บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญ
ท่านครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม)
ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ฯหรือท่านพ่อแช่มแห่งวัดฉลอง ท่านได้เป็นเจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิต ท่านพระครูเกิดเมื่อปีกุน พ.ศ. 2370 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทัปปุด จังหวัดพังงา โยมบิดามารดาของท่านได้อพยพมาอยู่ที่ตำบลคลอง ตั้งบ้านเรือนอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดไชยธารารามหรือวัดฉลอง ท่านได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดจนอายุสมควรแก่การอุปสมบท ท่านก็ประจำอยู่วัดฉลองต่อมาจนกระทั่งได้เป็นเจ่าอาวาสวัดฉลอง กล่าวกันว่าท่านมีบุญบารมี เป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ กรมพระยาดำรงฯ ทรงกล่าวว่าท่านเป็น อัจฉริยบุคคล ท่านหนึ่ง ชาวไทย จีน แขก รวมทั้งฝรั่ง ตลอดไปถึงเมืองปีนัง สิงคโปร์ มีความเคารพเลื่อมใสและสามารถบนบานในสิ่งที่ตนประสงค์ได้ โดยเฉพาะความเจ็บป่วย บนแล้วหายแก้ด้วยการปิดทองคำเปลวที่ตัวท่าน คือที่หน้าแข็งหรือที่ไม้เท้า แม้ท่านจะมรณะแล้วก็ตาม แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังนับถือว่าท่านศักดิ์สิทธิ์
ครั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์ท่านได้เสด็จไปตรวจราชการมณฑลภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2441 ทรงกล่าวว่า เวลาฉันพักอยู่เมืองภูเก็ตพระครูวิสุทธิวงศาจารย์เป็นที่สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อยู่ ณ วัดฉลองมาหาพอฉันแลเห็นก็เกิดพิศวงด้วยที่หน้าแข็งของท่านมีรอยปิดทองคำเปลวแผ่นเล็กๆ ระกะไปราวพระพุทธรูปโบราณที่คนบนบางเมื่อพูดจาปราศรัยดูก็เป็นผู้มีกิริยาอัธยาศัยเรียบร้อย อย่างผู้หลักผู้ใหญ่ เวลานั้นดูเหมือนจะมีอายุได้สัก 60 ปี เมื่อพระองค์ทรงถามถึงเหตุ ท่านพระครูก็ตอบว่า เมื่ออาตมาภาพเข้ามาถึงในเมืองพวกชาวตลาดเขาขอปิด แล้วท่านได้เล่าให้ฟังฟังว่า และมีข้าราชการเมืองภูเก็ตที่เคยรู้เห็นเล่าให้ฟังบ้าง
เหตุที่ท่านเริ่มมีอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์นั้นเกิดขึ้นคราวที่พวกคนจีนกรรมกรเหมืองกบฏ(อั้งยี่) เมื่อ พ.ศ. 2419 ได้ก่อความวุ่นวายปล้นสะดมชาวบ้านจนต้องอพยพนี้เข้าป่ากัน ส่วนทางหมู่บ้านฉลองได้ข่าวว่าพวกจีนจะยกพวกไปปล้น ชาวบ้านจึงชวนให้ท่านหนี แต่ท่านตอบว่า ข้าอยู่ในวัดนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนอายุปานนี้แล้ว ทั้งเป็นสมภารเจ้าวัดอยู่ด้วย จะทิ้งวัดไปเสียอย่างไรได้ พวกสูจะหนีก็หนีเกิด แต่ข้าไม่ไปละ จะต้องตายก็จะตายอยู่ในวัด อย่างเป็นห่วงข้าเลย ถึงแม้ชาวบ้านลูกศิษย์ของท่านจะอ้อนวอนอย่างไรท่านก็ไม่ยอมหนีไป จนลูกศิษย์และชาวบ้านไม่ยอมทิ้งท่าน ถ้าขรัวพ่อไม่ไปพวกผมก็จอยู่เป็นเพื่อน แต่ขออะไรพอคุ้มตัวหน่วยหนึ่ง ท่านพระครูจึงเอาผ้าขาวมาลงยันต์ทำเป็นผ้าประเจียดแจกให้ เมื่อพวกจีนยกมาศิษย์ของท่านพระครูต่างก็สู้รบจนพวกจีนหนีไป ชาวบ้านทราบข่างต่างกลับเข้ามาสมทบเป็นจำนวนมาก พวกผู้ชายต่างก็ขอผ้าประเจียดไว้ป้องกันตัว และขออาสารบกับพวกจีน แต่ท่านกล่าวว่า ข้าเป้นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันใครไม่ได้ สู่จะรบพุ่งอย่างไร ก็ไปคิดอ่านกันเอาเองเถิด ข้าจะให้แต่เครื่องคุณพระสำหรับป้องกันตัว
ต่อมาจีนพวกจนยกมาอีกคราวนี้จัดเป็นทัพมีปีกซ้ายขวา เป็นขบวนรบเลยทีเดียว เมื่อยกไปถึงตำบลฉลองต่างยิงโต้ตอบกันทั้งสองฝ่ายพอเที่ยงพวกจีนหยุดพักรบกินข้ามต้ม พวกไทยได้ทีจึงเข้ารุกไล่ยิงแตกหนีกระจัดกระจายไป ทำให้พวกจีนไม่กล้าไปปล้นหมู่บ้านฉลองอีก จีนหัวหน้าได้ประกาศให้สินบนเป็นค่าศีรษะท่านพระครู 1000 เหรียญถ้าใครตัดไปให้ได้ ทำให้ชื่อของท่านโด่งดังไปทั่ว และเป็นที่เกรงขามแก่บุคคลทั่วไป
เมื่อทางรัฐบาลได้ปราบปรามพวกกบฏเรียบร้อยแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดให้ตั้งเป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุณี ตำแหน่งสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต ส่วนชาวบ้านและ ศิษย์ของท่านพระครู พวกหัวหน้าที่ได้ร่วมทำการต่อสู้พวกจีนกบฏคราวนั้นมีนายเผือก ชาวราไวย์ ได้เป็นขุนบำรุงราษฎร์ นายทราย หัวหน้าฝ่ายพวกชาวตำบลกะตะกะรนได้เป็นขุนอินทรเดชา ส่วนหัวหน้าผู้บัญชาการรบในคราวนั้นคือ นายริน ได้เป็นขุนราษฎร์บัญชา
สาเหตุที่ปิดทองที่ตัวท่านพระครูนั้น เพราะคนที่เคารพนับถือท่านบนบานท่าน เล่ากันว่ามีชาวประมงกลุ่มหนึ่งบนหลวงพ่อท่านขอปิดทองหลวงพ่อถ้ารอดชีวิตมาได้ และปรากฏว่าคลื่นลมสงบลงทันใด ต่างพากันมาขอปิดทองครั้งแรกท่านไม่ยอม เพราะอ้างว่า ท่านไม่ใช่พระพุทธรูป ทำนอกรีดนอกรอยปิดทองคนเป็น ๆ แต่ท่านก็จนด้วยคำของชาวประมงว่าถ้ำมาไม่ได้แก้บนแล้วเหตุร้ายจะเกิดแต่ตนได้ เลยเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ท่านเข้ามากรุงเทพฯ เมื่อใดก็มาหาฉันไม่ขาดเคยทำผ้าประเจียดมาให้ฉัน ฝีมือเขียนงามดีมาก ฉันไปภูเก็ตเมื่อใดก็ไปเยี่ยมท่านถึงวัดฉลองทุกครั้ง
เกี่ยวกับการปิดทองที่ไม้เท้านั้น เล่ากันว่า มีเด็กสาวคนหนึ่งมีนิสัยชอบพูดเล่น เมื่อเจ็บป่วยตนจึงบนว่า ถ้าหายจะปิดทองทรงตรงของลับหลวงพ่อ พ่อแม่สงสัยก็ถามดู ครั้งแรกไม่กล้าบอกแต่ตอนหลังทนเจ็บป่วยไม่ไหวจึงเล่าให้ฟังทางฝ่ายพ่อแม่ไม่ทราบจะทำประการใดจึงนำความไปปรึกษากับท่านพระครู ท่านจึงใช้อุบายด้วยการใช้ไม้เท้าสอดออกมาให้เด็กปิดทอง เด็กสาวคนนั้นหายป่วยเป็นปกติ
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอภินิหารของท่านในคราวที่จีนกบฏยกทัพไปนั้น พวกจีนเห็นท่าประเดี๋ยวเดินอยู่ใกล้ อีกประเดี๋ยวหนึ่งเห็นท่านไปไกลลิบเสียแล้ว พวกจีนต่างก็พรั่งพรึงไปตาม ๆ กัน
เมื่อกรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย แล้วและได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2471 แต่ท่านพระครูได้มรณภาพไปนานแล้ว และกรมพระยาดำรงฯ ยังได้เสด็จไปเยี่ยมวัดฉลอง และได้เห็นสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ แต่บริเวณโบสถ์และกำแพงแก้วที่เป็นทีกำบังต่อสู้พวกจีนกบฏท่านให้คงไว้อย่างเดิม ไม่ยอมให้แก้ไขแต่อย่างใด
คนไทยละจีนที่อยู่เมืองปีนัง ได้ร่วมสร้างวัดศรีสว่างอารมณ์ไว้ เมื่อถึงฤดูก่อนเข้าพรรษายังได้นิมนต์ท่านไปเป็นอุปัชฌาย์และทำหน้าที่อย่างเจ้าคณะจังหวัดหรือสังฆปาโมกข์ที่เมืองปีนังด้วย
ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (แช่ม) อยู่มาจนแก่ชราอายุได้ 81 ปี บวชได้ 60 พรรษา ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2451 เวลา 16.30 น.
ท้าวเทพสตรี
ท้าวเทพสตรี หรือ คุณหญิงจันเป็นบุตรสาวของ จอมร้าง หรือ ทองคำ เจ้าเมืองถลางกับ นางศรีทอง ตามพงศาวดารกล่าวว่าคุณหญิงจันมีพี่น้องด้วยกัน 5 คน คือ คนแรกเป็นคุณหญิงจัน คนที่สอง คุณมุก คนที่สาม ทองพูน คนที่สี่ ทองเพ็ง คนที่ห้า คุณมา
คุณหญิงจันได้กับหม่อมศรีภักดี หรือพระยาถลางภักดีภูธรบุตรจอมนายกอง มีบุตร 2 คน คือ เทียน ซึ่งตอนหลังได้เป็นพระยาถลางกับคุณปราบ เมื่อหม่อมภักดีภูธรตาย คุณหญิงจันได้สามีใหม่คือ พระยาพิมลพันธ์เป็นชาวชุมพร ได้เป็นพระยาถลางและถึงแก่กรรมก่อนพม่ายกทัพมา มีบุตรชายหญิงคือ คุณทอง นายจุ้ย นายเนียม คุณกิ่มและคุณเมือง คุณทองได้สนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้พระบุตรีทรงพระนามว่าพระองค์เจ้าหญิงอุบล ส่วนนายจุ้ยได้เป็น พระยายกกระบัตรและเป็นพระยาถลาง นายเนียมถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
จากหนังสือที่คุณหญิงจันมำไปถึงพระยาราชกปิตันและหนังสือของพระยาทุกขราช หรือพระยาปลัดเมืองถลาง (พ.ศ. 2330) พอสรุปได้ว่า ในสมัยพระยาธรรมไตรโลก พระยาฤาเจ้าราชกูลโดยยักยอกเงินของพระยาราชกปิตัน โดยตั้งข้อหาว่า พระยาราชกปิตัน ค้างเงินหลวงแต่สมัยพระเจ้าตากสินยังไม่ได้คืน พระยาธรรมไตรโลกกับกรมการเมืองถลางจึงหักเอาไว้ แต่ก็มีคนไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว คือคุณหญิงจันนั้นเอง ท่านคงอพยพชั่วคราวไปตั้งอยู่ ณ ตำบลตะกั่วป่า (ตำบลสะปำ) เพื่อจัดหาดีบุก เมื่อพระยาธรรมไตรโลกทราบข่าวจึงไปจับกุมไว้ที่ปากพระ เมื่อพม่ายอมาตีปากพระ ผู้คนทิ้งบ้านเรือนหนี (พิมล) เจ็บหนักอยู่และถึงแก่อนิจกรรมก่อนที่พม่ายกมาไม่นานเท่าไรนัก ระยะนี้พระยาราชกปิตันคงเดินทางไปเมืองมุงคลาในอินเดียเพื่อติดต่อค้าขาย เมื่อทราบข่าวจึงได้มีหนังสือมาสอบถามความทุกข์สุขยังท่านผู้หญิงจัน เพราะพระยาถลาง (พิมล) กับพระยาราชากปิตัน นั้นเป็นเพื่อนสนิทกันมากและเป็นที่เคารพนับถือของญาติพี่น้องคุณหญิง
ในพ.ศ. 2330 ท่านผู้หญิงจันตั้งใจจะไปกรุงเทพฯ โดยจะไปทางเมืองตรังและจะพักที่เกาะตะลิงบังแล้วให้พระยาทุกขราช (ภูเก็ต) กับ พ่อจุ้ย ไปหาพระยาราชกปิตันที่เมืองปีนัง ส่วนตัวคุณหญิงจันนั้นจะเลยเข้ากรุงเทพฯ แต่ให้บังเอิญมีข้าหลวงถือหนังสือจากกรุงเทพฯ เข้ามาชำระค่าดีบุกที่ค้างอยู่แต่สมัยพระยาถลางสามีของคุณหญิงยังเป็นเจ้าเมือง จากหนังสือฉบับที่สองกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าไปครั้งนี้จะได้กลับมาเร็ว ไม่มีหลักฐานว่าท่านได้ไปกรุงเทพฯ หรือไม่
ถึงแม้จะมีพระยาถลางครองเมืองถลางอยู่ก็ตามแต่ คุณหญิงก็ยังมีอำนาจในเมืองถลางมาก ท่านจะให้ใครเป็นเจ้าเมืองก็ได้ถ้าหากเห็นว่า บุคคลนั้นทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ สำหรับพระยาถลางที่ถูกปลดก็จะเป็น พระยาถลางนอกราชการ ไป ส่วนพระยาทุกขราชหรือภูเก็ตนั้นเป็นบุตรคุณหญิงเพราะพระยาทุกขราชเรียก เจ้าคุณมารดา และ คุณหญิงตั้งใจจะให้ พระยาทุกขราชเป็นเจ้าเมืองถลางต่อไปจากหนังสือท่านผู้หญิง ตอนหนึ่งว่า ข้าฯ จะว่ากล่าวคิดอ่านออกมาให้พระยาทุกขราชทำการ ณ เมืองถลางดูสักครั้ง ขณะนั้นพระยาทุกขราชเป็นพระยาปลัดและคงจะไม่ถูกกับพระยถลางคนปัจจุบันพระทุกขราชได้ไป เฝ้าของหลวง ณ เมืองสงขลา คือกรมพระราชวังบวรฯ หรือในหลวงของวังหน้า และทรงรับสั่งว่าถ้ามาคราวหลังจะตั้งให้เป็นพระยาถลาง ในหนังสือฉบับเดียวกันนี้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เดือน 3 ข้างแรมข้าฯกับเจ้าคุณมารดาจะเข้าไปเฝ้าของหลวง ณ กรุงเทพฯ และจะไปทางเกาะตะลิงโบ้งให้โตกพระยาท่านช่วยเห็นดู จัดเรือใหญ่ให้มารับสักลำ จดหมายนี้เขียนเมื่อปี พ.ศ. 2329 ใน พ.ศ. 2332 พระยาทุกขราชหรือพระยาปลัดได้เป็นพระยาถลาง
นอกจากจะได้วีรกรรมที่ชาวภูเก็ตและชาวไทยจะได้ยกย่องเทิดทูนแล้วยังได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์อันเป็นเกียรติประวัติ ที่บุคคลรุ่นหลังควรยึดเป็นเยี่ยงอย่าง นับเป็นสตรีตัวอย่างที่เป็นสตรีนักปกครองนักบริหาร และมีความกล้าหาญ ยากที่จะหาได้ และเพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจแก่ชนรุ่นหลังสืบไป ชาวเมืองภูเก็ตร่วมกับอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพสตรีและท้าวศรีสุนทรไว้โดยให้ช่างจากกรมศิลาปากรปั้นหล่อประดิษฐานบนแท่นเมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2510 ขนาดโตกว่าคนธรรมดา 2 เท่า ลักษระการแต่งกายแบบไทยสมัยรัชการที่ 1 คือโจงกระเบน ผมทรงดอกกระทุ่ม สวมเสื้อแขนยาวมีสไบเฉียง มือถือดาบยืนคู่กัน และคำจารึกไว้ว่า
ท้าวเทพกษัตรี (จัน) ท้าวศรีสุนทร (มุก)
ได้กระทำการป้องกันรักษาเมืองไว้เป็นสามารถ
เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2328
มิให้ข้าศึกตีหักเอาบ้านเมือง
เป็นวีรกรรมอันควรแก่ชาวเมืองถลาง
ตลอดจนชาวไทยทั่วไปยกย่องสรรเสริญ
จึงสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์
เมื่อ พ.ศ. 2509
เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์
...............................................
พระยาวิชิตสงคราม
พระยาวิชิตสงครามเดิมชื่อ ทัด เป็นบุตรของพระภูเก็ต (แก้ว) เจ้าเมืองภูเก็ต ราวสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ว่า ประวัติของพระยาวิชิตสาครามนี้ ท่านเลื่อม ภริยาของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุคนาค) ได้เรียบเรียงไว้ก่อน ท่านเลื่อมเป็นบุตรีของพระยาวิชิตสงคราม เรื่องนี้นายเชียร บุนนาค บุตรท่านเลื่อมได้นำไปมอบให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพอีกต่อหนึ่ง เพื่อทรงเรียบเรียงประวัติของพระยาวิชิตสาคราม เพื่อพิมพ์แจกในงานศพของท่านเลื่อม
ต้นสกุลเดิมของพระยาวิชิตสงครามเป็นชาวอินเดีย ได้เดินทางไปมาค้าขายระหว่างเมืองมัทราส มังคลา กับหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยทางภาคใต้ถึงเมืองถลาง ต่อมาได้ตั้งภูมิลำเนาค้าขายอยู่ ณ เมืองถลาง ราวสมัยกรุงธนบุรี ได้เข้ารับราชการในเมืองถลาง เข้าใจว่า ชื่อ ญีหลีบ มีความรู้ภาษาต่างประเทศได้ดี จึงรับหน้าในการติดต่อกับแขกและชาวต่างประเทศ ในตำแหน่งกรมการเมืองที่ ขุนล่ามดังปรากฏในหนังสือของพระยาปลัดเมืองถลางมีไปถึงพระยาราชกปิตัน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2332 ว่าได้ส่งญีหลีบ ผู้เป็นขุนล่ามของโดยสารเรือสุลบของกัปตันวิราเสนไปยังเมืองปีนังเพื่อซื้อปืนและผ้า ญีหลีบได้ภริยาเป็นชาวเมืองถลาง มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ เจิม แขกเรียกว่า เจ๊ะมะ ต่อมานายเจิมได้เป็นที่ขุนล่ามแทนบิดาและได้แต่งงานกับคุณแสง ผู้เป็นวงศ์ญาติกับท้าวเทพกษัตรี หลังจากนั้นนายเจิมได้เป็นที่พระถลางในสมัยรัชกาลที่ 2 หลังจากที่เมืองถลางถูกพม่าตีเมื่อ พ.ศ. 2352
พระถลาง (เจิม) มีบุตรคนหนึ่งชื่อ แก้ว เจ้าเมืองพังงาได้ขอไปเป็นบุตรบุญธรรม และได้กับคุณแจ่ม บัตรสาวหลวงเมือง เมืองพังงา ได้เข้ารับราชการที่เมืองพังงา ต่อมาได้ไปตั้งร้านค้าขายที่เมืองภูเก็ตจนเจริญขึ้นมาก แต่เมืองภูเก็ตขณะนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของเมืองถลางอยู่ นายแก้วได้เป็นพระภูเก็จ เจ้าเมืองภูเก็ตสมัยราชกาลที่ 3 มีบุตรธิดาหลายคน บุตรที่เกิดแต่ภริยาหลวงคนหนึ่ง คือนายทัด เกิดเมื่อ พ.ศ. 2367 ได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นหลวงมหาดไทย กรมการเมืองถลาง ต่อมาได้เป็นที่ หลวงพิทักษ์ทวีปภูเก็จ เมื่อย้ายไปอยู่ภูเก็ต ครั้งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นพระภูเก็ตแทนบิดา พระภูเก็จแทนบิดา พระภูเก็จ (ทัด) ได้สำรวจแหล่งดีบุกและพบว่าแถบตำบลทุ่งคา หรือบริเวณเมืองภูเก็ตในปัจจุบันนี้มีแร่ดีบุกมาก จึงได้เริ่มทำเหมืองขึ้นจนเป็นบ้านเมืองเจริญขึ้นมากมีฝรั่งแขกจีน พากันมาทำเหมืองและค้าขายกัน พระภูเก็จ (ทัด) จึงย้ายเมืองจากเมืองภูเก็ตเก่าคือ บริเวณวัดเก็ตโฮ่ มายังเมืองใหม่ ครั้งถึงรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แปลงนามเมืองและกรมการเมืองเสียใหม่ จากพระภูเก็ตเป็นพระยาภูเก็จโลหเกษตรารักษ์ ส่วนผู้ช่วยจากหลวงพิทักษ์ทวีปภูเก็จเป็น พระอาณาจักรบริกาล โปรดให้ลดฐานะเมืองถลางลงให้มาขึ้นกับภูเก็ต ถึงรัชการที่ 5 โปรดให้เลื่อนยศ พระยาโลหกิจเกษตรารักษ์ (ทัด) เป็นพระยาวิชิตสงคราม ในตำแหน่งขจาววางเมืองภูเก็ต ได้รับพระราชทานพานทอง และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2421
พระยาวิชิตสงคราม (ทัด) ได้บุตรสาวพระยายกกระบัตร (ทับ) เมืองถลาง ชื่อ คุณเปี่ยม เป็นภริยาซึ่งเป็นเหลนของท้าวเทพกษัตรี เจ้าคุณมีบุตรมีบุตรธิดา 5 คน ที่มีอายุจนเติบโตใหญ่ 3 คน บุตรหญิงคนหนึ่งชื่อคุณรื่น ได้แต่งงานกับเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) แห่งเมืองนครศรธรรมราช บุตรคนที่ 2 ชื่อ นายลำดวน ได้เป็นพระยาภูเก็จโลหเกษตรารักษ์ บุตรที่ 3 ชื่อ คุณเลื่อม ได้แต่งงานกับเจ้าพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ในคราวที่ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ผู้บิดาเป็นข้าหลวงไปประจำเมืองภูเก็ต
เมื่อท่านเลื่อมได้ติดตามสามีเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครได้ใกล้ชิดกับพระบรมวงศานุวงศ์ และในคราวที่ติดตามสามีตามเสด็จใน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติครบ 25 ปี โปรดให้พระบรมราชวงศ์ และข้าราบริภารผู้ตามเสด็จ แต่งประทีปโคมไฟ ณ พระราชวังบางประอิน เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแด่อดีต พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ตลอดจนเจ้านายและข้าราชการเที่ได้เคยกระทำคุณความดีให้แก่แผ่นดิน ตามรายพระนามและนามในพระราชพงศาวดาร พระยาวิชิตสงครามมีรายชื่อผู้บำเหน็จความชอบอยู่ด้วย ท่านเลื่อมจึงขอพระกรุณาจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้ทรงนิพนธ์โคลงประวัติพระยาวิชิตสงครามให้เพื่อปิดไว้ที่โคมไฟ ได้ทรงกรุณาแต่งให้และทรงใช้ศัพท์บางคำที่ชาวภูเก็ตใช้พูดกัน โคลงนั้นว่า
เกาะถลางข้างด้านประ วันเอาะ
ภูเก็จเป็นบ้านเนาะ รกร้าง
พระภูเก็จทัดเสาะ แสวงแร่
พบที่ทุ่งคาสร้าง ที่บ้านทำเหมือง
เอาภารการเติบตั้ง เมืองตึก เต็มแฮ
เฮินอเนกเจ็กอึกทึก ค่ำเช้า
เภาไฟรถรัถคึก คับคั่ง
เพราะพระภูเก็จเป็นเค้า จอมสยาม
สมพระไทยธิเบศร์ ท่านตั้ง
พานทองและตราความ ชอบพระราช ทาแฮ
เลื่องชื่อฤายศทั้ง ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ
ครั้นถึงรัชกาลพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการใช้นามสกุล พระองค์ทรงขนานนามสกุลให้ รองอำมาตย์โท หลวงวร เทศภักดี (เดช) ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระยาวิชิตสงครามว่า รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2458
พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี
(คดซิมบี้ ณ ระนอง)
มหาอำมาตย์โท พระยารัษฏานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) องคมนตรีและ สมุหเทศาภิบาลมลฑลภูเก็ต เป็นบุตรคนที่ 9 ในบรรดาพี่น้อง 11 คน บิดาชื่อ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) ผู้เป็นต้นสกุล ณ ระนองและเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนองเป็นคนแรก มารดาชื่อ กิ้ม เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อ พ.ศ 2400
เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้ติดตามบิดาไปเมืองจีน ณ จังหวัดเจียงจิว เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่ออยู่ในประเทศจีนได้เพียง 2 ปี ก็กลับมาอยู่ระนองอและมิได้ศึกษาภาษาไทยเลย เขียนได้อย่างเดียว คือ เซ็นชื่อ แต่สามารถพูดภาษาจีนได้ 5 ภาษา พูดภาษาอังกฤษ ภาษามาเลย์ และภาษาฮินดูสตานีได้ค่อนข้างดี เมื่ออายุได้ 24 ปี บิดาถึงแก่กรรม พระอัศดงทิศรักษา (คอซิมกอง ณ ระนอง) พี่ชายได้นำเข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหลวงบริรักษ์โลหะวิสัย ในตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ในพ.ศ. 2427 ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระอัศดงคตทิศรักษา ส่วนคนเดิม โปรดให้เลื่อนเป็น พระยาดำรงสุจริตมหิอศรภักดี และย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตรัง และใน พ.ศ. 2433 โปรดให้เลื่อนเป็น พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรังแทนพี่ชาย ในพ.ศ. 2445 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี เป็นนักปกครอง นักบริหารที่สามารถมากคนหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ได้รับการศึกษามาตามแบบฉบับ มีความเฉลียวฉลาด นโยบายการปกครองใช้ระบบปกครองบุตร ได้พัฒนามณฑลให้ก้าวหน้าไปเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคมนาคม การศึกษาสาธารณสุข และการเกษตร และการค้าขาย เป็นต้น
ในด้านการคมนาคมนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ ได้ตัดถนนทั้งในตัวเมืองและถนนติดต่อระหว่างตำบล และเมืองต่าง ๆ ในมณฑลนี้ สำหรับในตัวเมืองต่าง ๆ นั้นได้จัดวางผังเมืองแล้วตัดถนนตามผังนั้น เช่น ที่จังหวัดตรัง พัทลุง และภูเก็ต นอกจากนี้ยังได้สร้างท่าเรือ เช่น ท่าเรือที่ภูเก็ต การติดต่อเรือเพื่อใช้ในราชการ เช่น เรือเทพกษัตรี เรือศรีสุนทร เรือเกาะยาว เป็นต้น
ในด้านการศึกษานั้นถึงแม้พระยารัษฎานุประดิษฐจะมิได้รับการศึกษามาดังกล่าวแล้ว แต่ก็ได้พยายามสนับสนุนการศึกษาเป็นอันมาก โดยจัดโรงเรียนวัดขึ้น หากหาบราวาสมาสอนไม่ได้ก็ใช้พระสงฆ์สอนแทนได้สร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นตามท้องที่ต่าง ๆ สร้างโรงเรียนประจำจังหวัดเช่นโรงเรียนตรังคภูมิ และเพื่อประโยชน์ต่อราชการในภายหน้าพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้คัดเลือกบุตรข้าราชการและผู้มีสกุลในมณฑลนี้ไปศึกษาที่ปีนังและที่กรุงเทพมหานคร วิชาที่ให้ไปศึกษาคือ ภาษาอังกฤษ วิชาการปกครองและระเรียบข้าราชการ นอกจากนี้ยังได้อบรมบุคคลต่าง ๆ ด้วยตัวอย่างอีกด้วย
ในด้านการอาชีพของประชาชน พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มรนโยบายให้ทุกครอบครัว ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เรือกสวนไร่นาจะปล่อยให้รกร้างไม่ได้ บุคคลใดทำนาได้ผลในเนื้อที่ 25 ไร่ จะได้รับการยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ทำงานโยธาให้หลวง ผู้ใดเกียจคร้านจจะถูกทำโทษโดยทางอ้อม พวกอันธพาลบุคคลไร้อาชีพ ะถูกจับมาฝึกงานให้ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้นำพันธุ์ยางพาราจากมลายูเข้ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตรังและกระบี่ เพื่อทดแทนการปลูกพริกไทยเพราะราคาตกต่ำ ส่วนผลิตผลทางการเกษตรได้นำไปขายและแลกเปลี่ยนที่ตลาดนัด นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการทำเหมืองแร่ การค้าขาย เป็นต้น
ด้านการสาธารสุขพระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้แนะนำให้ราษฎรรู้จักทำความสะอาดบ้านเรือนตลอดจนร่างกาย เสื้อผ้า และป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น เช่น โรงพยาบาลประจำมณฑล มีนายแพทย์ชาวอังกฤษประจำโรงพยาบาลจีน ได้จัดซื้อเครื่องเอ๊กซเรย์ ขนาดใหญ่มาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย และในพ.ศ.2459 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลนี้ เป็นต้น
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ถูกหมอจันทร์ยิงถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. 2456 พร้อมด้วยพระสถลสถานพิทักษ์ (คอซิมเกียด ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองตรังผู้เป็นหลานคือบุตรพระยาอัศดงคตทิศรักษา (คอซิมกอง) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มีบุตรเพียงคนเดียว คือ พระยารัษฎาธิราชภักดี (คออยู่จ๋าย ณ ระนอง) การจากไปของพระยารัษฎานุประดิษฐ์นำความเศร้าสลดมาสู่ผู้รักใคร่ใกล้ชิดตลอดจนข้าราชการทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโทรเลขไปยังพระยารัษฎาราชภักดีว่า รู้สึกเศร้าสลดใจอย่างยิ่ง ในการอินจกรรมของบิดาของเจ้าซึ่งเราเชิดชูอย่างสูง ทั้งในฐานะเป็นข้าราชการและเป็นเพื่อน ทั้งนี้นับว่าเป็นการสูญเสียของตัวเราเองด้วย ขอได้รับความเศร้าใจอาลัยรักอย่างมากจากเรา และด้วยคุณความดีของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ทางรัฐบาลและประชาชนได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ไว้ ณ ตำบลทับเที่ยง ตำหนักผ่อนกาย จังหวัดตรัง เมื่อพ.ศ. 2494
พระยาราชกปิตัน
พระยาราชกปิตัน หรือ ฟรานซิส ไลท์ เป็นชาวเมืองซัฟฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เกิดเมื่อราว พ.ศ. 2288 เมื่อหนุ่มได้เป็นนักเรียนนายเรือประจำอยู่ในเรือ H.M.S. Arrogant รับราชการอยู่ในราชนาวีอังกฤษ มียศเป็นนายเรือโท ต่อมาได้ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2308 เป็นนายพาณิชสังกัดบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ โดยเป็นนายกัปตันเรือแล่นระหว่างท่าอินเดียกับคาบสมุทรมลายู ขณะนั้นอายุประมาณ 32 ปี
ฟรานซิส ไล้ท์ ไม่เพียงแต่เป็นทหารเท่านั้น ยังเป็นนักการเมืองที่เชี่ยวชาญ เขาได้ศึกษาชัยภูมิของเกาะภูเก็ตตลอดจนผู้คนและเจ้าเมืองถลางเป็นอย่างดี และได้ภริยาเป็นชาวเมืองถลางเชื้อชาติโปรตุเกส ชื่อ มาติน่า โรเซลล์ จากการที่เขาอยู่เมืองถลางถึง 9 ปี เข้าใจว่าคงรู้ภาษาไทยดีพอใช้
จากจดหมายติดต่อระหว่าง ฟรานซิส ไลท์ กับบุคคลต่าง ๆ ในเมืองถลาง แสดงว่า แต่เดิม กัปตันไลท์ได้ตั้งห้างค้าขายอยู่ที่เมืองมังกลา (บังกล่า หรือ เบงกอล) ในอินเดีย นอกจากนี้ห้างเป้นของตนเองแล้ว ยังมีเรือสินค้าของตนแล่นไปมาค้าขายตามเมืองท่าระหว่างอินเดียกับชายฝั่งตะวันตกของไทยตลอดแหลมมลายูถึงเมืองมะละกา ปัตาเวีย จากการที่ได้แล่นเรือไปมานี่เอง กัปตันไลท์เห็นว่าสถานีการค้าที่เมืองบันกุลัน สุมาตราไม่เหมาะแก่การจอดเรือและแล่นเรือในฤดูมรสุม จึงได้คิดหาท่าเรือใหม่ให้เหมาะสมจึงเห็นว่า เกาะหมากหรือปีนัง กับเกาะถลาง เป็นท่าเรือที่ดีจึงได้เสนอไปยังบริษัทอินเดียตะวันออก ขั้นแรก กัปตันไลท์ได้ไปตั้งห้างอยู่ที่เมืองไทรบุรีก่อน โดนเป็นตัวแทนของบริษัท เมื่อได้โอกาสจึงเจรจากับพระยาไทรบุรี ใน พ.ศ. 2314 พระยาไทรบุรีตกลงว่า ตนจะยกดินแดนตอนชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปากน้ำเคดะห์ไปจนถึงหน้าเกาะหมากให้ ถ้าอังกฤษจะช่วยป้องกันการุรานจากสลังงอและไทย ฟรานซิส ไลท์ จึงไปเจรจากับผู้อำนวยการบริษัทที่เมืองกัลดัตตา แต่ทางบริษัทไม่สามารถจะรับสัญญาดังกล่าวได้
เมื่อไม่ได้เกาะหมาก ฟรานซิส ไลท์ จึงเดินทางมาอยู่เมืองถลางตั้งห้างค้าขายที่นี่ และจากการที่ได้คบกับเจ้าเมืองและกรมการเมืองถลาง ฟรานซิส ไลท์จึงได้จัดข้าวของได้แก่อาวุธปืนส่งเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงอนุญาตให้จัดซื้อขายดีบุกได้ และได้พระราชทานดีบุกจำนวน 100 ภารา ให้เป็นทุน และด้วยความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชกปิตัน ประมาณ พ.ศ. 2320 ต่อมาการค้าที่เมืองถลางผืดเคืองนักจึงได้ย้ายกลับไปยังเมืองไทรบุรีอีก
ใน พ.ศ. 2323 พระยาราชกปิตันได้ติดต่อไปยัง ลอร์ด เฮสติงส์ ที่เมืองกัลกัตตา เพื่อเสนอให้ยึดชเกาะถลางเป้รสถานีการค้า แต่ เฮสติงส์มีความจำเป็นต้องกลับไปยุโรปเกี่ยวกับเรื่องสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องก็ชงักแค่นั้น ครั้น ถึง พ.ศ. 2329 ได้เปลี่ยนผู้อำนวยการบริษัทอินเดียตะวันออกใหม่เป็น ลอร์ด คอร์นอวอลลิส พระยาราชกปิตันได้ไปเจรจากับเจ้าพระยาไทรบุรีใหม่ คราวนี้ได้ผลคือพระยาไทรบุรีให้อังกฤษเช่าเกาะหมากได้ตามความเป็นจริงแล้วเมืองไทรบุรีและเกาะหมากขณะนั้นเป็นเมืองท่าตั้งสถานีการค้าและตัวเองเป็นเจ้าเมืองเกาะหมากด้วย และตั้งชื่อเกาะเสียใหม่ว่าเกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ จากสัญญาที่ไม่แน่นอนทำให้เข้าใจผิดเกิดขึ้น พระยาไทรบุรีจึงขอยกเลิกและยกทหารไปขู่พระยาราชกปิตัน ฝ่ายพระยากปิตันได้ขัดแขวงและเกิดสู้รบกันขึ้นพระยาไทรบุรีแพ้ต้องยอมเสียค่าชดเชยให้อังกฤษปีละ 6000 เหรียญเสปน เรื่องพระยาไทรบุรีเอาใจไปเผื่อแผ่พม่า ทางกรุงเทพฯ จึงให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกทัพไปปราบ เจ้าเมืองไทรบุรีหนีไปเกาะหมาก ใน พ.ศ. 2365 ผู้สำเร็จราชการบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้ให้เซอร์ยอห์น ครอเฟิร์ด เข้ามาทำสัญญาพันธไมตรีกับไทยและได้พูดถึงเรื่องเมืองไทรบุรีด้วย คือให้ไทยคืนเมืองไทรบุรีให้เจ้าพระยาไทรบุรีด้วย
เกี่ยวกับชีวิตของพระยาราชกปิตัน กล่าวกันว่าตอนที่พระยาราชกปิตันอยู่เมืองไทรบุรีนั้นได้ลูกสาวพระยาไทรบุรีเป็นภริยาด้วย และในตอนที่อยู่เมืองถลาง เข้าใจว่า พระยาราชต้องมีภริยามากกว่าหนึ่งเป็นคนแน่ โดยพิจารณาจากจดหมายต่าง ๆ ที่มีไปถึงท่าน เช่นจากจดหมายของคุณปรางว่า หนังสือแม่ปราง กราบเท้ามายังพระคุณท่านพระยาราช ด้วยข้าพเจ้าคิดถึงท่านอยู่มิได้ขาด และครั้นจะหาข้าวของสิ่งใดฝากมาแก่ท่านนั้น พ่อจวนฝรั่งญิหลิม จะมาเป็นโดยเร็วอยู่แล้ว.... แลข้าพเจ้าคิดถึง พระคุณท่านอยู่ทุกเวลาราตรีไซร้ ใครจะมาเป็นธุระของข้าพเจ้าหามิได้ แลพระคุณของท่านยังมีอยู่แก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก....... คุณปรางเป็นบุตรสาวของคุณหญิงจัน จากจดหมายฉบับนี้เข้าใจคุณปรางคงเป็นภริยาคนหนึ่งของพระยาราชกปิตัน และมีบุตรด้วยกันคนหนึ่งคือ พ่อจวนฝรั่งญิหลิม น่าจะเป็น John Francis Light คุณปรางเรียก พ่อจวน เช่นเดียวกับคุณหญิงจัน เรียกบุตรชายของท่านว่า พ่อจุ้ย
อย่างไรก็ตามยังมีผู้หญิงอีก 2 คนที่มีจดหมายไปถึงพระยาราชกปิตัน คือบุญจัน กับบุญแก้ว จากข้อความตอนหนึ่งของจดหมายของคุณบุญแก้วว่า ด้วยข้าฯอยู่ทุกวันนี้ลำลึกถึงบุญพระคุณท่านทุกเวลา ซึ่งท่านทำไว้แต่ก่อน ข้าฯ หาลืมบุญคุณท่านไม่เลย แต่วาสนาข้าฯน้อยเอง ที่จะเป็นข้าพระคุณท่านนั้นไม่รอด (ตลอด) เหมือนหนึ่งเราเคยเก็บดอกไม้ประจวนกัน.... จะเห็นว่าคุณบุญแก้วกับพระยาราชกปิตันเคยมีความสัมพันธ์กัน แต่ด้วยเหตุผลบางประการจึงต้องแยกทางกัน เข้าใจว่าคุณบุญแก้วอาจเป็นบุตรสาวของกรมการเมืองถลางหรือไม่ก็เป็นบุตรสาวของคุณหญิงจัน คนที่ชื่อกิ่มก็ได้ ตามที่เคยเข้าใจกันว่าภริยาของพระยาราชกปิตันชื่อทองดีนั้น ที่จริงทองดีเป็นผู้ชายและเป็นหลานของพระยาทุกขราษฎร (ภูเก็ต) หรือ พระยาถลางในสมัยต่อมานอกจากนี้พระยาราชกปิตันมีคนใช้ผู้ซื่อสัตย์ชื่อ เจ้ารัด อยู่เมืองถลาง
ใน พ.ศ. 2331 พระยาราชกปิตันได้เขียนจดหมายเล่าเนื่องของตนไปให้ มิสเตอร์จอห์นแมคเฟอร์สัน ผู้สำเร็จราชการที่บริษัทอินเดียว่า ผู้แทนคนหนึ่งจากประเทศสยามได้ไปหาพร้อมกับอัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสยามมาแสดง ไมตรีและพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยกับความประพฤติของข้าราชการบางคนของพระองค์ที่แสดงต่อพระยาราชกปิตันที่เมืองถลาง เจ้าพระยาลู (Choo Pia Loo) ถูกจับแล้วและขอให้พระยาราชกปิตันไปยังพระราชสำนักด้วยเพื่อรับพระกรุณา
เรื่องเจ้าพระยาฤานั้นมีอยู่ว่าพระยาธรรมไตรโลกและ พระยาฤาเจ้าราชกูล ข้าหลวงจากนครหลวงส่งมาเมืองถลางเพื่อเก็บภาษีได้คบคิดกับกรมการเมืองถลางโกงเงินพระยาราชกปิตัน โดยร่วมกันปล่อยหนังสือดังจดหมายของพระยาทุกขราช พระยาปลัด มีไปถึงพระยาราชกปิตันว่า ด้วยมีตราทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากระหม่อมออกมา ณ เมืองถลางว่า กรมการเมืองถลางกับพระยาธรรมไตรโลก พระยาฤาเจ้าราชกูลออกมาแต่ก่อนคิดอ่านหักเอาเงินของโตกพระยาท่านไว้ว่าโตกพระยาท่านติดเงิน แต่ครั้งพระยาตากเป็นเจ้านั้นนอกท้องตรา ซึ่งให้พระยาธรรมไตรโลกเจ้าราชกูล ถือมา ทำให้โตกพระยาท่านโกรธขึง นั้นทรงพระกรุณาเอาโทษแต่พระยาธรรมไตรโลกเจ้าราชกูลข้าหลวง แลกรมการเมืองถลาง ซึ่งได้คิดอ่านพร้อมกับฉ้อเอาเงินโตกพระยาท่านั้น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมประภาษทรงวิตกคิดถึงจะใคร่ได้พบโตกพระยาท่านปรึกษาราชกิจบ้านเมือง... เข้าใจว่าพระยาราชกปิตันคงจะไปเข้าฝรั่งตามรับสั่ง ณ กรุงเทพมหานคร
การติดต่อค้าขายกับเมืองอื่น ๆ เช่น พัทลุง เจ้าเมืองพัทลุงคือ เจ้าพระยาแก้วโกรพิชัยบดิทร์ศรีสุริอนทร เดชชัยมไหศวรรย์อนนันทพิริยภาปรากรมพระพาหนะ มัหนังสือไมตรีไปถึงพระยาราชกปิตัน ท่านเจ้าเมืองได้ทราบกิตติศัพท์เลื่องลือไปว่า พระยาราชกปิตันได้มาตั้งค้าขายอยู่ที่เกาะหมากหน้าเมืองไทรบุรีเป็นที่พึ่งพิงของแขกไทยจีนลูกค้านานาประเทศ จะได้จัดทำดีบุกที่เมืองตรังก่อนแล้วจึงค้าขายกันและได้ทราบข่าวว่าพม่าจ้างฝรั่งเศสให้ไปตีเมืองไทร เมืองถลางและเมืองพัทลุงอยู่ระหว่างกลางจึงซื้อปืนและดินปืนไว้ป้องกันเมือง หนังสือที่มีไปถึงพระยาราชกปิตันเมื่อ พ.ศ. 2330
สำหรับการติดต่อค้าขายกับเมืองถลาง พระยาราชกปิตันได้ให้กัปตันของตนแล่นสำเภเข้ามาค้าขาย กัปตันเหล่านี้เข้าใจว่าเป็นฝรั่ง บางคนพูดภาษากันไม่รู้เรื่องจึงต้องอาศัย ขุนล่าม ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามกัปตันที่คุมเรือมาเช่น กัปตันมิราเสน,กัปตันวิศโตน, กัผตันสะหวาด, กัปตันมังกู, กัปตันลิกี เป็นต้น
บุคคลต่าง ๆ ในเมืองถลางที่มีหนังสือไปถึงพระยาราชกปิตันในสมัยกรุงธนบุรีได้แก่พระสิทธิสงครามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 มี ออกหลวงพิพิธภักดีสมบัติ เจ้ากรมพระคลัง,ออกหลวงเพชรภักดีศรีพิชัยสงคราม, ท้าวเทพกษัตริย์, แม่ปราง, บุญจัน, บุญแก้ว, เจ้ารัด
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า นอกจากจดหมายหรือหนังสือหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วยังมีสัญญาการซื้อขายระหว่างลูกค้ากับพระยาราชกปิตันด้วย สัญญาเหล่านี้ผู้ทำมิได้ลงชื่อแต่ได้ขีดแกงไดไว้ (แกงไคคือ เครื่องหมายรอยกากบาทที่บุคคลไม่รู้หนังสือทำไว้แทนการลงชื่อ) สัญญาต่าง ๆ เหล่านี้มีแต่เมืองมังคลาเช่น สัญญาการยืมเงินของขุนทิฬการีม ตัวอย่างหนังสือสัญญาการซื้อขายเช่น วันเสาร์เดือนเก้าแรมค่ำหนึ่งปีจอเอกศก ข้าพเจ้านายไชยผู้ผัว อำแดงชอดผู้มีย ขอขีดแกงไดให้ไว้เป็นสำคัญ หนังสือนี้ตรงกับ พ.ศ. 2322 คำว่า กุหนี คือ งุหนี หรือ กระสอบ นายไชยผู้นี้อยู่ บ้านลิพอน
พระยาราชกปิตัน มีชื่อเรียกขานตามจดหมายที่ปรากฏคือ กปิตันลาด พระยาราชกปิตันเหล็กพระยาราช ท่านราชโต๊ะ ท่านราชโต๊ะ แต่ฝ่ายเมืองถลางมักเรียก โตนพระยา ลาโตก คำว่า เหล็ก น่าจะมาจาก ไลท์ (Light) แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็น ลาด- เหล็ก ส่วนคำว่า ลาโตก น่าจะเป็น ลาโต๊ะ ดาโต๊ะ หรือ ราชโต๊ะ เป็นคำยกย่องเรียกของชาวมลายูพระราชกปิตันค้าขายอยู่ ณ ปีนังจนสิ้นอายุขัย
|