ชื่อเมืองถลางและภูเก็ต
เมืองถลางและเมืองภูเก็ต นับได้ว่าเป็นเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะถลาง เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเดินเรือชาวยุโรปในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้เรียกว่า Junkceylon ซึ่งปรากฎตามแผนที่การขยายอิทธิพลทางทะเลของพวกโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส รวมทั้งอังกฤษด้วยเมืองถลางเป็นเมืองท่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุกและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ชาติเหล่านั้นต้องการจึงเป็นเมืองที่หลายชาติหมายจะได้ นอกจากเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังสามารถติดต่อกับหัวเมืองทางแหลมมลายูได้สะดวกและติดต่อกับเมืองชายฝั่งของพม่าตลอดจนอินเดีย เมืองถลางในสมัยกรงศรีอยุธยามักเรียกเมืองบางคลีซึ่งเป็นตำบลบางคลีขึ้นกับอำเภอตะกั่วทุ่ง พังงาในปัจจุบันรวมเรียกว่า เมืองถลางบางคลี เข้าด้วยกันอันมีเมืองถลาง ตะกั่วทุ่ง คุรา คุรอด บางคลี ภูเก็ต ซึ่งอาจหมายถึงการรวมหัวเมืองเมืองต่าง ๆ
จากคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ มีชื่อเมืองชะลิน เมืองอังคลี ซึ่งได้แก่ดมืองฉลาง-ถลางกับเมืองบางคลีนั่นเอง จากเรื่อง สยาม ของโรนัลด์ บิช็อบ สมิธ เขียนว่า Thalang,Chalang และ Junk Celon กับคำภูเก็ตว่า Bhuket ส่วนของนายเฟร็ค แม็คแนร์ เขียนไว้ใน หนังสือชื่อเผรัคกับชาวเลย์ว่า Halanta Island แทนที่จะใช้คำว่า Pulo ปุเลาคือเมืองในภาษามลายู ซึ่งเขาได้เรียกเกาะอื่น ๆ ว่า Pulo ทั้งนั้นเช่น Pulo Penang, Pulo Lantao เป็นต้น และตามหนังสือสัญญาการค้าระหว่างไทยกับฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2231 มีระบุแต่ชื่อ เมืองถลางบางคลี ไม่ได้เอยถึงเมืองภูเก็ตเลย แต่หนังสือประชุมพงศวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ ใช้เกาะภูเก็ตหรือเมืองภูเก็ตแทนคำว่าถลางเพื่อสะดวกต่อการใช้
จากจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงกล่าวไว้ว่า มณฑลภูเก็ตควรใช้คำว่ามณฑลถลาง ทำให้รู้สึกเป็นของเก่า เพราะเมืองถลางมีชื่ออยู่ในพงศาวดาร ส่วนภูเก็ตชื่อยังใหม่ ต่อมาคุณหลวงอภิบาล ได้ความรู้มาจากฝรั่งเศสคนหนึ่งเขาเดาเอาไว้ พวกโปรตุเกสเดินเรือมาถึงเกาะนี้ก่อนฝรั่งเศสชาติอื่น คงตามชาวมลายูว่าชื่ออะไร แขกคงเขาใจว่าตามแหลมที่เรือจอดอยู่จึงตอบไปว่า อุยงสะลัง คือแหลมถลาง อุยงแปลว่าแหลม ฝรั่งคงเข้าใจว่าเกาะนี้ชื่ออุยงสะลัง อังกฤษได้คำสะลังเป็นเซลอน เกาะถลางจึงกลายเป็น ยังก์ ซึ่งแปลว่า ตะเภา ส่วนสะลังนั้น อังกฤษคงฟังคล้ายเกาะลังกาซึ่งฝรั่งเรียกว่า เล้ง หรือ เซลอน ในภาษาอังกฤษ เลยเอาคำสะลังเป็นเซลอน เกาะถลางจึงกลายเป็น ยังก์เซลอน และทรงกล่าวว่าเกาะภูเก็ตนั้นแต่เดิมมาเรียกเกาะถลางและควรจะเรียกเช่นนั้นเพราะชื่อเก่ากว่าภูเก็ตมาก คุณหลวงอภิบาลว่าเมืองถลางแปลว่า เมืองกาง คือกางตั้งขึ้นกลางป่า แต่ไม่ทรงเห็นด้วย ทรงเห็นว่า อังกฤษเรียกเกาะนี้ว่า ยังก์เซลอน คำว่า ยังก์ ไม่ทราบว่ามาอย่างไร แซ่เซลอนมาจากถลาง คนไทย ชอบเอา ก หรือ ต เป็น ส เช่นถนนเป็นสนน ตะพานเป็นสะพาน คำถลางเรียกเป็นสลางฝรั่งฟังไม่ถนัดเรียกเป็นเซลอน นอกจากนี้ยังมีบุคคลสันนิษฐานไปต่าง ๆ นานา บ้างว่ามาจากคำอ่าวฉลอง เกาะฉลามบ้างทองหลางบ้าง เป็นต้น
ผู้เขียนเข้าใจว่า คำว่า มาจากคำว่า เซลัง คือแต่เดิมชาวน้ำหรือชาวเลอันเป็นเผ่าพันธุ์ดั่งเดิมที่อาศัยอยู่ตลอดชายฝั่งทะเลตะวันตก ชนพวก Semang เซมัง คงอาศัยอยู่บนภูเก็ตด้วย พม่าเรียกพวกนี้ว่า เซลัง ชนพวกนี้ชอบอยู่ใกล้น้ำและจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร เดิมพวกน้ำนี้อาจอยู่แถวอ่าวทงเทาตอนเหนือคือแถวทะเลพัง ปากแม่น้ำบางใหญ่ใกล้บ้านดอน เมื่อฝรั่งเข้ามาค้าขายในสมัยแรก ๆ คงถามถึงเกาะว่าชื่ออะไร ชาวบ้านจึงบอกว่า หมู่บ้านชาวเซลัง คำว่า ชาวเซลัง (ชาวเล)ฝรั่งพวดโปรตุเกสเมื่อได้ฟังมาจึงเขียนเป็นจ้งเซลัง ตามภาษานั้นต่อมาจึงกลายเป็น Junkseylon หรือ Junk Celon และในภาษาอังกฤษคำเดียวกันนี้ (เซลัง) คำภาษาไทยยืดออกเป็น เซลางซลาง ฉลาง และเป็นถลางในที่สุด
|