ชาวจีนในภูเก็ต
คนจีนคงจะได้เข้มาทำมาหากินบนเกาะภูเก็ตโดยเฉพาะที่เมืองถลางมานานแล้ว แต่ก็คงไม่มากนักในสมัยแรก ๆ คือสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ถึงปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงธนบุรี ก็คงจะทำมาค้าขายด้วยการค้าขายส่วนใหญ่ก็คงจะเป็นสินค้าพวกอุปโภคบริโภคเช่น ยาจีน เป็นต้น ซึ่งมีกล่าวไว้ว่า หนังสือเสมียนตรามาถึงเสมียนพระยาราชกปิตัน ด้วย๖ข้าให้ยาจีน ลงมา การขนส่งดีบุกทางเรือก็ใช้จีนคุม พวกเสมียนก็ใช้คนจีน ตามหลักฐานที่ปรากฏ ส่วนการขุดหาแร่ดีบุกก็คงจะมีคนจีนแน่นอนในสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์
สำหรับที่เมืองภูเก็ตนั้น แต่เดิมเมืองภูเก็ตอยู่บริเวณวัดเก็ตโฮ่ ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ใหม่คือที่ที่เรียกตำบลทุ่งคาหรือแถวบางงั่ว ในปัจจุบัน รวมทั้งบริเวณตลาดใหญ่ในขณะนี้
เหมืองดีบุกเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้เมืองต้องย้ายตามไปด้วย คือที่ใดมีแร่มากบริเวณถิ่นนั้นก็เจริญไปด้วยแร่หมดบ้านเมืองหรือตำบลนั้นก็ซบเซาลง
ชาวจีนที่อพยพมาตั้งทำเหมืองดีบุกบริเวณทุ่งคา ซึ่งมีพวกชาวยุโรปร่วมอยู่ด้วยได้ช่วยกันสร้างท่าเรือ ติดต่อค้าขายกับเมืองปีนัง ชาวจีนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า หัวฉียว หรือ คนจีนโพ้นทะเล แร่ดีบุกได้มาก็ขายให้พวกฝรั่ง ชาวจีนที่อพยพเข้มาอยู่ที่ตำบลนี้ในระยะแรก ๆ นั้นได้แก่จีน ฮกเกี้ยน ไหหลำ กวางตุ้ง เซี่ยงไฮ้
กล่าวกันว่า ชาวจีนฮกเกี้ยน เป็นพวกที่มีความขยันอดทน และมีความเฉียวฉลาดกว่าพวกอื่น ต่อมาจึงสามารถตั้งตัวได้ มีกิจการเป็นนายเหมืองกันมากราย ฐานะจึงร่ำรวยขึ้น การทำเหมืองในสมัยนั้นมีทั้งเหมืองเปิดและเหมืองรู
เมื่อคนจีนอยู่กันเป็นจำนวนมากจึงได้จัดตั้ง กงส้อ หรือสมาคมจีนขึ้นหลายแห่ง
|