สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ใน พ.ศ. ๒๓๒๗ กัปตันฟอเรสต์ (Captain James Forest) เรียกเกาะนี้ว่าจันซีลัน (Jan Sylan) ได้กล่าวถึงตำแหน่งที่ตั้งเกาะที่มาของชื่อเกาะ ตามความเข้าใจของเขาว่ามาจากคำ อุยัง สลัง (Ocjong Sylan) ซึ่งเป็นภาษามลายู นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงแม่น้ำ ภูเขา ท่าเรือ เมืองและตำบลต่าง ๆ คือ ท่าเรือ (Terowa) บ้านเคียน (Bankian) บ้านดอน (Bandon) ปากพระ (Popra) บ้านนาใน (Nakoing) บ้านพอน (Bandpon) ในยาง (Tyang) เชิงทะเล (Tirtulay) บ้านโคกเนียน (Bankonian) บางเทา (Banktan) บ้านกะรน (Bandun) สาคู (Sagoo) ระเงง (Kakoing) บ้านผักฉีด ( Patrit) ถลาง (Tallang) ป่าตอง (Patong)
จดหมาย ของพระยาราชกัปตัน ฉบับลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๓๐ ได้แนบเรื่องภูเก็ตไปด้วย เขาได้พรรณนาเกาะนี้ว่า พื้นดินตรงข้ามพังงาถึงตะกั่วป่าระยะทาง ๓๐ ไมล์ มีคนไทยอยู่น้อยมาก หมู่บ้านตั้งอยู่ห่างทะเลราว ๓-๔ ไมล์ ระหว่างหมู่บ้านกับทะเลมีป่าทึบกั้นเพื่อป้องกันโจรสลัดมาลายู ชาวบ้านไปเมืองตะกั่วป่าเพื่อหาแร่ดีบุก มีผู้รับส่งแร่ดีบุกผ่านเมืองไชยา หรือพังงาไปยังกรุงสยาม มีเรือเดินทางไปมาระหว่างไชยากับกรุงสยามเสมอ จากเมืองตะกั่วป่าถึงเมืองมะริด ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย แต่บางแห่งที่มีแร่ดีบุกมากมาย เช่น เมืองระนอง มีชาวไทยมลายู ตะนาวศรี ตั้งถิ่นฐานหาแร่ แต่เนื่องจาอยู่ชายแดนระหว่างไทยกับพม่าต่างก็อ้างว่าเมืองนี้เป็นของตน พวกที่ไปตั้งหาแร่ถูกปล้น ในป่ามีช้างป่าชุม ที่เมืองถลางมีกฎหมายปกครองมีศาสนาต่าง ๆ ทั้งอิสลามและพุทธศาสนา เกาะถลางขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราชมีพระยาถลาง พระปลัด และหลวงยกกระบัตร ซึ่งแต่งตั้งมาจากเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผู้ปกครองภายหลังเสียเมืองแก่พม่า
( พ.ศ. ๒๓๑๐ ) แล้ว แม่ทัพเรือเมืองไทรบุรีมีอำนาจมากได้มาปกครองเกาะนี้ได้ปฏิบัติต่อคนไทย เยี่ยงทาส ชาวถลางได้จับอาวุธไล่ออกไป หลังจากพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์แล้วได้เกิดเรื่องขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เจ้าพระยาถลาง (Choo Phoo Salang) คนปัจจุบันเป็นคนร้ายกาจยิ่งคนหนึ่ง ยกฐานะตนเองจากชนชั้นต่ำโดยอาศัยความอกตัญญู ความกำแหง การฆาตกรรมและการปล้น เจ้าเมืองคนนี้ได้เขียนจดหมายถึงพระยาราชกปิตันว่า หากพระยาราชกปิตันส่งเรือ และทหารจำนวนหนึ่งไปเมืองถลาง เขาจะมอบเกาะให้กับอังกฤษ และขอแลกเงินเพื่อตนจะได้ยังชีพต่อไป จากประสบการณ์ของพระยาราชกปิตัน ไม่มีเกาะอื่นใดมีค่าเท่ากับเกาะนี้ เพราะพื้นดินเหมาะแก่การเพาะปลูก พริกไทย คราม ฝ้าย กาแฟ หากรัฐบาลอังกฤษได้เกาะนี้จะได้ผลคุ้มค่า ตัวเกาะเป็นคลังอาวุธได้อย่างดียิ่ง
จาก จดหมายของพระยาราชกปิตันแสดงให้เห็นถึงจิตใจที่ตนมีต่อชาวเมืองถลางเป็นเช่น ไร ด้วยความฉลาดหลักแหลมของท่านผู้นี้ พยายามเกลี้ยกล่อมผู้มีอำนาจของบริษัท โดยชี้ให้เห็นคุณค่าของเมืองถลาง แต่ก็ไม่เป็นไปตามแผน ส่วนผู้ที่เขียนจดหมายไปถึงพระยาราชกปิตัน ต่อมาทางเจ้าเมืองถลางคนใหม่ทราบเรื่อง และได้ลงโทษไปตามกฎหมายผู้ต้องโทษเล่าความเป็นไปถึงพระยาราชกปิตันที่เกาะ หมาก
เหตุการณ์ สงครามในสมัยราชกาลพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ก่อนที่พม่าจะยกทัพมาตีเมืองถลาง ในพ.ศ. ๒๓๒๘ ในปีเดียวกันนี้ ชาวถลางรู้ข่าวศึกพม่าก่อนแล้วเจ้าจากคนที่มาจากตะกั่วป่าตามหนังสือของ พระยาพิชิตสงคราม ที่มีไปถึงพระยาราชกัปตันที่ปีนัง เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๒๘ ว่า ครั้น มาถึงปากพระ คนขึ้นมาแต่เมืองตะกั่วป่าบอกว่า ชาวเมืองตะกั่วป่ารู้ข่าวพม่ากำเริบวุ่นวายอยู่ จึงกลับลงไปตะกั่วป่า จัดแจงบ้านเมืองแล้วจะกลับมาให้พบท่านพระยาราชกปิตัน
จากหนังสือของ ท่านผู้หญิง ผู้เขียนคิดว่าเป็นคุณหญิงจันมีไปถึง ลาโตก พระยาราชกปิตันเจ้าเมืองปีนัง มีข้อความในหนังสือกล่าวว่า ครั้น จะเอาหนังสือเรียนแก่พระยาถลาง ๆ ป่วยหนักอยู่และซึ่งว่ามาค้าขาย ณ เมืองถลาง ขาดทุนหนักหนาช้านานแล้วนั้น เห็นธุระของลาโตกอยู่แต่หากลาโตกเมตตาเห็นดูข้าพเจ้าจึงเปลืองทุนเป็นอันมาก ทรมารอยู่ ด้วยความเห็นดู แลซึ่งว่าแต่งก็เป็นแล้วจะลากลับไปและมี(เรื่อง) ราวข่าวว่าพม่าตีเมืองถลาง ท่านพระยาถลางเจ็บหนักอยู่ทัพพม่ายกมาจริง ข้าพเจ้าจะได้พึ่งลาโตกเป็นหลักที่อยู่ต่อไป แลซึ่งว่าจะเอาดีบุกค้าผ้านั้น ท่านพระยาถลางยังเจ็บหนักมิได้ปรึกษาว่ากล่าวก่อน ถ้าท่านพระยาถลางคลายป่วยแล้วจะได้ปรึกษาว่ากล่าวตักเตือนให้ ซึ่งว่าเจ้ารัดจะไปเยือนขุนท่ามิให้ไปนั้น ข้าเจ้าจะให้ไปว่าหลวงยกกระบัตร ขุนท่าไม่ให้บุคหน่วงไว้ ครั้นข้าเจ้าจะมาให้พบลาโตกนั้นเจ้าคุณยังเจ็บหนักอยู่จึงให้เมืองภูเก็ตลง มาลาโตกได้เห็นงดอยู่ก่อน ถ้าเจ้าคุณต่อยคลายป่วยขึ้น ข้าเจ้าจะลงมาให้พบลาโตก แลขันนั้นไม่แจ้งว่าขันอะไร ให้บอกแก่เมืองภูเก็ตให้แจ้งข้าเจ้าจะเอาลงมาให้ อนึ่งคนซึ่งรักษาบ้านเฝ้าค่ายขันขัดสนด้วยยาฝิ่นที่จะกิน ให้ลาโตกช่วยว่ากัปตันอีศกัสให้ยาฝิ่นเข้ามาสัก ๙ แทน ๑๐ แทน แล้วถ้าพ่อลาโตกจะขึ้นมาได้ชี่ชื่นขึ้นมาสักที หนังสือฉบับนี้เขียนขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเส็ง
ข้าง ฝ่ายพม่า ใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ยกทัพมาตีไทยทุกทาง ทางฝ่ายใต้ยกมาตีนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง กองทัพพม่ายกมาคราวนี้มีแกงหวุ่นแมงยี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีพม่าเป็นแม่ทัพใหม่เป็นทัพที่ ๑ ตั้งทัพที่เมืองมะริดแล้วให้ยี่หวุ่นคุมกองทัพเรือจำนวนพล ๓๐๐๐ คน ยกลงมาตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งก่อนแตกแล้วยกมาตีเมืองถลาง เมื่อกองทัพพม่าเข้าตีเมืองตะกั่วทุ่ง กางลาดตระเวนของเมืองถลางทราบข้างแล้ว เพราะทั้งสองเมืองมีเขตติดต่อกันคุณหญิงจัน คุณหญิงมุก และกรมการเมืองถลางได้ร่วมประชุมวางแผนการตั้งทัพรับพม่าคงมาจอดที่ท่าตะเภา ซึ่งเป็นท่าเรือที่สำคัญของเมืองถลาง และคงยกทัพเข้าตีทางหน้าเมือง เพราะทางด้านหลังเป็นที่กันดารลำบาก คุณหญิงจันจงให้คนที่อาศัยแถวท่าเรือตะเภา บ้านดอนอพยพเข้าไปอยู่ในค่ายใหญ่ที่บ้านตะเคียน โดยจัดแบ่งเป็น ๒ ค่าย ตั้งอยู่ที่บ้านค่ายแห่งหนึ่งอันเป็นทางเดินติดต่อมาจากท่ามะพร้าว หากข้าศึกยกมาทางนี้จะได้ขวางได้ เพื่อทราบว่าพม่าไม่ได้ยกทัพมาทางนี้ จึงแยกกองไปตั้งค่ายอยู่หลังวัดพระนางสร้าง โดยให้นายยอดเป็นผู้คุมกองนี้มีปืนใหญ่ประจำชื่อ แม่นางถลางเมืองกระบอกหนึ่งมีนายทองเพ็งเป็นผู้ช่วยอีกค่ายหนึ่งตั้งที่ทุ่ง ดักมอบให้นายทองพูเป็นผู้คุมกอง มีปืนใหญ่ชื่อพระพิรุณสังหารกระบอกหนึ่งส่วนคุณหญิงจันเป็นผู้บัญชาการรบ ทั่ว ๆ ไป โดยมีคุณหญิงมุกเป็นผู้ช่วย
ฝ่า นกองทัพพม่า ยกพลข้ามช่องแคบเข้าจอดเรือที่ท่าตะเภา จัดการตั้งค่ายใหญ่ริมทะเลเป็นสองค่ายคือ ค่ายนาโคกแห่งหนึ่งกับค่ายนาบ้านถลางอีกแห่งหนึ่ง ชักปีกกาถึงกัน ส่วนค่ายของนายทองพูนกับค่ายของนายทองเพ็งก็ชักปีกกาถึงกัน โดยมีลำน้ำคลองบางใหญ่เป็นคูกั้น
กอง ทัพไทยในขณะนั้น ถึงแม้จะมีคนอพยพเข้าค่ายหลายตำบลก็ตาม รี้พลก็ยังมีจำนวนน้อยคุณหญิงจันจึงได้ปรึกษากรมกรรมการเมืองทั้งหลาย ให้กวดขันและรักษาค่ายไว้อย่างเข้มแข็ง แล้วคัดเลือกผู้หญิงได้ ๕๐๐ คนเศษ ให้แต่งตัวเป็นทหารอย่างผู้ชาย เอาทางมะพร้าวมาตกแต่งเป็นอาวุธเพื่อลวงข้าศึก แล้วเดินเป็นขบวนสลับกันชายหญิง ขยายแถวทำทีจะเข้าโจมตีกองทัพพม่า ข้างนายทองพูนได้ยังปืนใหญ่ไปยังชุมชนพลกองทัพพม่า กระสุนปืนใหญ่ตัดกิ่งทองหลาง ตกลวงตกลงไปท่ามกลางพวกพม่าทำให้กองทัพพม่าขวัญเสีย ข้างฝ่ายคุณหญิงจันได้จัดขบวนทหารเดินทัพเข้าค่ายโดยใช้วิธีถ่ายเทระหว่าง ค่ายกระทำในเวลากลางวัน ทำทีเป็นว่ามีกองทัพมาหนุนอยู่ทุกวัน เพื่อลวงพม่าไม่ให้กล้าเข้าโจมตีค่าย ประกอบกับพม่าอยู่ในระยะวิถีกระสุนปืนใหญ่และได้ยิงไปทุกวัน ได้รบพุ่งกันอยู่ราวเดือนเศษ ฝ่ายพม่าเจ็บป่วยล้มตารบไป ๓๐๐-๔๐๐ คนเศษ กองทัพไทยจึงยกเข้าโจมตีทัพพม่าที่ปากช่อง ค่ายพม่าลงเรือแล่นหนีไป เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ตรงกับขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง
หลัง จากเสร็จศึกสงครามแล้ว ทางเมืองถลางมีนายทองพูนเป็นผู้รักษาว่าราชการเมือง ได้ทำใบบอกแจ้งเหตุการณ์ครั้งไปทราบทูลสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท ซึ่งยกทัพลงมาทางปักษ์ใต้เพื่อตีทัพพม่า ขณะนั้นประทับอยู่ที่เมืองสงขลาหนังสืออีกฉบับหนึ่งส่งไปยังกรุงเทพมหานคร
เมื่อ ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพนะพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายทองพูนเป็นพระยาถลาง คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี คุณมุก เป็นท้าวศรีสุนทร นายทองเพ็งตั้งให้เป็นพระภูเก็ต รักษาการอยู่เมืองภูเก็ต นายอาดตั้งให้เป็นพระอาดผู้ช่วยราชการเมืองถลาง เพื่อตอบแทนคุณความดีในการรักษาเมืองให้รอดพ้นจากศัตรู
หลัง จากพม่าเลิกทัพไปแล้ว ผู้คนต่างก็ไปทำมาหากิน แต่ระยะนั้นเป็นฤดูแล้ง ประกอบกับนาข้าวที่ปลูกไว้ถูกพม่าเผาผลาญหมดสิ้นตั้งแต่ตะกั่วทุ่งลงมา ผู้คนเริ่มอดอยากเพราะขาดข้าวแม้ถึงปีที่สอง ดังจะได้เห็นจากหนังสือจากเจ้าพระยาสุรินทราชาที่มีไปถึงพระยาราชกปิตัน ว่า หนังสือท่าน เจ้าพระยาสุรินทราชาผู้สำเร็จราชการเมืองถลางบางคลีทั้งแปดหัวเมือง มาถึงพระยาราชกปิตัน ด้วยพม่ายกมาตีเมืองถลางครั้งนี้เดชะพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปก เกล้าปกกระหม่อม และทะแกล้วทหารชาวเมืองถลางได้รบพุ่งต่อต้านด้วยพม่ารั้งรากันอยู่ประมาณ เดือนหนึ่ง ฝ่ายพม่าล้มป่วยเจ็บตายประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน พม่ายกเลิกแตกไปแต่ ณ วัน ๒ ฯ๑๔ ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศกนั้น แต่บัดนี้ชาวเมืองตะกั่วทุ่งบางคลี เป็นเมืองเชิงทรงบ้านเรือนเรียงรายกันอยู่ พม่าเผาข้าวเสียหายเป็นอันมาก ข้าวขัดสนไม่พอเลี้ยงบ้านเมืองไปจนจะได้ข้าวไร่ในนาให้พระยาราชกปิตันเห็น แก่ทางแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวสืบ ต่อไป ให้ช่วยจัดแจงนายเรือและเสาสุ้มลูกค้าบรรทุกสินค้าและข้าวมาจำหน่าย ณ แขวงเมืองตะกั่วทุ่งบางคลีแต่พอจะได้เจือจ่ายไปแก่ราษฎร ๆ จะได้ทำไร่นาสืบไป จะเห็นได้ว่าบ้านเมืองจะทุกข์ยากอย่างไร เจ้าเมืองยังได้เอาใจปัดเป่าความเดือดร้อนของประชาราษฎร ดังได้กล่าวแล้วว่า ข้าวเป็นปัจจัยสำคัญถึงแม้ตะกั่วทุ่งซึ่งมีที่ทำนาทำไร่มากกว่าเมืองถลางก็ จริงแต่โดยสภาพทั่วไปหลังจากเสร็จศึกพม่าครั้งนั้นแล้ว บ้านเมืองขาดแคลนข้าว เช่นกันดังหนังสือจากพระพลภักดีศรีพิชัยสงคราม ที่มีไปถึงพระยาราชกปิตันเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๒๙ ว่า ด้วยราษฎร ชาวเมืองถลาง อดข้าวซอกโซลงเป็นอันมากอยู่แล้ว ถ้าท่านพระยาราชกปิตันจะเห็นดูข้าพเจ้าและราษฎรเมืองนั้น ได้แต่งให้กปิตันสะหลาด บันทุกข้าวสารลักสองพันสามพันกุหนี เอามาจำหน่ายราษฎรพลเมืองจะรอดจากความตายด้วยด้วยบุญท่านพระยาราช
จากจดหมายตอบของ ท่านผู้หญิง มีไปถึงพระยาราชกปิตัน ซึ่งได้ถามถึงการสงครามกับพม่า ท่านผู้หญิง ได้ตอบขอบคุณไปพร้อมทั้งบอกด้วยว่า ...แล อยู่ทุกวันนี้ ณ เมืองถลาง พม่าตีเมืองบ้านเมืองเป็นจราวจลอดข้าวปลาอาหารเป็นหนักหนา ตูข้ายอกมาตั้งทำดีบุกอยู่ ณ ตะกั่ว ได้ดีบุกบ้างเล็กน้อย เอาซื้อข้าวแพงได้เท่าใดซื้อสิ้นเท่านั้น อนึ่งเมื่อพม่ายกมานั้น พระยาธรรมไตรโลกให้เกาะเอาตัวตูข่าลงไปไว้ ณ ปากพระ ครั้งพม่ายกทัพมาตีปากพระได้ กลับแล่นขึ้นมา ณ บ้านแลคนซึ่งให้รักษาบ้านเรืออยู่นั้นแล่นทุ่มบ้านเรือนเสียข้าวของทั้งปวง เป็นอันตรายมีคนเก็บริบเอาไปสิ้น และอยู่ทุกวันนี้ยากจนขัดสนเป็นนัก (หา) ... แต่ก่อนท่านอยู่ ณ เมืองมังฆลา ๆ กับเมืองถลางหนทางระยะไกลกันดารนักจะไปมาขัดสน บัดนี้ท่านมาตั้งอยู่เกาะปุเลาปีนัง แล้วใกล้กับเมืองถลาง และท่านกับท่านผู้ตายได้เคยเป็นมิตรกันมาก่อน เห็นว่าจะได้พลอยพึ่งบุญรอดชีวิต เพราะสติปัญญาของท่านสืบไป... จดหมายฉบบนี้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ท่านผู้หญิงในที่นี้คือ คุณหญิงจัน ข้อความที่ว่า ท่านกับท่านผู้ตาย ท่านผู้ตายในที่นี้น่าจะหมายถึง พระยาถลางสามีของคุณหญิงจัน
ความทุกข์ยากขัดสนเรื่องข้าวปลาอาหาร แม้ถึงปี พ.ศ. ๒๓๓๐ แล้ว ก็ยังคงมีอยู่ในเมืองถลางดังหนังสือของ เจ้ารัด ถึง พระยา ราชกปิตันข้อความตอนหนึ่งว่า เมืองถลางเกิดกลียุคคอดข้าวปลาอาหารตอนนี้ข้าวที่ซื้อไว้หมดแล้ว เหลือแต่เครื่องนุ่งห่ม หนังสืออีกฉบับหนึ่งของพระยาสิทธิสงครามจางวางฯ เป็นหนังสือสัญญาให้แก่พระราชกปิตัน เกี่ยวกับการซื้อปืนส่งไปเมืองถลางกับการซื้อข้าวสาร เพราะราษฎรขัดสนข้าวสารเป็นอย่างมาก โดยจะจัดหาดีบุกมาเป็นค่าปืนและค่าข้าวสาร
หลัง จากเสร็จศึกสงคราม บ้านเมืองสงบเรียบร้อยดังเดิมแล้วไม่นานนักพระยาถลาง (ทองพูน) พระอาดสามีท้าวศรีสุนทร ได้พานายเหม็น และแม่ทอง เข้ากรุงเทพมหานครถวายตัวเป็นใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก นายเนียมได้เป็นมหาดเล็ก แม่ทองได้เป็นพระสนม ที่เจ้าจอมมารดาทอง มีพระราชธิดาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าหญิงอุบล
การ สงครามในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การสงครามคราวนั้นเมืองถลางเสียหายยับเยิน ทั้งนี้เพราะคาดการณ์ผิดและเสียกลลวงของข้าศึก ทำให้เมืองถลางต้องร้างไปนานจนกระทั่งต้องสร้าง เมืองใหม่ ขึ้นมาเพื่อความเหมาะสมในการติดต่อและป้องกันภัยจากศัตรู
ฝ่าย เมืองพม่า พระเจ้าปะดุงกษัตริย์พม่าซึ่งครองกรุงอังวะ โปรดฯให้เกณฑ์รี้พลตามหัวเมืองพม่า มอญ ทางฝ่ายใต้เพื่อจะยกมาตีเมืองไทยอีกสักครั้งหนึ่ง จึงมอบหน้าที่ให้อะเติงวุ่นเป็นแม่ทัพลงมาเกณฑ์ไพร่พล แต่เมืองร่างกุ้ง หัวเมืองมอญ ทวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ ปรากฏว่าผู้คนหลบหนีการเกณฑ์มากทำให้เสียเวลาฝ่ายขุนนางพม่ากราบทูลว่าทาง พม่า ได้ส่งพระราชสาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกันแล้ว จึงไม่ควรยกทัพไปตีอีก พระเจ้าปะดุงทรงเห็นด้วยจึงทรงมีท้องตรา ไปมอบให้อะเติงวุ่นงดการเกณฑ์ทหาร ให้ยกทัพกลับเมืองหลวง ฝ่ายอะเติงวุ่นเห็นว่าตนได้รี้พลไว้พอเพียง รวมทั้งสะสมเสบียงอาหารไว้พร้อมแล้วจึงขอพระบรมราชานุญาตยกทัพไปตีหัวเมือง ชุมพร เมืองตะกั่วป่า และเมืองถลาง
เมื่อต่อเรือรบเสร็จ ถึงเดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ อะเติงวุ่นจึงมอบให้ดุเรียงสาละกะยอคุมพล ๓๐๐๐ คน ไปตีเมืองระนอง กระบี่ และชุมพร มอบให้แยฆอง คุมพล ๔๐๐๐ คนไปตีเมืองถลาง
ฝ่าย ทางกรุงเทพมหานคร เมื่อทราบข่าว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ โปรดให้พระยาจ่าแสนยากร (บัว) คุมพล ๕๐๐๐ ยกไปก่อน ให้เจ้าพระยาพลเทพอยู่รักษาเมืองเพชรบุรีถ้าข้าศึกมีกำลังกล้าแข็งก็ให้เจ้า พระยาพลเทพเป็นทัพหน้า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯเป็นทัพหลวงยกหนุนลงไปอีกทัพหนึ่ง แล้วโปรดฯให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ยกทัพหลวงไปทางสถลมารคอีกทัพหนึ่ง คุมพล ๒๐๐๐๐นาย ติดตามลงไปอีกทัพหนึ่ง
ข้าง ทัพพม่า แม่ทัพแยฆองยกเข้าตีเมืองตะกั่วป่าได้เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน๑๑ แล้วยกลงมาตีเมืองตะกั่วทุ่งได้อีกเมืองหนึ่ง ที่เมืองตะกั่วทุ่งนี้พม่าไม่ต้องสู้รบเพราะผู้คนหนีเข้าป่าไปหมด พม่าจึงยกข้ามไปตีเมืองถลาง แล้วตั้งทัพที่ปากพระ ฝ่ายพระยาถลางเมื่อทราบข่าวก็มีใบบอกไปยังกรุงเทพฯ ขณะเดียวกันก็เกณฑ์ไพร่พลและให้ผู้คนเข้าค่ายที่บ้านดอน รักษาค่ายไว้อย่างเข้มแข็ง ฝ่ายพม่าตั้งค่ายล้อมอยู่ ๒๕ ค่าย และไม่สามารถทะลวงเข้าไปได้ พม่าจึงคิดอุบายทำทีเป็นถอยทัพลงเรือไปเมื่อเดือนสิบสองข้างแรม ฝ่ายพระยาถลางจึงให้คนไปสืบดูก็ได้ความว่าพม่าเลิกทักกลับไปแล้ว จึงอนุญาตให้ชาวเมืองถลางออกจากค่ายไปทำมาหากินได้ เพราะขณะที่พม่าล้อมเมืองอยู่นั้น เกิดการขัดสนเสบียงอาหารผู้คนเริ่มอดอยาก ฝ่ายพม่าจึงหวนกลับมายกพลขึ้นที่ปากพระ และที่ท่ายามูเมืองภูเก็ต เข้าล้อมเมืองถลางและตีเมืองภูเก็ตอีกครั้งเมื่อ วันอาทิตย์เดือนอ้ายขึ้นสิบเอ็ดค่ำ พระยาถลางเรียกคนเข้าค่ายไม่ทัน
เมื่อ หนังสือจากเมืองถลางเข้าถึงกรุงเทพฯ โปรดฯให้พระยาทศโยธา พระยาราชประสิทธิ์ คุมกองทัพจากเมืองไชยาให้ยกไปช่วยทัพหนึ่ง โปรดฯให้เจ้าพระยายมราช (น้อย) เป็นแม่ทัพ พระยาท้ายเป็นทัพหน้า ให้รวบรวมไพร่พลจากเมืองนครศรีธรรมราช ยกไปอีกทัพหนึ่งทางเมืองตรัง แต่ขัดสนเรือที่จะยกไปเมืองถลางจึงได้ให้ต่อเรือรบ แต่เห็นว่าอาจจะไม่ทันกาลจึงได้อาศัยเรือของประชาชนราษฎรแถบนั้น ให้พระยาท้ายน้ำยกไปก่อน ทัพพระยาท้ายน้ำไปถึงเกาะฉนัก พบทัพเรือพม่ายกขึ้นท่ายามู พม่าต้านทานไว้จึงเกิดสู้รบกันขึ้น เรือทัพไทยยิงเรือทัพพม่าแตกกระจาย แต่บังเอิญถังดินระเบิดในเรือพระยาท้ายน้ำ เกิดระเบิดขึ้นถูกพระยาท้ายน้ำและทหารตายหลายคน เรือหลวงกำแหงและเรือหลวงสุนทร เก็บศพพระยาท้ายน้ำไว้ และเห็นว่าจะยกทัพเข้าตีทัพพม่าที่เมืองถลางไม่ได้จึงถอยทัพกลับเมืองพร้อม กับศพพระยาท้ายน้ำ โดยขึ้นบกที่คลองปากลาวแขวงเมืองนครศรีธรรมราช ฝ่ายพระยาทศโยธาได้ยกทัพไปตั้งที่ปากน้ำพังงา แต่หาเรือที่จะข้ามมาเกาะถลางไม่ได้
ฝ่ายกองทัพพม่า เมื่อ เข้าตีเมืองภูเก็ตที่บ้านท่าเรือแตกแล้วก็ยกไปสมทบล้อมค่ายเมืองถลาง ล้อมอยู่ได้ ๒๗ วัน ถึงวันเสาร์ ขึ้นเก้าค่ำ เดือนยี่ พ.ศ. ๒๓๕๓ เมืองถลางก็แตก พม่ากวาดต้อนผู้คนทรัพย์สิน ประกอบกับได้ข่าวว่ากองทัพไทยและกองทัพแขกเมืองไทรกำลังยกลงมา พม่าจึงลงเรือหนีไป ฝ่ายกองทัพไทยเมื่อเข้าเมืองถลางแล้ว จับพวกพม่าที่เหลือและเสบียงของพม่าอีก 4 ลำ
สมเด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ รับสั่งให้พระยาจ่าแสนยากร รวบรวมกรมการเมืองราษฎรที่เหลือเข้าค่ายไม่ทันหนีเข้าป่าให้ไปตั้งที่เมือง พังงา ขึ้นเป็นเมือง เพื่อจะได้กลับไปสู่เมืองถลางตามเดิมต่อไป
การ สงครามคราวนี้ ชาวยุโรปที่เดินทางผ่านมาพบเห็นและถูกพม่าจับกุมก็มี ดังจดหมายของมองซิเออร์ ราโบ มีไปถึง มองซิเออร์เรกเตนวาลด์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๕๓ ได้เล่าถึงเมืองภูเก็ตบ้านท่าเรือที่ถูกพม่าเผ่าเมืองและป้อม พม่าได้ล้อมและจับผู้คนเป็นเชลยไว้มาก แต่ที่หนีเข้าไปในป่าก็มี รา โบได้มาถึงภูเก็ตก่อนที่พม่าจะเข้าตีเพียงวันเดียว และได้เห็นพม่ายกพลขึ้นบกราโบจึงรีบหนีเข้าไปในค่ายของไทย เมื่อค่ายแตกราโบถูกจับทรมาน แต่มีนายทหารพม่าซึ่งสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ ได้ช่วยเหลือให้ตนพ้นภัย
ใน สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เหตุการณ์ทั่วไป แถบชายฝั่งทะเลฝั่งทะเลตะวันตกก็ยังไม่เรียบร้อยนัก เพราะมีโจรสลัดชุกชุม โดยเฉพาะพวกแขกเมืองไทรบุรีเมืองปะลิส ได้คุมกองเรือเข้ามาปล้นสะดมหมู่บ้าน และเมืองตามชายฝั่งอยู่เป็นประจำ และยังได้ปล้นเรือสินค้าตามชายฝั่งดังกล่าวอีกด้วย ในพ.ศ. ๒๓๘๑ นายหวันมาลี แขกเมืองปะลิส ผู้มีอิทธิพลได้คุมกองเรือ ปล้นเมืองต่างๆ เมืองถลาง เมืองพังงา เมืองตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่าได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพมหานครพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้เกณฑ์คนและกองเรือของเมืองเหล่านี้ช่วยกันปราบปราม และโปรดฯให้พระไชยาไปช่วยรักษาเมืองถลางด้วย หากพวกโจรสลัดไม่ยกเข้าตีเมืองถลางก็ให้ตีเมืองไทรบุรี ขณะนั้นมีเรือที่เมืองพังงา ๔๐ ลำ แต่พระยาไชยาไม่ชำนาญทางเรือ จึงให้คุมกองเรือบกเลียบฝั่งเพื่อเสริมกำลังให้กองเรือ
ข้าง ฝ่ายนายหวันมาลีคุมกองเรือ ๙๕ ลำ กำลังคนประมาณพันเศษเข้าตีเมืองตรังแล้วยกไปยึดเกาะยาวแขวงเมืองถลาง และจากการสืบราชการลับของฝ่ายไทยยังได้ทราบว่า นายหวันมาลีได้ให้นายหวันจิกหนำผู้เป็นน้องเขยกับเจ๊ะสมันเป็นนายทัพเรือ เข้าปล้นเมืองกระบี่ แล้วเที่ยวสกัดเรือแถบนั้น และยังได้ข่าวอีกว่า นายหวันมาลีได้สั่งนายหวันจิกาหนำว่า หากขาดเสบียงอาหารให้ไปเอาจากพระยาถลาง และว่าหลวงนเรนทร ขุนสุรินทร์ หมื่นศักดาที่พระยาถลางคนเก่า ตั้งให้คุมพวกแขกนั้นได้ไปเข้ากับพวกแขก แต่รัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงเชื่อตามใบบอกของพระยาไชยาเพราะทรงเห็นว่า พระยาถลางเป็นคนไทย และเป็นญาติกับพระยาพระคลัง อาจเป็นการกล่าวโทษกันมากกว่า ทั้งนี้อาจมาจากสาเหตุที่ว่า พระยาไชยาได้เชิญพระยาถลางไปพบที่เมืองพังงา แต่พระยาถลางส่งพระปลัดไปแทน ทรงวินิจฉัยว่า พระยาถลางไม่ต้องการทิ้งเมืองไปในระยะนั้น อนึ่งพระยาไชยาได้เกณฑ์คนเมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า เมืองละ ๑๐๐-๒๐๐ คน รวมทั้งเมืองพังงาด้วย ๓๐๐ คนเป็นกองเรืองดังกล่าวมาแล้ว ให้หลวงพิพิธภักดีเป็นนายเรือคุมเรือ ๓๐ ลำออกลาดตระเวนน่านน้ำในแถบนั้น
ในปีพ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จถึงภูเก็ตเมื่อวันที่ ๑ เดือน พฤษภาคม ทรงบันทึกไว้ว่า ถึง พลับพรากรมการและจีนมาหา จีนหัวหน้ามี ๓ คน คือหลวงหัวหน้าอีกประมาณ ๒๐ คนเศษ จีนลิเกคนหนึ่ง อ้ายจีนตันเอียนเยียนอยู่ที่ตลาดเป็นคนทำภาษีอยู่ไม่มาหา มันถือว่าเป็นคนของอังกฤษ แต่งตัวบ้านถึงโรงบ่อนตัวออกรับอยู่หน้าบ้าน กรมการไทยมีพระยศภักดีเป็นผู้ใหญ่อยู่คนเดียว หลวงอินทรมนตรี นายตาดลูกพระยาภูเก็ต หลวงอร่ามสาครเขตต์ขณะนั้นไปรักษาตัวอยู่ปีนัง ได้ให้ลูกเอารถมาถวาย... ในการเสด็จคราวนี้ได้ให้สัญญาบัตรแก่จีนตัวเลียนกี เป็นหลวงขจรสกล และจีนตันเพ็กเกียดเป็น หลวงพิทักษ์จีนประชา เป็นนายอำเภอทั้งสองคน
นอกจากนี้ได้เสด็จทอดพระเนตรเหมืองของหลวงบำรุงหลังพลับเพลาที่ประทับ ที่เรียกว่า ไฮปา คือการทำเหมืองตามชายแถบทะเลป่าโกงกาง นบกั้นน้ำแล้วเปิดหน้าดิน ได้ทอดพระเนตรวิธีทำเหมืองของนายตันเลี่ยนกี ที่เรียกว่า โจปูน คือการเข้าหุ้นกันทำ โดยนายเหมืองเป็นคนลงทุนจ้างคนมาทำงาน ลูกจ้างขุดแร่ได้เท่าไรต้องนำมารวมกันที่โรงกลางของนายเหมือง ต้องเสียค่าเช่าโรงให้นายเหมืองหลวงละ ๓๐ เหรียญ ได้แร่เท่าไรปันส่วนให้นายเหมือง ๕๙ ส่วน ลูกจ้างได้ ๔๑ ส่วน ทั้งนี้แล้วแต่จะได้ดีบุกมากน้อยแค่ไหน การทำเหมืองอีกแบบหนึ่งคือ โอเท่อ เข้าใจว่าเป็นการทำแบบไฮปา แต่ลูกจ้างได้แร่เท่าไรขายให้นายเหมืองหมด
รัชกาล ที่ ๕ ทรงกล่าวถึงพระสงฆ์ว่า พระในเมืองภูเก็ตมีจำนวนน้อย ท่านพระครูวัดฉลองซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจำวัดมงคลนิมิตร และโปรดให้พระยาศรีสรราชจัดการซ่อมพระอุโบสถวัดมงคลนิมิตร
ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ สมัยพระยานริศราชกิจ ข้าหลวงเทศาบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ได้จัดสร้างพลับเพลารับเสด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ออกแบบการก่อสร้างคือ มิสเตอร์อะแลน วินสัน อยู่เมืองปีนัง โดยสร้างที่เนินเขาคอกช้าง เพราะเป็นสถานที่ร่มรื่นด้วยไม้ เป็นที่สูงเห็นตลอดทั้งสามด้าน แต่ทางเข้าไม่มี จึงได้ใช้นักโทษสร้างทาง การสร้างพลับพลานี้ใช้เงิน ๔๐๐๐ เหรียญ เป็นงบประมาณจากรายได้ของมณฑลภูเก็ต เข้าใจว่าพลับเพลาดังกล่าวมิได้สร้างเพราะรัชกาลที่ ๕ มิได้เสด็จในครั้งนั้น เนินเขาคอกช้างดังกล่าวนั้นปัจจุบันเป็นหมู่บ้านอยู่เชิงเขาโต๊ะแซะ หมู่บ้านกู้กู
พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสภูเก็ต ๒ ครั้งด้วยกัน คือ แต่ครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ และอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐
การ เสด็จครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ นั้นได้ประทับที่ตำบลสามกอง ตามที่เสด็จมีพ่อค้าประชาชนได้ตกแต่งซุ้มรับเสด็จ ทรงมีความเห็นว่า ตลาดเมืองภูเก็ตในสมัยนั้นถ้ายกกรุงเทพฯแล้วไม่แพ้เมืองอื่น ๆ ยังไม่เห็นเมืองไหนสนุกเท่าเมืองนี้ แต่ก็ตรงยกเว้นเมืองเชียงใหม่ไว้เมืองหนึ่ง และทรงกล่าวอีกว่า ถนนในตลาดมีตึกสองชั้นทั้งสองฟาก ผู้คนคึกคักส่วนใหญ่เป็นคนจีน เลยตลาดออกไปมีบ้านชั้นดีติด ๆ กันคล้ายแถวสระปทุม
หรือ สุรวงศ์ในสมันนั้นที่ประทับอยู่ค่อนข้างไกล คือ สามกองเป็นตึกสองชั้นในสวนมะพร้าว อากาศดีและเงียบดี หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรีทรงทูลว่า ถ้าประทับในเมืองอากาศร้อน สู้พักที่สามกองไม่ได้ ได้เสด็จไปเปิดถนนเทพกระษัตรี ถนนวิชิตสงคราม ได้เสด็จไปเมืองถลางทอดพระเนตรค่ายของท้าวเทพกระษัตรีและวัดพระทอง ทรงกล่าวไว้ว่า ที่เมืองถลางไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเมืองใหญ่ ทั้งนี้เพราะไม่มีกำแพงเมือง แต่บ้านคนยังมีอยู่หนาแน่น แต่เดิมเคยมีถึงสองหมื่นคน แต่ที่คราวเสด็จมีเพียงแปดพันเศษเท่านั้น และยังมีซากค่ายของท้าวเทพกระษัตรีอยู่กลางทุ่งนา เดิมมีเสาค่ายระเนียดปักรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่คนทำนาได้รื้อถอนเสาค่ายออกไปหมด
นอ จากนี้ได้กล่าวถึงชาวเมืองถลาง เชื้อสายชาวยุโรปได้เฝ้ารับเสด็จอยู่ด้วย ได้ทรงซักถามคนหนึ่งชื่อ ปอด นับถือคริสตัง มีบาทหลวงมาสอนให้สวดและสอนหนังสือให้ด้วย บาทหลวงตั้งชื่อให้ว่า ดอมินิโก บุตรหญิงให้ชื่อว่า นาตาเลีย บุตรชายชื่อ เปาหรือเปาโลหรือปอล ทั้งหมดพูดภาษาฝรั่งไม่ได้เลย
หลังจากเสด็จเมืองถลางแล้ว ขากลับทรงทอดพระเนตรบ้านพระยาวิชิตสงครามที่ตำบลท่าเรือ ทรงกล่าวว่า บ้าน นี้พระยาวิชิตสร้างขึ้นตอนจีนกระทำการตัวเหี่ยขึ้นที่เมืองภูเก็ตพระยาวิชิต เห็นว่าจะอยู่ในเมืองภูเก็ตใกล้ภัยอันตรายนัก จึงไปสร้างบ้านขึ้นที่ตำบลท่าเรือ มีกำแพงแข็งแรงราวกำแพงเมือง มีใบเสมาตัดสี่เหลี่ยม มีป้อมวางเป็นระยะ ๆ รอบ เตรียมรบจีนอย่างเต็มที่ ภายในสร้างตึกไว้หลายหลัง แต่ปรักหักพังเกือบหมด เหลือแต่ทิมแถวพวกผู้หญิงละครอยู่มีสระสำหรับเล่นน้ำ... บ้านพระยาวิชิตสงครามปัจจุบัน ยังเหลือซากกำแพงอยู่ตรงโค้งใกล้โรงเรียนบ้านท่าเรือส่วนบ้านเก่า อยู่ที่บางงั่วในบริเวณเดียวกับสถานที่ราชการทั่วไป
เกี่ยวกับสภาพของภูเก็ต รัชกาลที่ ๖ ทรงกล่าวว่า พยาน แห่งความเจริญของเมืองภูเก็ตตามที่คนสามัญมาเที่ยวจะรู้สึกหลายประการ วิมานสาวสวรรค์ก็มี วิกงิ้ว โรงทำน้ำโซดา โรงทำน้ำแข็ง นอกจากกรุงเทพฯแล้วไม่มีที่ไหนอีกในเมืองไทย รถม้ารถลากบริบูรณ์ รถยนต์มีถึง ๔ คัน ยังขาดอยู่แต่ฟ้าเท่านั้น...
ใน คราวที่พระองค์เสด็จไปเปิดถนนวิชิตสงครามนั้น ได้เสด็จไปยังน้ำตกกะทู้ และตรัสว่าน้ำที่นั้นเย็นสบาย พระยารัษฎานุประดิษฐ์คิดจะทำอ่างเก็บน้ำเพื่อส่งต่อไปยังเมืองภูเก็ต
บรรดาพ่อค้าในเมืองภูเก็ต ได้จัดพระกระยาหารเลี้ยงรับรองขึ้นที่สนามหน้าสถานีตำรวจภูธร และได้พระราชทานสนามนั้นว่า สนามชุมพล ผู้ที่ไปในงานนั้นมีทั้งคนไทย คนจีน ฝรั่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์กล่าวนำ ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าประดิพัทธ์ทรงกล่าวถวายพระพรสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินินาถ มิสเตอร์เอ็ดเวิร์ดโทมัส ไมลส์ กล่าวคำถวายพรแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชากาลที่ ๖) ส่วนมิสเตอร์สก๊อต กล่าว ให้พรประเทศไทย พระพีไสยสรรพกิจ กรมการพิเศษได้กล่าวแสดงความยินดี และกล่าวถวายพระพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ ๖) ในนามของพ่อค้าจีน ทรงกล่าวว่า ได้ทรงเห็นความสามัคคีของบรรดาบุคคลที่มาร่วมงานระหว่างข้าราชการกับพ่อค้า ซึ่งมีทั้งฝรั่งและคนจีนแต่ทว่าคนไทยไม่มีเลย
ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ ผู้ว่าการรัฐทัสมาเนียได้มาเยี่ยมเมืองภูเก็ต จากรายงานของพระยารัษฎาฯ ข้าหลวงมณฑลภูเก็ตกราบทูตให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทราบเรื่อง เซอร์ ยอน ด๊อดซ์ ผู้ว่าการรัฐทัสมาเนียได้มาเยี่ยมเมืองภูเก็ตพร้อมด้วยนายเอ็ดเวิร์ด โทมัส ไมล์ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ มากับเรือรอดตารัวทางบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ได้เช่าบ้านพักให้ ส่วนทางมณฑลภูเก็ตได้ต้อนรับพอสมควร โดยมีหม่อมเจ้าประดิพัทธ์ทรงเป็นผู้รับรอง การมาครั้งนี้เพื่อดูแลกิจการค้าขายและพักผ่อน รวมถึงดูด้านการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ แต่พระยารัษฎาฯเข้าใจว่าผู้อำนวยการบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ชักชวนมา เพื่อให้ช่วยพูดกับรัฐบาลไทยเกี่ยวกับสัญญาการขุดคลอง ถ้าทางรัฐบาลไทยไม่ยอม จะให้ได้เซอร์
ด๊อดซ์ ช่วยประกาศให้หุ้นส่วน ของบริษัทที่ทัสมาเนียทราบว่า การขุดคลองนั้นไม่ได้ลำบากตามรายงานแต่ประการใด นอกจากนี้ เซอร์ ด๊อดซ์ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับป่าไม้ ในจังหวัดภูเก็ตไว้ว่า ธรรมดาเมืองที่ตั้งอยู่ด้วยการทำแร่จะต้องเลิกไปในไม่ช้า เพราะบ้านเมืองต่างๆ ในโลกที่มีความเจริญแล้วย่อมตัดไม้ไปทำประโยชน์เสียหมด และเมืองเหล่านั้นยังต้องการไม้ไปทำประโยชน์เหมือนกัน เมื่อสิ้นที่หาก็จะมาซื้อที่เมืองไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสภูเก็ตพร้อมด้วยสมเด็จพระ นางเจ้ารำไพพรรณี โดยเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ตตั้งแต่เมืองระนองลงไปถึงภูเก็ต พังงา และเมืองตามระยะทางเลือกเสด็จในมณฑลนี้
ใน วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เรือพระที่นั่งมหาจักรีถึงอ่าวภูเก็ต เรือรัตนโกสินทร์เป็นเรือรับเสด็จ ที่ภูเก็ตได้ยิงสลุตถวายคำนับ เสด็จขึ้นท่าพลับพลา มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร ที่สมุหเทศาภิบาลรับเสด็จ พร้อมด้วยข้าราชการ นักเรียน พลเรือน และกงสุลอังกฤษ ประจำมณฑลปัตตานี สงขลา ภูเก็ต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
วัน ที่ ๑ กุมภาพันธ์ เสด็จไปยังศาลารัฐบาล สมุหเทศาภิบาลอ่านคำถวายพระพรชัยมงคลแล้วนำเสด็จทอดพระเนตรห้องแผนกต่างๆ แล้วเสด็จไปยังศาลยุติธรรมประจำมณฑล อำมาตย์เอกพระวรวาทวินิจฉัย อธิบดีผู้พิพากษาประจำมณฑลภูเก็ต ทูลเกล้าฯ ถวายรายงาน
จาก พระราชดำรัสตอบคำถวายพระพรความว่า พระองค์และสมเด็จพระราชินีได้เสด็จมาถึงเมืองภูเก็ต อันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ได้มาเห็นข้าราชการ พ่อค้าพานิชทุกชาติทุกภาษาพร้อมเพรียงกันต้อนรับแสดงไมตรีจิตต่อพระองค์ด้วย ประการต่าง ๆ การที่พระองค์เสด็จเลียบมณฑลคราวนี้ เพื่อจะได้ทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมือง และรู้กิจการต่างๆ ทางหัวเมืองมณฑลด้วยพระองค์เอง และจะได้คุ้นเคยกับชาวเมืองในมณฑลตามประเพณีการปกครองประเทศสยามถือสืบกันมา แต่โบราณ หัวเมืองมณฑลภูเก็ตผิดกับหัวเมืองอื่นที่มีดีบุกมาก การทำเหมืองแร่จึงเป็นกำลังของบ้านเมือง และมีชนต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพในมณฑลนี้มาก พวกที่ทำเหมืองแร่แต่เดิมมีคนจีนเป็นพื้น บ้างก็อยู่ชั่วคราว บ้างก็อยู่ประจำ และมีเชื้อสายภักดีต่อทางราชการ จึงได้มียศศักดิ์เป็นขุนนางกรมการ ต่อมาภายหลังมีฝรั่งมาตั้งทำเหมืองแร่ด้วยการใช้เครื่องจักรได้ผลเจริญขึ้น จังหวัดภูเก็ตจึงมีชนต่างภาษาประกอบการเป็นอันมากกว่าหัวเมืองอื่น ต่างก็ปรองดองเข้ากับข้าราชการเป็นอย่างดี ผลประโยชน์ที่พึงได้และความสุขก็ได้แก่ชาวเมืองทุกคนทุกภาษา
ใน วันเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปโดยขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังวัดโฆษิตวิหาร พระธรรมโกษาจารย์ เจ้าคณะเข้าเฝ้า แล้วเสด็จประพาสในเมืองภูเก็ตถึงอ่าวฉลอง ทอดพระเนตรเรือขุดของบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ในอ่าว
ใน วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนประจำมณฑลชายและสตรีกับโรงเรียนจีนภูเก็ตฮัว บุ๋น โรงเรียนจีนส่องเต็กภูเก็ต เสด็จไปทอดพระเนตรโรงพยาบาลวชิระ ตอนบ่ายเสด็จวัดฉลองและหาดราไวย์
ใน วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เสด็จไปยังตำบลกะทู้ ทอดพระเนตรการทำเหมืองด้วยเรือขุดขนาดใหญ่ของบริษัทกะทู้ติน ตอนค่ำเสวยพระยาหารค่ำที่ศาลรัฐบาลมณฑล แล้วเสด็จไปยังภูเก็ตสโมสร สมุหเทศาภิบาลมณฑลนำหัวหน้าพ่อค้าจีนและแขกเข้าอ่านคำถวายพระพรพร้อมทั้ง น้อมเกล้าฯถวายสิ่งของ แล้วทอดพระเนตรการแสดงของนักเรียน
วัน ที่ ๔ กุมภาพันธ์ เสด็จไปยังตำบลระเงง ทอดพระเนตรการทำเหมืองสูบ แล้วเลยเสด็จพระราชดำเนินไปยังน้ำตกโตนไทรที่อำเภอถลางและหาดสุรินทร์
วัน ที่ ๕ กุมภาพันธ์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังตำบลมานิก ทอดพระเนตร การทำเหมืองหาบและเหมืองปล่องหรือเหมืองรู ตอนบ่ายทอดพระเนตรการแข่งขันเทนนิสมลายูไนเตดคลับ กงสุลอังกฤษอ่านคำถวายพระพร ในนามพ่อค้านายเหมืองฝรั่งที่เข้ามาประกอบอาชีพในมณฑลนี้ และได้ทูลเกล้าฯถวายหีบที่ทำขึ้นจากดีบุกฝีมือของชาวภูเก็ต
ในวันที่ ๗ ได้เสด็จไปตามทางสายเหนือซึ่งเพิ่งตัดใหม่คือ ถนนบุรฉัตร ถึงท่าฉัตรไชย เสด็จลงเรือยนต์ข้ามฝากไปจังหวัดพังงา
ใน การเสด็จมาภูเก็ตครั้งนี้ อำมาตย์โท พระศรีสุทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต รองอำมาตย์เอกหลวงพิทักษ์ทวีป นายอำเภอเมือง ได้จัดการรับเสด็จ และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่กรมการเมืองภูเก็ตหลายท่านด้วยกัน คือ อำมาตย์ตรีหลวงอร่ามสาครเขตต์ (ตันเพ็กฮวด ตันทัยย์) กรมการพิเศษเป็น พระอร่ามสาครเขตต์ อำมาตย์ตรี หลวงพิทักษ์ชินประชา (ตันหม่าเสียง ตัณฑวนิช) กรมการพิเศษเป็น พระพิทักษ์ชินประชา ขุนบางเหนียวสนองการ (จินฮอง หงส์หยก) เป็นหลวงประเทศจีนารักษ์ นายตันเชงฮ้อ เป็นขุนชนานิเทศ นายเตียวจ๊กบุ๋น เป็นขุนขจรจีนสกล นายตันเองกี่ อุดมทรัพย์ เป็นขุนวิเศษนุกูลกิจ นายตันจินหงวน หงส์หยก เป็นขุนอนุภาษภูเก็ตการ
: สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
|