สมัยกรุงสุโขทัย
ภูเก็ต หรือเป็นที่รู้จักกันในสมัยก่อนว่า เมืองถลาง ชาวต่างชาติทั้งชาวยุโรป คือพวกโปรตุเกส เสปน ฮอลันดา และฝรั่งเศส เป็นต้น ตลอดจนพวกอินเดีย จีน และญี่ปุ่น ได้แล่นเรือไปมาค้าขาย หรือและจอดเรือหาน้ำจืด หรือซ่อมเรือ ชาวยุโรปรู้จักกันในนามของเกาะจังซีลอน (Junks Cylon) ตามแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๘๓-๒๑๔๓ โดยเฉพาะชาวโปรตุเกส ที่ได้ขยายอิทธิพลทางการค้ามาทางอินเดียและแหลมมลายู ในพ.ศ. ๒๐๔๑-๒๑๒๓
สมัยกรุงสุโขทัย
เดิมเมืองถลางเป็นเมืองหนึ่ง ที่อยู่ในอาณาเขตของเมืองศิริธรรมนคร หรือนครศรีธรรมราช ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า จึ่ง พญาศรีธรรมโศกราชตริกันแล้วก็ให้สร้างเมืองขึ้น ๑๒ นักษัตร ปีชวด เมืองสายบุรีถือตราหนู ๑ ฉลูเมืองตานีถือตราวัว๑ ขาลเมืองกลันตันถือตราเสือ๑ เถาะเมืองปะหังถือตรากระต่าย๑ มะโรงเมืองไทรบุรีถือตรางูใหญ่๑ มะเส็งเมืองพัทลุงถือตรางูเล็ก๑ มะเมียเมืองตรังถือตราม้า๑ มะแมเมืองชุมพรถือตราแพะ๑ วอกเมืองบันไทยสมอถือตราลิง๑ ระกาเมืองสงขลาถือตราไก่๑ จอเมืองตะกั่วป่าเมืองถลางถือตราหมา๑ กุนเมืองกระบุรีถือตราหมู๑ พอถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ตามหลักศิลาจารึกว่า ...เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว... แสดงว่าเมืองถลางก็อยู่ในอาณาจักรของไทยแต่นั้นมา ในสมัยเดียวกันนี้ได้มีบาทหลวงอิตาเลี่ยนชื่อ Ordorio de Perderone ได้ เดินทางท่องเที่ยวเข้ามาทางชายฝั่งทะเลตั้งแต่เมืองมะริดไปจนตลอดแหลมมลายู เมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๓ ซึ่งนับเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดที่ขาวยุโรป ได้บันทึกไว้เกี่ยวกับประเทศไทย สำหรับเมืองมะริดขณะนั้นเป็นของไทย ปัจจุบันเมืองท่าเมืองหนึ่งของพม่า แหลมมลายูตลอดแหลมในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นของไทยเช่นกัน
: สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
|