Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

อั้งยี่ที่ภูเก็ต


คำว่า “อั้งยี่” หมายถึง “หนังสือแดง” อันเป็นสมาคมลับตามคำอธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่าอั้งยี่แยกเป็นหลายกงสี และเรียกกงสี และเรียกกงสีต่าง ๆ กัน เช่น งี่หิน ปูนเก้าก๋ง งี่ฮก เป็นต้น แต่ละกงสีจะมี “ตั้งโก” หรือตั้วเฮีย หรือพี่ใหญ่ เป็นหัวหน้า  แรกมีในแหลมมลายูของอังกฤษโดยเฉพาะที่สิงคโปร์ ตั้งขึ้นเพื่อสงเคราะห์ คนจีนที่ทำมาหากินในดินแดนแถบนั้น ทางรัฐบาลอังกฤษเห็นว่าสมาคมเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อการปกครองของตนจึงทำเฉยเสียต่อมาปรากฏว่ามีการทะเลาะกันระหว่างกงสีบ่อยเข้ารัฐบาลอังกฤษจึงบังคับให้มาขออนุญาตจัดตั้งสมาคมอั้งยี่โดยให้หัวหน้าเป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับอั้งยี่ในเมืองไทยนั้นเริ่มเกิดมีขึ้นในรัชกาลที่ 3 เนื่องมาแต่อังกฤษเอาผื่นมาจากหัวเมืองมีมามากมายรวมทั้งชาวจีนในกรุงเทพฯ ด้วย จึงได้ลักลอบซื้อขายฝิ่นกันขึ้น โดยมีอั้งยี่ตั้งแหล่งซื้อขายไว้ตามหัวเมืองชายทะเลที่ทางการไม่สามารถจะตรวจตราไปถึง พวกอั้งยี่เหล่านี้คอนรับฝิ่นจากเรือสำเภาที่มาจากเมืองจีนอีกทอดหนึ่ง

อั้งยี่ในภูเก็ตได้เริ่มมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410ก่อนสิ้นรัชกาลที่ 4 อั้งยี่พวกนี้ขยายมาจากหัวเมืองมลายูของอังกฤษ โดยติดต่อค้าขายกับภูเก็ตมาแต่เดิม จึงได้เกลี้ยกล่อมคนจีนในภูเก็ตให้จัดตั้งสาขากงสีขึ้น คือ กงสี งี่สี งี่หิน กับปูนเถ้าก๋ง ต่อมาอั้งยี่ทั้งสองกงสีเกิดขัดใจทะเลาะดันเรื่องสานน้ำที่จะเอาไปทำเหมืองเกิดสู้รบกันกลางเมือง ทางเจ้าเมืองภูเก็ตจะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ฟังทางกรุงเทพฯจึงได้จัดส่ง เจ้าพระยาภานุวงศ์ฯ แต่ครั้งเป็นที่พระยาเทพประชุมปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เป็นข้าหลวงออกมายังเมืองภูเก็ตได้ระงับเหตุวิวาทได้สำเร็จด้วยดี แล้วจัดการนำตัวอั้งยี่หัวหน้า 9 คน เข้ากรุงเทพฯ และโปรดให้หัวหน้าอั้งยี่ให้คำสัตย์สาบานว่าจะไม่คิดร้ายต่อราชการ แล้วให้กลับไปทำมาหากินตามเดิม

ต่อมาทางราชการได้ใช้วิธีปราบอั้งยี่โดยเอาแบบอย่างมาจากอังกฤษที่ใช้ปกครองชาวจีนในหัวเมืองมลายู ด้วยการ  “เลี้ยงอั้งยี่” คือ แต่งตัวให้หัวหน้าคนจีนที่เป็นต้นแซ่ให้มีบรรดาศักดิ์แล้วให้คอยควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อยในพวกกลุ่มของตนเอง

ครั้งถึง พ.ศ. 2419 พวกอั้งยี่ที่เมืองภูเก็ตได้กำเริบขึ้นอีกขนาดถึงขั้นก่อการกบฎขึ้นในแผ่นดินจนทางราชการต้องปราบกันใหญ่โต ทั้งนี้เพราะเหตุที่มีชาวจีนมาทำมาหากินมากขึ้น ประกอบกับในขณะนั้นกิจการเหมืองแร่ต้องประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ นายเหมืองจึงไม่มีเงินพอที่จะให้กรรมกรในวันตรุษจีนที่จริงความวุ่นวายเริ่มขึ้นทีเมืองระนองก่อนด้วยชาวจีน กงสี บุ้นเถ้าก๋งไม่พอใจนายเหมืองเกี่ยวกับเรื่องเงินในวันตรุษจีนมาใช้หนี้แต่นายเหมืองไม่มีให้จึงเกิดทะเลาะกัน ทางการจึงเข้าปราบปรามบางพวกจึงหนีมาอยู่ภูเก็ต สมทบกับจีนที่ภูเก็ต นอกจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว ชาวจีนยังไม่พอใจเจ้าเมืองภูเก็ต สมทบกับคนจีนที่ภูเก็ตในขณะนั้นด้วยคือพระยาวิชิตสงคราม (ทัด) หาว่าพระยาวิชิตเก็บภาษีลำเอียงทำให้พวกตนเดือดร้อน ชาวจีนจึงไม่พอใจจึงก่อปฎิกริยาขึ้น รวบรวมพลเพื่อจะตีเมืองภูเก็ต อีกสาเหตุหนึ่งเรื่องมีว่า พวกกลาสีเรือรบเกิดทะเลาะกับคนจีนในตลาดภูเก็ตถึงขั้นตะลุมบอนกันขึ้น ถึงขนาดยกพวกกันเข้าปล้นบ้าน เผาวัดฆ่าคนไทย ฝ่ายพระยาวิชิตชาวจีนให้ข้อหาดังกล่าวแล้วจึงต้องอพยพครอบครัวไปตั้งป้อมที่บ้านท่าเรือ ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น  ขุนนาค) แต่ครั้งเป็นจมื่นเสมอใจราช ข้าหลวงประจำหัวเมืองทะเลฝ่ายตะวันตก อยู่ภูเก็ตจึงได้รวบรวมผู้คนและให้ไปปลดนักโทษมารวมไว้ที่ตึกทำการของรัฐบาลซึ่งอยู่ในบริเวณเดี่ยวกับบ้านหลังเก่าของพระยาวิชิต เพื่อป้องกันทรัพย์สินของรัฐบาล ฝ่ายพวกจีนได้เข้ามาเที่ยวปล้นบ้านเรือน ราษฎรขยายออกไปตามหมู่บ้านเลยไปถึงตำบลวัดฉลอง แต่ด้วยความสามารถของท่าพระครูวัดฉลองทำให้ตำบลนั้นรอดพ้นจากการปล้นไปได้ พระยามนตรีจึงได้เชิญให้พวกจีนหัวหน้าต้นแซ่เข้ามาประชุมตกลงกัน โดยให้หัวหน้ามีหนังสือถึงลูกน้องให้กลับไปที่อยู่ของตน ทำมาหากินตามเดิม แต่ก็มีบางพวกที่ยังขัดคำสั่งไปปล้นบ้านเรือนราษฎร จึงต้องใช้กำลังปราบปราม จนเหตุการณ์สงบลง

เมื่อความทราบถึงกรุงเทพฯ โปรดให้พระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ คุมเรือรบและทหารลงมาร่วมกับพระยามนตรี รวมรี้พลทั้งไทยและมลายูและเจ้าเมืองใกล้เคียงประชุมปรึกษากันและให้ประกาศว่า จะเอาโทษแก่พวกที่เที่ยวปล้นทรัพย์สินฆ่าคน ขอให้กลับไปทำงานตามเดิมจะไม่เอาโทษ บางพวกกลัวความผิดที่ได้กระทำไว้จึงต้องหลบหนี้ไปหัวเมืองมลายูของอังกฤษพวกอั้งยี่ที่ภูเก็ตก็สงบลงแต่นั้น จนถึง พ.ศ. 2450 สมัยพระยารัษฎาฯ เป็นข้าหลวงเทศภิบาลกรรมกรจีนได้เกิดทะเลาะวิวาทกับนายเหมือง เหตุเหมืองครั้งก่อนคือราคาแร่ดีบุกตกต่ำลงนายเหมืองไม่มีเงินให้ตามสัญญา ในวันตรุษจีน เหมืองเลิกกิจการไปกันมาก พวกกรรมกรจีนได้มาร้องเรียนต่อพระยารัษฎาฯ และได้แก้ไขเหตุการณ์ไปด้วยดี

บรรดาชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากที่ภูเก็ตได้ค้าขายและทำเหมืองได้ช่วยเหลือกิจการงานของรัฐบาลเป็นอันมากจนทางราชการได้เห็นความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์กันหลายคนแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น หลวงบำรุงจีน พระอร่ามสาครเขตต์ หลวงขจรจีนสกล หลวงพิทักษ์จีนประชา พระพิไสยสรรพกิจ หลวงอำนาจบริรักษ์ (ตันยกกวด) เป็นต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้มีพิธีการถือน้ำพระพิพัฒนสัตยากัน ณ วัดมงคลนิมิตร ในครั้งนี้ได้มีพ่อค้าข้าราชการชาวจีนชั้นหัวหน้าเข้าประกอบพิธีด้วยและได้ถือโอกาส “ตัดเปีย” ด้วย รวมทั้งหมด 18 คนด้วยกัน คือ พระพีไสยสรรพกิจ กรมการพิเศษ หลวงขจรจีนสกล จีนตันเพ็กอวด กรมการที่ปรึกษา นายซุ่ยเชียว พนักงานเก็บเงินคลัง นายเต็กฮวด นายงานโยธา จีนอ้อสุด นายเหมือง (บุตรพระขจร) จีนตันอั๋นคุ่น เสมียนจีนโรงยาฝิ่น จีนบ้าบาออจู้ พนักงานไปรษณีย์โทรเลข จีนบ้าบาตุด นายงานโยธา โฮโปเห็ง ล่ามศาลมณฑล จีนมาเอี๋ยวเต็กฮวด  เสมียนโรงฝิ่น จีนบ้านกี่ ผู้ใหญ่บ้านอำเภอเมือง คำว่าบ้าบา หรือบ้าบ๋า หมายถึง ลูกคนจีนที่กำเนิดในเมืองไทย หรือนอกเมืองจีน หรือพ่อไทยแม่จีน พ่อจีนแม่เป็นคนไทย

หลังจากนั้นชาวจีนเข้ามาภูเก็ตน้อยลง ลูกหลานต่างก็เป็นคนไทยได้รับราชการค้าขายได้ช่วยกันทะนุบำรุงเมืองภูเก็ตให้ทันสมัยและมีชื่อเสียงในทางที่ดีงามตลอดมา

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง