้ปรึกษาว่ากล่าวตักเตือนให้ ซึ่งว่าเจ้ารัดจะไปเยือนขุนท่ามิให้ไปนั้น ข้าเจ้าจะให้ไปว่าหลวงยกกระบัตร ขุนท่าไม่ให้ยุดหน่วงไว้ ครั้นข้าเจ้าจะมาให้พบลาโตกนั้นเจ้าคุณยังเจ็บหนักอยู่จึงให้เมืองภูเก็จลง มาลาโตกได้เห็นดูอยู่ก่อน ถ้าเจ้าคุณค่อยคลายป่วยขึ้น ข้าเจ้าจะลงมาให้พบลาโตก แลขันนั้นไม่แจ้งว่าขันอะไร ให้บอกแก่เมืองภูเก็จให้แจ้งข้าเจ้าจะเอาลงมาให้ อนึ่งคนซึ่งรักษาบ้านเฝ้าค่ายนั้นขัดสนด้วยยาฝิ่นที่จะกิน ให้ลาโตกช่วยว่ากัปตันอีศกัสให้ยาฝิ่นเข้ามาสัก ๙ แทน ๑๐ แทน แล้วถ้าพ่อลาโตกจะขึ้นมาได้ขี่ชื่นขึ้นมาสักที” หนังสือฉบับนี้เขียนขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเส็ง

กองทัพเรือของยีวุน ยกลงมาตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง แตกแล้วยกมาตีเมืองปากพระแตก จึงให้ยกมาตีเมืองถลาง และก็เป็นไปตามแผน เมื่อปากพระแตกซึ่งตอนนั้นคุณหญิงจันถูกคุมขังอยู่ที่นั่น จึงได้หนีลงเรือกลับเมืองถลางดังจดหมายคุณหญิงจันถึงพระยาราชกปิตัน

ฝ่ายเมืองถลางได้เตรียมการ ที่จะป้องกันเมืองค่อนข้างดี ด้วยได้มีเมืองภูเก็จเทียนบุตรชายคุณหญิงจัน และตัวคุณหญิงเองที่สั่งซื้ออาวุธยุทธปัจจัยไว้พร้อมดังจดหมายหลายฉบับที่ กล่าวถึง ฝ่ายพระยาถลางขันซึ่งป่วยหนักอยู่ ก็ถึงแก่กรรม เมืองถลางจึงว่างเจ้าเมือง คงมีแต่พระปลัด ยกกระบัตร กรมการเมือง รวมทั้งคุณหญิงจันคุณมุกน้องสาว เมืองภูเก็จเทียนบุตรชายคุณหญิงจัน เมื่อกองทัพพม่าเข้าตีเมืองตะกั่วทุ่ง กองลาดตระเวนของเมืองถลางทราบข่าวแล้ว เพราะทั้งสองเมืองมีเขตติดต่อกัน คุณหญิงจัน คุณมุก และกรมการเมืองถลาง ออกหลวงเพชรภักดีศรีพิชัยสงคราม ยกกระบัตร ออกหลวงพิพิธภักดีสมบัติ เจ้ากรมพระคลังเมืองถลางและพระปลัดทองพูน เมืองภูเก็จเทียนได้ร่วมประชุมวางแผนการตั้งทัพรับพม่า

เข้าใจกันว่าทัพพม่าคงมาจอดที่คลองท่าอู่ตะเภาซึ่งเป็นท่าเรือที่สำคัญของ เมืองถลางทางบ้านดอน และคงยกทัพเข้าตีทางหน้าเมือง เพราะทางด้านหลังเป็นที่กันดารลำบาก คุณหญิงจันจึงให้คนที่อาศัยแถวท่าเรือตะเภา บ้านดอนอพยพเข้าไปอยู่ในค่ายใหญ่ที่บ้านตะเคียน โดยจัดแบ่งเป็น ๒ ค่าย ตั้งอยู่ที่บ้านค่ายแห่งหนึ่งอันเป็นทางเดินติดต่อมาจากท่ามะพร้าว หากข้าศึกยกมาทางนี้จะได้ขวางได้ เพื่อทราบว่าพม่าไม่ได้ยกทัพมาทางนี้จึงแยกกองไปตั้งค่ายอยู่หลังวัดพระนาง สร้าง ค่ายนี้มีปืนใหญ่ประจำชื่อ แม่นางกลางเมือง กระบอกหนึ่ง อีกค่ายหนึ่งตั้งที่ทุ่งนางดักมอบให้พระปลัดทองพูนเป็นผู้คุม มีปืนใหญ่ชื่อ พระพิรุณสังหาร กระบอกหนึ่ง ส่วนคุณหญิงจันเป็นผู้บัญชาการรบทั่ว ๆ ไป โดยมีคุณมุกเป็นผู้ช่วย

ฝ่ายกองทัพพม่ายกพลข้ามช่องแคบเข้าจอดเรือที่คลองท่าตะเภา จัดการตั้งค่ายใหญ่ริมทะเลเป็นสองค่ายคือ ค่ายนาโคกแห่งหนึ่งกับค่ายนาบ้านกลางอีกแห่งหนึ่ง ชักปีกกาถึงกัน ส่วนค่ายของเมืองถลางตั้งเป็นสองค่าย โดยมีคลองบางใหญ่เป็นคูกั้น

ค่ายพม่าอยู่ในระยะวิถีกระสุนปืนใหญ่และได้ยิงไปทุกวัน ได้รบพุ่งกันอยู่ราวเดือนเศษ ฝ่ายพม่าล้มตายไป ๓๐๐ - ๔๐๐ คนเศษและเจ็บป่วยอีกเป็นจำนวนมาก กองทัพเมืองถลางจึงยกเข้าโจมตีทัพพม่า พวกทหารพม่าลงเรือแล่นหนีไป  เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ตรงกับขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง

หลัง จากเสร็จศึกสงครามแล้ว ทางเมืองถลางมีพระปลัดทองพูนเป็นผู้รักษาว่าราชการเมืองได้ทำใบบอกแจ้ง เหตุการณ์ครั้งนี้ไปกราบทูลสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพลงมาทางปักษ์ใต้เพื่อตีทัพพม่าขณะนั้นประทับอยู่ที่เมืองสงขลา โดยให้เมืองภูเก็จเทียนถือไปถวาย หนังสือใบบอกอีกฉบับหนึ่งส่งไปยังกรุงเทพมหานคร

         ฝ่ายสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อเสร็จศึกแล้ว จึงเสด็จเข้ากรุงเทพฯเมื่อเดือน ๑๑ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๑๔๘ อัฐศก พ.ศ. ๒๓๒๙จึงเสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อกราบทูลถวายรายงานราชการสงครามหัวเมืองปักษ์ใต้ และผู้ที่จะได้รับบำเหน็จความชอบ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผู้ได้รับบำเหน็จความชอบ ให้ คุณหญิงจัน ภรรยาพระยาถลางคนก่อน เป็น ท้าวเทพกระษัตรี ให้คุณมุกน้องสาวเป็น ท้าวศรีสุนทร ให้พระปลัดทองพูนเป็น พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง พระยาถลางเจียดทองเสมอเสนาบดี มีศักดินา ๑๐๐๐๐ และถือว่าเป็น “พระยาพานทอง”คน แรกของเมืองถลาง คนอื่นๆต่างก็ได้รับบรรดาศักดิ์สูงขึ้นถ้วนหน้า เข้าใจว่าน่าจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายนหรือเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๒๙ คือเดือน ๑๑ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๑๔๘ อัฐศก รวมทั้งเมืองภูเก็จเทียนที่ได้เป็น พระยาทุกขราช ในตอนที่เข้าไปเฝ้าสมเด็จกรมพระราชวังบวรที่สงขลา

        เมื่อพระปลัดทองพูนได้เป็น พระยาถลางแล้ว เคยมีหนังสือไปถึงพระราชกปิตันที่เมืองปีนังเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๓๐ เรื่องขัดผลประโยชน์ระหว่างกรมการเมืองถลางที่ซื้อสินค้าจากเรือสินค้าของ พระยาราชกปิตัน เอามาขายให้ชาวถลางบวกกำไร ในขณะเดียวกันกัปตันเรือของพระยาราชกปิตันกลับเอาสินค้าชนิดเดียวกัน ออกขายให้ชาวถลางในราคายุติธรรม ทำให้พวกกรมการเมืองถลางที่ซื้อสินค้ากักตุนหวังกำไรมาก ต้องขาดทุน พระยาถลางทองพูนจึงมีหนังสือร้องเรียนไปยังพระยาราชกปิตันให้ว่ากล่าวกัปตัน ด้วย

         อย่างไรก็ตาม เรื่องพระยาธรรมไตรโลกข้าหลวงที่อ้างท้องตราจากเมืองหลวงกล่าวหาพระยาราช กปิตันนั้น อาจจะเป็นท้องตราจริงก็ได้ ด้วยมีการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บรรดาหัวเมืองต่างไปเข้าเฝ้าเอาสิ่งของไปถวายเป็นราชบรรณาการ ดังที่พระยาราชกปิตันเคยกระทำในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ในแผ่นดินนี้ยังไม่ได้กระทำ ทางเมืองหลวงหาทางปราม แต่พระยาราชกปิตันเป็นฝรั่งจึงไม่เข้าใจการจิ้มก้อง เลยพาลโกรธพระยาธรรมไตรโลกและขุนนางกรมการเมืองถลางบางคน เมื่อทางเมืองหลวงเห็นว่า พระยาราชกปิตันเป็นพ่อค้าอาวุธสมัยใหม่ทุกชนิด เกรงจะเอาไปขายให้พม่า ตามคำกราบบังคมทูลของท้าวเทพกระษัตรีเมื่อท่านไปกรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ จึงต้องมีท้องตราถึงเมืองถลางดังข้อความว่า “หนังสือ ข้าพเจ้าพระยาทุกราช ผู้เป็นพระยาปลัด ขอบอกมายังโตกท่านพระยาราชกปิตัน ด้วยมีตราทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกมา ณ เมืองถลางว่า กรมการเมืองถลางกับพระยาธรรมไตรโลก พระยาฤาเจ้าราชกูลออกมาแต่ก่อนคิดอ่านหักเอาเงินของโตกพระยาท่านไว้ว่าโตก พระยาท่านติดเงิน แต่ครั้งพระยาตากเป็นเจ้านั้น นอกท้องตรา ซึ่งให้พระยาธรรมไตรโลกเจ้าราชกูลถือมา ทำให้โตกพระยาท่านโกรธขึงนั้น ทรงพระกรุณาเอาโทษแต่พระยาธรรมไตรโลกเจ้าราชกูลข้าหลวง แลกรมการ ณ เมืองถลาง ซึ่งได้คิดอ่านพร้อมกันฉ้อเอาเงินโตกพระยาท่านนั้น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมประภาษทรงวิตก คิดถึงจะใคร่ได้พบโตกพระยาท่านปรึกษาราชกิจบ้านเมือง...”   ถ้า หากเหตุการณ์เป็นดั่งนี้ พระยาธรรมไตรโลก และกรมการเมืองถลางบางคนกลายเป็นผู้เสียสละเพื่อชาติไป พระยาธรรมไตรโลกจึงถูกสอบสวนทำโทษ “กรมการเมืองถลางบางคน” ก็คือ พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงคราม พระยาถลางทองพูนหรือพระยาถลางเจียดทอง ที่ต้องถูกคุมตัวเข้าไปกรุงเทพฯ ประมาณพ.ศ. ๒๓๓๑ เพื่อสอบสวน พระยาถลางทองพูนพักอยู่ที่กรุงเทพฯ    และถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ

         อีกกรณีหนึ่ง อาจเป็นไปได้เช่นเดียวกัน เมื่อพระยาธรรมไตรโลกใช้อำนาจส่วนตนในฐานะที่เป็นเชื้อพระวงศ์ อ้างท้องตราเพื่อบังคับให้พระยาราชกปิตันต้องจ่ายเงินให้ตน ด้วยการหักค่าของที่เมืองถลางโดยมีพระปลัดทองพูนจำยอม ทำตามคำสั่งข้าหลวง

        ผู้สืบเชื้อสายจากพระยาถลางทองพูน ได้ขอพระราชทานนามสกุล โดยมีพระยาสุนทราทรธุรกิจ(หมี) กระทรวงมหาดไทย กับพระยาอาณาจักรบริบาล(อ้น) กระทรวงมหาดไทย และพระพิไสยสุนทรการ(แปลง) ข้าหลวงตรวจการสรรพากรนอก ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ ณ ถลาง Na Thalang” อันดับที่ ๐๗๔๒ ดังปรากฏในประกาศลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๖ ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ภาค ๒ ธันวาคม ๒๔๕๖ ดังข้อความว่า “พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) กับพระอาณาจักรบริบาล(อ้น) และพระพิไสยสุนทรการ(แปลง) ข้าหลวงตรวจการสรรพากรนอก พระราชทานนามสกุลว่า “ณ ถลาง” (Na Thalang)”

 

 

 

 

       :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน   ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒

 

Title :  Praya Phetkirisipichaisongkram ( Thongpoon na Thalang )

 

      :  Somboon Kantakian

 

  *เรียบเรียงจากต้นฉบับของ

ขุนนรภัยพิจารณ์ (ไวย ณ ถลาง)  "ประวัติวงศ์ตระกูล ท้าวเทพสตรี(จันทน์) ท้าวศรีสุนทร(มุกด์) หรือประวัติตระกูล ณ ถลาง" รวมเอกสารเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองถลาง พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร, ๒๕๑๐ (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอมรฤทธิธำรง(พร้อม ณ ถลาง) เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๐      

 

 

 rev. October 07, 2016

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง